บุคลากรทางการแพทย์ รพ.อุดรธานี รวมตัวชูป้ายทวงค่าเสี่ยงภัยโควิด ไม่เข้าใจทำอะไรอยู่ ยังไม่ให้เงิน

บุคลากรทางการแพทย์ รพ.อุดรธานี รวมตัวชูป้ายทวงค่าเสี่ยงภัยโควิด ไม่เข้าใจทำอะไรอยู่ ยังไม่ให้เงิน

เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (18 ตุลาคม) ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ ตรงข้ามโรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มอุดรพอกันที ไลฟ์การทำกิจกรรมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี แสดงออกเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องค่าเสี่ยงภัยที่ยังไม่ได้รับจากการปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยมีการยืนเว้นระยะห่างชูป้ายข้อความ “งานหนักไม่เคยเกี่ยง เงินเสี่ยงไม่เคยได้” ระหว่างนั้นมีเจ้าหน้าที่ รปภ.เข้ามาถ่ายรูประหว่างการทำกิจกรรม

ตัวแทนบุคลากรระบุว่า เราคือมนุษย์คนหนึ่ง มนุษย์ทำงานต้องอาศัยเงินเดือน ต้องขึ้นเวรวันละ 8-16 ชั่วโมงต่อวัน เราก็มีหัวใจเหมือนกัน

จากนั้นทางกลุ่มร้องเพลงมาร์ชโรงพยาบาล, เพลงศรัทธาของหินเหล็กไฟ, เพลงผู้หญิงสีขาวของสลา คุณวุฒิ สื่อถึงการทำงานของพยาบาล ก่อนตะโกน “เงินเสี่ยงภัยอยู่ไหน เงิน 1 พันอยู่ไหน เงิน 1 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ไหน ใครรับผิดชอบ” ปิดท้ายด้วยการร้องเพลงมาร์ชโรงพยาบาล ก่อนแยกย้ายกันไปปฏิบัติหน้าที่

Advertisement

วิสัญญีพยาบาลรายหนึ่งเผยกับกลุ่มอุดรพอกันทีว่า วันนี้มาเรียกร้องค่าตอบแทนระหว่างปฏิบัติงานช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทราบว่าที่อื่นได้เงินหมดแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ รพ.อุดรธานี ยังไม่ได้ แม้จะได้รับแล้วแต่ก็ได้เพียงบางส่วน เท่าที่ทราบมีประมาณ 600 คน จากทั้งหมดกว่า 3,000 คนที่ได้เงินไป ซึ่งจำนวนนั้นไม่เกี่ยวกับด่านหน้า หรือคนไข้โควิด-19 ทั้งนี้ ได้รับการยืนยันจากเพื่อนที่อยู่หนองคายว่าได้รับเงินแล้ว ไม่รู้ว่า รพ.เราเกิดอะไรขึ้น หรือทำอะไรอยู่

ด้านผู้ทำกิจกรรมอีก 1 คน ซึ่งสวมชุด PPE ให้สัมภาษณ์กับกลุ่มอุดรพอกันทีว่า ตนเองเป็นทั้งผู้ปฏิบัติงานและกึ่งผู้บริหาร ทราบว่าค่าเสี่ยงภัยที่รัฐบาลให้มายังไม่ถึงมือเรา ซึ่งเป็นงบตั้งแต่โควิด-19 ระบาดระลอกแรกในปี 2563 เราควรได้รับการจ่ายเงินเหมือน รพ.ข้างเคียง ทั้งนี้ ที่ทราบก็ทราบจากสื่อ เราถูกปิดหูปิดตา ไม่รู้เลยว่ามีการเพิ่มเงิน 1 เปอร์เซ็นต์จากการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยง

ผู้ทำกิจกรรมกล่าวอีกว่า หากเราคุยกันในกลุ่มคงไม่ได้อะไร เราผ่านการตกผลึก เรียกร้องทั้งในและนอก รพ. ก็เหมือนการซื้อเวลา เราไม่มีความหวังเลยว่าจะได้เงินจากหยาดเหงื่อแรงกายของพวกเราเมื่อไหร่ เงินที่รัฐจัดให้เราควรได้รับ แต่เราต้องทำเรื่องอุทธรณ์ยุ่งยาก ขาดคนรับผิดชอบ นอกจานี้ พอจับได้ไล่ทัน ธรรมาภิบาลไม่มีเลย ความโปร่งใสไม่ต้องพูดถึง นี่เป็นความเสี่ยงของบุคลากรสาธารณสุข โควิด-19 ทำให้เรารวมตัวกันมากไม่ได้ นี่เราก็มารวมตัวกันภายใต้สถานการณ์โควิด-19 อยากให้เห็นใจเราบ้าง

Advertisement

“อยากถามอีกว่าใช้อะไรวินิจฉัย กรณีคนไข้เข้าเกณฑ์เสี่ยงภัย แต่เราเบิกไม่ได้ สถานการณ์โควิด-19 ที่อุดรธานีปีที่แล้วมีผู้ติดเชื้อ 8 คนก็จริง แต่มีผู้อยู่ในเกณฑ์ต้องสอบสวนโรคกว่า 600 คน ขณะที่มีประชาชนกว่า 400 คน ต้องตรวจด้วยวิธี RT-PCR หมายความว่าเราได้ปฏิบัติงานกับผู้มีความเสี่ยงแล้ว แต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเราเบิกไมได้ เพราะไม่ได้ทำงานกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีผลเป็นบวก” ผู้ทำกิจกรรมกล่าว

ผู้ให้สัมภาษณ์รายที่ 2

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image