“คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.” เผยผลวิจัยการฉีดวัคซีนแอสตร้าฯกระตุ้นเข็ม 3 เข้าใต้ผิวหนังสร้างภูมิคุ้มกันใกล้เคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
วันที่ 14 ก.ย.รายงานข่าวจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.)เปิดเผยว่าในการทดสอบระดับภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มกระตุ้น โดยเปรียบเทียบระหว่างการได้รับวัคซีนปริมาณ 1 ใน 5 ของโดสปกติเข้าใต้ผิวหนังกับการได้รับวัคซีนปริมาณปกติเข้ากล้ามเนื้อ ในกลุ่มประชากรทั่วไป 95คน
รายงานข่าวว่าหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคมาแล้ว 2 เข็ม ผลวิจัยเบื้องต้นพบว่าการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มกระตุ้น สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งแอนติบอดี้(Bcells)และที่เซลล์(T cells)ได้สูง เทียบเท่ากับการฉีดวัคซีนเต็มโดสเข้ากล้ามเนื้อแบบปกติ
รายงานข่าวว่าอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคมาแล้ว 2 เข็ม ภูมิคุ้มกันจะอยู่ที่ 128.7 BAU/ml และเมื่อรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็ม 3 ด้วยวิธืการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้นเป็น 165.2 BAU/ml แต่ในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 แบบฉีดใต้ผิวหนัง ร่างกายจะสร้างภูมิคุมกันระบบแอนติบอดี้ได้ 1300 BAU/ml ซึ่งใช้วัคซีน 1ใน 5 ของโดสปกติ (ความแตกต่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ)
“แอนติบอดี้จะช่วยในการป้องกันไวรัสเข้าเซลล์ร่างกาย แต่ถ้าไวรัสเข้าไปแล้ว ต้องใช้ทีเซลล์ในการจัดการ จึงจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันทั้ง 2 แบบ อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าทั้ง 2 กลุ่มเมื่อถูกกระตุ้นด้วยโปรตีหนามแหลมของโคโรน่าไวรัส สามารถหลั่นไซโตไคน์อิเตอร์ฟอรอนแกรมม่า เพื่อกำจัดไวรัสในปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน”
รายงานข่าวว่าการได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข้าใต้ผิวหนังแบบลดโดสของกลุ่มที่ได้ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มมาแล้ว 4-8 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มมาแล้ว 8-12 สัปดาห์ ระดับภูมิคุ้มกันทั้งการสร้างแอนติบอดี้และทีเซลล์ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
“อาสาสัครทั้ง 95 คนในโครงการวิจัย ไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงทั้งหมด ทั้งในกลุ่มที่ได้รับการฉีดเข้าใต้ผิวหนังมีผลข้างเคียงทางร่างกายเช่นอาการไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อย กลุ่มที่ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ มีผลข้างเคียงทางผิวหนังเช่นบวม แดง ร้อน คันมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งอาการที่กล่าวจะหายเองได้ทั้งหมด”