ชาวแม่สรวยโวย โครงการก่อสร้างป้องกันตลิ่งชลประทาน กระทบวิถีชีวิต

ชาวแม่สรวยโวย โครงการก่อสร้างป้องกันตลิ่งชลประทาน กระทบวิถีชีวิต

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าชาวบ้านสันกลาง หมู่ 2 ตำบลแม่สรวย อำเภอแแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ได้พาทีมข่าวลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการก่อสร้างป้องกันตลิ่งในลำน้ำแม่สรวย ซึ่งเป็นแแหล่งน้ำหลักและแหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน แม้สภาพโครงการจะดูสวยงามและมั่นคงแแข็งแรง แต่ชาวบ้านมองว่าเป็นการทำลายระบบนิเวศ ทำให้ลำน้ำแคบมีความตื้นเขิน ที่่สำคัญกระทบวิถีชีวิตชาวบ้านไม่สามารถไปใช้ประโยชน์ได้และเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายเนื่องด้วยเหล็กแหลมและลวดที่ใช้รัดกล่องแมทเทรส หรือกล่องลวดตาข่าย สำหรับใส่หินที่ใช้กั้นตลิ่ง

นายจันทร์ ใจบุญ อายุ 68 ปี ซึ่งดำรงชีวิตด้วยการหากกินกับลำน้ำแม่สรวยมาทั้งชีวิต กล่าวว่า ในอดีตชาวบ้านสามารถหาพืชผัก กุ้งหอยปูปลา ได้ตลอดลำน้ำเพื่อนำไปบริโภคและบางส่วนนำไปขายหารายได้เลี้ยงครอบครัว แต่ชลประทนกลับมาสร้างสิ่งปลูกสร้างเป็นหินและกล่องลวดตาข่ายลงไปในแม่น้ำ ทำให้พืชผักในน้ำหายไป ปลาไม่มีที่อยู่อาศัย ยิ่งกว่านั้นคือชาวบ้านไม่สามารถทำมาหากินได้ เพราะตามตาข่ายจะมีลวดหนามและลวดที่มีความแแหลมคมโผล่ออกมาจำนวนมาก จนชาวบ้านไม่กล้าลงไปหาเพราะเกรงจะเกิดอันตราย ทำให้ชาวบ้านลำบากมาก

เช่นเดียวกัน สนิท ศรีธิ อายุ 62 ปี ผู้อาวุโสบ้านสันกลาง กล่าวว่า ลำน้ำแม่สรวยระบายน้ำจากเขื่อนแม่สรวยไปสู่ชุมชนและพื้นที่ทางการเกษตรของพื้นที่ ที่ผ่านมาเคยส่งผลกกระทบทำให้เกิดน้ำท่วมหมู่บ้านมาแล้วหลายครั้ง เมื่อฤดูน้ำหลากหรือเมื่อมีการระบายน้ำจากเขื่อนปริมาณมาก ตอนนี้ทางชลประทานมาสร้างโครงการป้องกันตลิ่งซึ่งบีบให้ลำน้ำแคบลงและตื้นเขิน ระบบนิเวศถูกทำลาย ชาวบ้านเกรงจะเกิดผลกระทบใหญ่ขึ้นกับพื้นที่ จึงอยากให้มีการยุติโครงการและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกทั้งหมดและปรับสภาพพื้นที่คืนแก่ชาวบ้าน เพราะการดำเนินการของชลประทานดำเนินการโดยพลการและไม่สอบถามความเห็นชอบจากชาวบ้านในพื้นที่ว่ามีความต้องการหรือไม่

Advertisement

ล่าสุดนายสมพงศ์ เจาะเส็น นายกเทศมนตรีตำบลเวียงสรวย พร้อมกับผู้นำชุมชนได้เชิญทางนายทรงพล พงษ์มุกดา หัวหน้าจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลประทานแม่ลาว ผู้ดำเนินโครงการมาร่วมหารือและหาทางออกร่วมกับชาวบ้าน โดยทางชลประทานพยายามจะชี้แจงการดำเนินโครงการและผลดีของโครงการ แต่กลุ่มชาวบ้านท้วงติงอยากเห็นรายละเอียดโครงการและใบขออนุญาตจากกรมเจ้าท่าภูมิภาคและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง แต่ทางชลประทานไม่มีให้ชาวบ้าน ทำให้การหารือต้องยุติลงโดยให้ชลประทานหาหลักฐานการขออนุญาตดำเนินโครงการมาแสดงว่าไม่ได้ดำเนินการโดยพลการ ขณะที่ชาวบ้านจะกลับไปหารือว่าโครงการที่ดำเนินการไปแล้วจะดำเนินการอย่างไร รื้อคืนสภาพทั้งหมดหรือรื้อส่วนที่ส่งผลกระทบออก โดยจะมีการจัดประชาคมลงประชามติระหว่างชุมชนที่ใช้ประโยชน์ในลุ่มน้ำแม่สรวย แล้วจะแจ้งให้ทางชลประทานรับทราบอีกครั้ง

นายทรงพล พงษ์มุกดา หัวหน้าจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลประทานแม่ลาว กล่าวว่า การจัดทำโครงการป้องกันตลิ่ง เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ราษฎรท้ายเขื่อน ซึ่งมีอาชีพเกษตร การทำกล่องหินป้องกันจะทำให้ลดการพังทลายของดินริมฝั่ง ซึ่งเกษตรกรริมฝั่งมีความต้องการและชลประทานเห็นว่ามีประโยชน์จึงเสนอโครงการไปยังกรมใช้งบประมาณ 18 ล้านบาท มาดำเนินการเป็นระยะ โดยแต่ละระยะมีความยาวประมาณ 350-500 เมตร ซึ่งเริ่มดำเนินการระยะแรกไปแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ไม่มีปัญหาอะไร ปัจจุบันดำเนินการในระยะที่ 2 โดยใช้กล่องแมทเทรส หรือกล่องลวดตาข่ายวางเป็นชั้นๆ จากในน้ำขึ้นถึงขอบตลิ่ง ก็มีชาวบ้านออกมาคัดค้านอ้างว่ามีผลกระทบ ทั้งที่การก่อสร้างดำเนินการตามแบบมาตรฐานสากลที่เขาดำเนินการกันทั่วโลก ที่อื่นไม่มีปัญหาที่เกรงลวดจะแทงเท้า ปกติชาวบ้านลงหาปูหาปลามักจะใส่รองเท้าลงป้องกันเศษแก้วเศษไม้อยู่แล้ว ที่สำคัญลวดที่ใช้รัดและทำกล่องแมทเทรส ก็เคลือบสังกะสีอย่างดีไม่มีอันตราย ซึ่งทางชลประทานได้ทำหนังสือแจ้งเรื่องและขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกส่วนให้ทราบแล้ว แแต่ที่ไม่ได้ประชาคมชาวบ้านก็เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 จึงไม่ได้จัดทำ แต่เมื่อชาวบ้านคัดค้านก็จะชะลอโครงการไว้ก่อน รอมติของชาวบ้านอีกครั้งหนึ่งว่าจะให้เป็นแบบไหน หากจะให้ยุติหรือรื้อโครงการออกก็จะทำเรื่องเสนอกรมพิจารณาตามมติของชาวบ้านตามขั้่นตอนต่อไป

Advertisement

นายสมพงศ์ เจาะเส็น นายกเทศมนตรีตำบลเวียงสรวย กล่าวว่า โครงการดังกล่าวทางชลประทานได้ทำหนังสือแจ้งมายังเทศบาลและไปถึงผู้นำชุมชนในพื้นที่ข้างเคียงทุกแห่งแล้ว โดยเทศบาลเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีต่อชาวบ้านมากกว่าผลเสียจึงอนุญาตให้ดำเนินโครงการ แต่เมื่อชาวบ้านไม่เห็นด้วยและกังวลในเรื่องความปลอดภัยเพราะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงแบบการก่อสร้าง ทางเทศบาลก็ไม่ขัดข้อง พร้อมจะเป็นตัวกลางในประสานงานของทั้งสองฝ่ายเพื่อหาทางออกร่วมกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับมติชาวบ้านว่าจะเอาอย่างไร ทางเทศบาลก็พร้อมที่จะฟังเสียงภาคประชาชน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image