ดัชนีความเชื่อมั่นปชช. 14 จังหวัดใต้ดีขึ้น หลัง “โควิด” คลี่คลาย แต่เริ่มกังวลสินค้าปรับราคาดันค่าครองชีพพุ่ง

ดัชนีความเชื่อมั่นปชช. 14 จังหวัดใต้ดีขึ้น หลัง “โควิด” คลี่คลาย แต่เริ่มกังวลสินค้าปรับราคาดันค่าครองชีพพุ่ง

ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จ.สงขลาเปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชน 14 จังหวัดในภาคใต้ 420 ตัวอย่างด้านเศรษฐกิจและสังคมเดือน พ.ค.65 โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.จากปัจจัยบวกสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง

ผศ.ดร.นิวัฒน์ เปิดเผยว่า ภาครัฐได้มีมาตรการผ่อนคลายการแพร่ระบาดของโควิด-19 ลดเงื่อนไขที่จำกัดการดำเนินชีวิตและประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น การผ่อนคลายเงื่อนไขการท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในวันที่ 1 พ.ค.65กลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบไม่ต้องตรวจ RT-PCR และการปรับลดวงเงินประกันภัยสำหรับชาวต่างชาติทุกกลุ่มเหลือ 10,000 เหรียญสหรัฐ

“การเปิดจุดผ่านแดนถาวร 31 ด่าน ใน 17 จังหวัด เพื่อเปิดรับการเดินทางท่องเที่ยวทางบก ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการเดินหน้าขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยว โดยทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น”

ผศ.ดร.นิวัฒฒน์เปิดเผยว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความกังวลเรื่องค่าครองชีพจากสถานการณ์ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ยังเป็นปัจจัยกดดันดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ประชาชนมีความกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมากเกี่ยวกับราคาอาหาร เครื่องดื่ม พลังงาน และราคาสาธารณูปโภค จากภาครัฐยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม และราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาท/ลิตร ซึ่งเริ่มทยอยปรับขึ้นเป็นขั้นบันได

Advertisement

“มาตรการของภาครัฐการเยียวยา หรือมาตรการเงินอุดหนุนและการช่วยเหลือเริ่มทยอยหมดลง ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังมีแนวโน้มเปราะบาง งบประมาณของประเทศเหลือน้อย และอาจไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือประชาชน หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาอีก”

ผศ.ดร.นิวัฒน์เปิดเผยว่าประชาชนภาคใต้กังวลกับค่าครองชีพที่ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค และพลังงาน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง แก๊สหุงต้มที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้น การใช้จ่ายจำเป็นต้องรัดกุมและใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นหรือใช้สินค้าทดแทนที่ราคาถูกลง อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรเข้ามามีส่วนช่วยประคับประคองราคาสินค้าและบริการที่จำเป็น รวมถึงลดภาระค่าครองชีพของประชาชนให้ต่ำลง”

“ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ ราคาปุ๋ยเคมี ยาและอาหารสัตว์ ต้นทุนสูงขึ้นมากส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ที่ลดลง ความเสี่ยงของราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน และสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนทำให้ได้ผลผลิตไม่เต็มที่ ซึ่งสร้างความกังวลให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก ภาครัฐควรหามาตรการช่วยเหลือภาคเกษตร โดยเฉพาะการช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกร”

Advertisement

ผศ.ดร.นิวัฒน์เปิดเผยว่าประชาชนชาวภาคใต้มีความกังวลในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด -19 หลังจากมีมาตรการผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องให้เปิดดำเนินการธุรกิจในหลากหลายกลุ่ม อาทิ การท่องเที่ยว การจัดงานสังสรรค์ ผับ บาร์ และสถานบันเทิงต่าง ๆ ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการป้องกันและดูแลแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ และนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้โควิด -19 กลับมาแพร่ระบาด

“ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมากที่สุดคือค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 53.90 ภาระหนี้สินของประชาชน ร้อยละ 27.80 และการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ร้อยละ12.10”

“ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรรีบดำเนินการและให้ความช่วยเหลือ อันดับแรก คือ การแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง รองลงมา คือ การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน การสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง การดูแลและช่วยเหลือภาคการเกษตร รวมถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image