สภาประชาชนภาคใต้ ดึงสติรัฐบาล ค้นหาข้อเท็จจริงปลากุเลาตากใบ ก่อนโยนบาปให้ไทยพีบีเอส

สภาประชาชนภาคใต้ ดึงสติรัฐบาล ค้นหาข้อเท็จจริงปลากุเลาตากใบ ก่อนโยนบาปให้ไทยพีบีเอส

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ สภาประชาชนภาคใต้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลต้องค้นหาข้อเท็จจริงกรณีปลากุเลาตากใบ ก่อนไทยพีบีเอสจะอ้างความรับผิดชอบ ระบุว่า

“เป็นที่ทราบกันดีว่ากรณีการนำปลากุเลาเค็มตากใบขึ้นโต๊ะอาหารผู้นำประเทศที่มาร่วมประชุมเวทีเอเปค 2022 ที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 ที่เพิ่งผ่านไปนั้น ได้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองไปแล้ว

และปัญหาที่เกิดขึ้นนี้กำลังถูกปัดความรับผิดชอบของบางหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กับสถานีฯไทยพีบีเอส โดยไม่มีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง ด้วยว่าเรื่องดังกล่าวนั้นมูลการหาผลประโยชน์จากคนบางกลุ่มจริงจนเป็นที่รับรู้ของบุคลากรคนในองค์กรดังกล่าว

หากแต่หลังจากเป็นข่าวครึกโครมได้มีความพยายามของคนในองค์กรนั้นสร้างหลักฐานและสร้างภาพว่ามีการสั่งปลากุเลาเค็มจากตากใบจริง ทั้งที่มีความย้อนแย้งกับคำบอกเล่าของประชาชนในพื้นที่ ตามที่สื่อมวลชนได้รายงานข่าว

Advertisement

การเสนอข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสศูนย์ข่าวภาคใต้ เป็นการเสนอไปตามคำสัมภาษณ์ของชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่จริง ซึ่งมีข้อสังเกตุในขณะนั้นว่าปลากุเลาที่รัฐบาลอ้างว่ามาจากตากใบนั้น เป็นของจริงหรือไม่ ? ถือเป็นการนำเสนอข่าวที่มีการตั้งข้อสังเกตุที่น่าสงสัยจริง อันเป็นสิ่งที่รัฐบาล(หน่วยงานที่รับผิดชอบ) จะต้องสืบหาข้อเท็จจริง มิใช่ปัดความรับผิดชอบด้วยการโยนความผิดไปที่สำนักข่าว เสมือนเป็นการบิดเบือนข้อสงสัยของสังคมและของประชาชนในพื้นที่ ด้วยมีเงื่อนงำให้ชวนสงสัยอยู่หลายประการ แม้จะมีตัวแทนของหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้พยายามออกมายืนยันถึงที่มาที่ไปของปลากุเลาฯก็ตาม

สภาประชาชนภาคใต้ ได้ติดตามเรื่องนี้รวมถึงการแสดงความรับผิดชอบของผู้บริหาสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงครั้งล่าสุดที่มีการลาออกของบรรณาธิการข่าวอาวุโส และมาตรการอื่นๆที่ผู้บริหารระดับสูงพยายามแสดงออกเพื่อให้กระแสกดดันจากสังคมลดลง ซึ่งอาจจะรวมถึงแรงกดดันจากฝ่ายการเมืองด้วยนั้น พวกเราไม่เห็นด้วยนักกับการกระทำดังกล่าวของคณะผู้บริหารไทยพีบีเอส แต่ก็เคารพและเข้าใจถึงแรงกดดันที่เกิดขึ้น

ด้วยเหตุว่าการแสดงความรับผิดชอบที่ไม่ได้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างเป็นทางการในลักษณะนี้นั้น ถือเป็นตัดสินและยอมรับแล้วว่าการเสนอข่าวของเจ้าหน้าที่(นักข่าว)ดังกล่าวนั้นเป็นความผิดพลาดจริง และยังนำไปสู่การสร้างความลำบากใจและกลายเป็นแรงกดดันกับเจ้าหน้าที่ผู้เสนอข่าวอย่างไร้ความเป็นธรรม และเชื่อว่าจะส่งผลต่อจิตใจและความเชื่อมั่นไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ของไทยพีบีเอสโดยรวมอย่างไม่อาจปฏิเสธได้”

โดยมี 19 องค์กรภาคประชาชนร่วมกันลงนามสนับสนุน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image