โรคกิ่งตายทุเรียน ระบาดในภาคใต้ หวั่นแล้งจัดเพิ่มสำรองน้ำ โค่นยางลงทุนปลูกเพิ่ม
“โรคกิ่งตาย” ทุเรียนระบาดในภาคใต้ หวั่น “แล้งจัด” เพิ่มสำรองน้ำ โค่นยางลงทุนปลูก “ทุเรียน” กังวลปัจจัย จีนลุยลงทุนปลูกในกลุ่มประเทศ 5 ประเทศ ได้แก่ เมียนมาร์, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม และมาเลเซีย นายกวิศวกรรมเกษตร ชี้ทุเรียนไทยซิ่งจากตลาดเชิงปริมาณ เข้าสู่ตลาดคุณภาพสู่ตลาดบน
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม รายงานจากสวนทุเรียนภาคใต้ตอนล่างว่า ขณะนี้มีทุเรียนภาคใต้ตอนล่างมีการปลูกทุเรียนหลากหลายชนิด อาทิ หมอนทอง, ก้านยาว, พวงมณี และมูซันคิงเพิ่มขึ้น แต่กำลังประสบปัญหาเกิดโรคระบาดกิ่งตายจากเชื้อฟิวซาเรี่ยม (Fusarium ) ซึ่งน่าเป็นเป็นห่วงกว่าโรคไฟท็อป เพราะจะระบาดรวดเร็ว โดยเชื้อจะเข้าทางน้ำและอาหาร ตอนนี้ได้จะพบแทบทุกสวน โดยทางแก้จะต้องตัดทิ้งนำไปเผาทุกส่วน เมื่อเกิดขึ้นจะต้องตัดทิ้งทันที มิเช่นนั้นจะลุกลามระบาดเร็ว และจะต้องเฝ้าระวังเพื่อพ้นหน้าแล้ง
รายงานระบุว่า ทุเรียนในปี 2568 คาดว่าจะได้ผลิดอกออกปริมาณมากเพิ่มขึ้น 80 % เมื่อเทียบกับปี 2567 ประมาณ 2 เท่าตัว เพราะสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยแล้งมาประมาณครึ่งเดือน และต่อไปหากเกิดฝนตกลงมาจะเกิดดอกร่วง หรือไม่จะขึ้นอยู่กับการดูแลโดยให้น้ำอย่างต่อเนื่อง จะไม่มีปัญหาเมื่อเกิดฝนตกลงมาและจะต้องให้น้ำปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามพัฒนาการของดอกที่มีการเติบโตขึ้น โดยจะต้องเพิ่มปริมาณน้ำตามอีก 6 เดือน ผลผลิตจะสามารถเก็บเกี่ยวได้
รายงานอีกว่า สภาพภูมิอากาศช่วงนี้มีแนวโน้มว่าน่าจะเกิดการขาดแคลนน้ำได้ เจ้าของสวนทุเรียนจะต้องเร่งเพิ่มน้ำสำรองรองรับอย่าให้เกิดขาดแคลน คาดว่าในปี 2568 จะต้องใช้น้ำเพิ่มขึ้นมาก เพราะในปัจจุบันได้มีการพัฒนายกระดับเป็นเชิงพาณิชย์ มีการดูแลรักษาบำรุง เนื่องจากมีมูลจูงใจ เพราะได้ราคาที่ดี
นายกัมปนาท วงศ์ชูวรรณ เจ้าของสวนยางและทุเรียนรายใหญ่ ผู้จัดการทำสวนธารน้ำทิพย์ สถาบันเกษตรกรแปรรูปยางส่งออกต่างประเทศรายใหญ่ภาคใต้ อ.เบตง จ.ยะลา เปิดเผยว่า จ.ยะลาเป็นแหล่งปลูกทุเรียนรายใหญ่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากความผันผวนสภาพภูมิอากาศ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คาดการณ์ยาก และหลายปีมีฝนตกชุกต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบโดยตรงสวนยางพารา
โดยเฉพาะ จ.ยะลา สวนยางบางอำเภอถูกทิ้งร้างประมาณ 70 % ไม่สามารถจะกรีดได้ ชาวสวนยางจำนวนหนึ่งที่มีพื้นที่เหมาะสมพร้อมน้ำ จึงได้โค่นยาง ลงทุนปลูกทุเรียนแทนกันมาก จะลงทุนปลูกทุเรียนได้เกิดความกังวลถึงตลาดประเทศจีนที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ ที่ทางนักลงทุนจีนได้มีการขยายการลงทุนปลูกทุเรียนในประเทศเมียมาร์, กัมพูชา, ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย และมีต้นทุนที่ต่ำกว่า
ด้าน นางดาเรศร์ กิตติโยภาส นายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทุเรียนไทยไม่น่ากังวลเรื่องตลาด โดยเฉพาะตลาดหลักคือจีนที่ยังกว้าง แต่จะหยุดนิ่งไม่ได้จะต้องมีการพัฒนาขยายตัวเติบโตเชิงคุณภาพ ไม่ใช่การขยายตัวเติบโตเชิงปริมาณ จะต้องออกจากตลาดล่าง เพราะเชิงปริมาณจะมาแข่งขันกันหลายประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อราคาทุเรียนไทย
“ทุเรียนไทยผู้ประกอบการผู้ปลูกจะมีจุดแข็งกว่า ทั้งทักษะเชี่ยวชาญทั้งสายพันธุ์ วิธีทำและเรื่องสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งต่างประเทศยังเอาพันธุ์ทุเรียนไทย เช่น หมอนทอง ประเด็นสำคัญทุเรียนจะต้องมีมาตรการเข้มงวดเรื่องของการเก็บทุเรียนแก่ 80 เปอร์เซ็นต์ ขนาดถึงปลายทางเป็นทุเรียนสุก และจะต้องไม่เก็บทุเรียนอ่อนจะเป็นทุเรียนที่ไม่สุก คุณภาพพรีเมียมเกรดยังมีตลาดที่กว้างมากจะสามารถขยายตัวเติบโตได้โดยเน้นเรื่องของคุณภาพโดยจะมาขยายการเติบโตในส่วนนี้”
นางดาเรศว์ กล่าวอีกว่า การลงทุนปลูกทุเรียนมีหลายประเทศ ตั้งแต่เวียดนาม, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ แต่เมื่อเน้นเชิงปริมาณตลาดตรงนี้จะมีผลต่อราคา ซึ่งตรงนี้ทุเรียนไทยจะต้องออกไปจากจุดนี้ โดยการพัฒนายกระดับคุณภาพไปสู่อีกตลาดหนึ่งก็จะได้อีกราคา ทุเรียนรับประทานสดจะมีราคาที่ดีกว่า