ชาวอุดรฯ ขอบคุณ ‘เศรษฐา’ แจงชัดแจกเงินดิจิทัล แนะให้เป็นเงินสดจะใช้จ่ายได้ง่ายกว่า

ชาวอุดรฯ ขอบคุณ ‘เศรษฐา’ แจงชัดแจกเงินดิจิทัล แนะให้เป็นเงินสดจะใช้จ่ายได้ง่ายกว่า

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ที่บ้านเลขที่ 98/34 ม.1 หมู่บ้านมั่นคง ชุมชนหนองบัว 5 ต.หมากแข้ง เขตเทศบาลนครอุดรธานี ซึ่งเป็นบ้านของนางละอองศรี สมรัตน์ อายุ 61 ปี ได้ชวนเพื่อนบ้านรวม 6 คน มานั่งเฝ้าอยู่หน้าทีวีและฟังแถลงนโยบาย เงื่อนไข สำหรับผู้ที่จะได้รับเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท จากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล บริเวณชานหน้าบ้านอย่างตั้งอกตั้งใจ ว่าตัวเองจะเข้าเงื่อนไข และหลักเกณฑ์หรือไม่

โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงข่าวถึงความชัดเจนนโยบายเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท ว่า สำหรับเงื่อนไขของผู้ที่จะได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต รัฐบาลจะมอบสิทธิการใช้จ่าย ให้กับ ประชาชนผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป รายได้ไม่ถึง 70,000 บาทต่อเดือน และมีเงินฝากต่ำกว่า 500,000 บาท หมายถึง ถ้ารายได้เกิน 70,000 บาท แต่มีเงินฝากน้อยกว่า 5 แสนบาท ก็จะไม่ได้รับสิทธิ หรือรายได้น้อยกว่า 70,000 บาท แต่เงินฝากมากกว่า ก็จะไม่ได้รับสิทธิ โดยให้สิทธิครั้งแรก 6 เดือน หลังจากโครงการเริ่ม ขยายพื้นที่ครอบคลุม ระดับอำเภอ ตามที่ได้ฟังความเห็นมา

นโยบายเงินดิจิทัล เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยใรระยะเวลาอันรวดเร็ว เงินจะถูกส่ง ไปยังประชาชน เงิน ที่อยู่ อำเภอเดียวกับบัตรประชาชนของท่าน เงินก้อนนี้ไม่ได้มาจากการเสกเงิน สร้างเงิน พิมพ์เงิน แต่อย่างใด ไม่มีการเทรดในตลาดหลักทรัพย์ และคริปโตใดๆทั้งสิ้น เงินตัวนี้จะมีที่มาจากเงินบาท และมีมูลค่าเป็นเงินบาท พูดให้ชัดอีกทีครั้ง ประชาชนจะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เท่านั้น ไม่สามารถซื้อ เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ กัญชา และพืชกระท่อม ไม่สามารถนำไปซื้อ ทอง เพชร พลอย อัญมณี ได้ ไม่สามารถจ่ายค่าเทอม ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และแลกเป็นเงินสดก็ไม่ได้ โดยสามารถใช้ผ่านแอปเป๋าตัง กฎหมายเข้าสภาฯ ต้นปี 2567 คาดเริ่มใช้ พ.ค.2567

ADVERTISMENT

หลังจากฟังคำแถลงเสร็จ แทบทุกคนฟังไม่ค่อยเข้าใจในคำแถลง ที่ส่วนมากจะแถลงหลักวิชาการต่างๆ แต่ก็พอจับใจความและเข้าใจว่า ตัวเองผ่านเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ คือ ผู้ที่มีรายได้ไม่ถึง 70,000 บาทต่อเดือน และมีเงินฝากต่ำกว่า 500,000 บาท ทุกคนก็แสดงความดีใจ และขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่ทำให้ในโครงการนี้เกิดขึ้นจริง แต่อยากได้เงินสดโอนเข้าบัญชีมากว่าเงินดิจิทัล เพราะเงินสดก็สามารถกระตุ้นเศรษกิจได้เช่นกัน และไม่เอื้อให้กับนายทุนหรือเจ้าสัว แต่ก็พอจะเข้าใจในเรื่องของกฎหมายที่จะตามมาในโครงการนี้เช่นกัน

นางละอองศรี สมรัตน์ เปิดเผยว่า ตนมีอาชีพเปิดแผงขายขนมปัง แซนวิช ไข่กระทะ หรือที่เรียกว่าอาหารเช้าอยู่ที่ตลาดเช้าซอยกำนัน ต.หมากแข้ง เขตเทศบาลนครอุดรธานี โดยมีสามีเป็นคนช่วยเตรียมของ ส่วนตนเป็นคนขาย รายได้ต่อเดือนประมาณ 20,000-25,000 บาท เมื่อก่อนขายดีมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท และมีเงินฝากเพียงเล็กน้อย แต่พอโควิดระบาด รายได้ก็ลดลงจนถึงปัจจุบัน และตนกับสามีก็เข้าหลักเกณฑ์ ตามที่นายกแถลงนโยบาย และคิดว่าได้ ทีแรกก็ฟังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เพราะส่วนมากจะมีแต่หลักวิชาการ แต่พอฟังเรื่องรายได้และเงินเก็บ จึงพากันเข้าใจ

ADVERTISMENT

”ขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี ที่มโครงการดีๆช่วยเหลือประชาชน และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เราเป็นชาวบ้านแม่ค้าธรรมดา ก็อยากได้เป็นเงินสด เพราะเราเป็นแม่ค้า แบบโอนเข้าบัญชีเลย จะได้นำไปซื้ออะไรก็ได้ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนกัน เช่นเราจะนำเงินไปซื้อของที่ร้านโชว์ห่วยเล็กๆ และตลาดในชุมชน หรือร้านค้าที่เรารู้จักคุ้นเคยกัน หรือเป็นร้านค้า ร้านอาหารพื้นเมืองของญาติเรา จะได้มีเงินหมุนเวียนในชุมชนนั้นๆ หากเป็นเงินดิจิทัล นำมาใช้ก็ยากหากไม่เข้าใจ และนายห้างหรือนายทุนใหญ่ๆ ก็จะได้ประโยชน์กับนโยบายนี้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีโครงการนี้ก็เป็นการช่วยเหลือการใช้จ่ายในครัวเรือนของประชาชน แม้ว่าจะได้ปีหน้า พากเราก็จะพากันรอ”

ขณะที่นายพรพล เจริญรัตน์ หรือช่างโอ๋ อายุ 45 ปี เจ้าของร้านไอทีมาสเตอร์ ต.หมากแข้ง เขตเทศบาลนครอุดรธานี ผู้ที่ไม่เข้าเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของนโยบายเงินดิจิทัล เปิดเผยว่า ที่ตนไม่เข้าเงื่อนไขนโยบายเงินดิจิทัล วอลเล็ต ของโครงการรัฐบาลชุดนี้ คือ ตนมีรายได้มากว่า 70,000 บาท/เดือน แต่ก็อยากได้เหมือนกัน เนื่องจากช่วงโควิดระบาด จนทำให้ตนลำบากมาก ซ้ำยังป่วยเป็นไตวายเรื้อรังระยะ 5 ต้องรักษาตัวเอง และการทำงานก็ไม่ได้เต็มที่ เหมือนที่ผ่านมา ที่มีรายได้มากกว่านี้

“อยากฝากถึงท่านนายกฯในส่วนนี้ว่า ช่วงนี้ก็ลำบากเหมือนกันทุกคน ก็อยากให้ได้กันทั่วถึง ไม่ว่าจะมีรายได้หรือเงินเดือนเท่าไร เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ถึงแม้ว่าได้ไม่ทั่วถึงกันเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะตนก็ไปกู้เงินมาลงทุน และมีดอกเบี้ยเหมือนกัน ใจจริงก็อยากให้ได้เป็นเงินสดมากว่า จะให้มาน้อยกว่านี้ก็ได้ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่จะจับจ่ายใช้สอยกันในตลาดของชุมชน ตามร้านค้าเล็กๆ หรือร้านโชว์ห่วยตามชุมชน ก็จะมีรายได้หนุมเวียนกัน และจะใช้ได้ง่ายกว่าเงินดิจิทัล และก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เช่นกัน หากไปใช้กับร้านที่ร่วมโครงการใหญ่ๆ บางทีคนใช้เงินดิจิทัลที่ไม่ค่อยเข้าใจก็จะยาก”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image