เมื่อวันที่ 2 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีแม่น้ำกกมีสีขาวขุ่น หลายฝ่ายกังวลว่าจะมีการปนเปื้อนสารอันตราย เนื่องจากต้นทางแม่น้ำอยู่ในประเทศเมียนมา ซึ่งมีการทำเหมืองทองและเหมืองแร่จำนวนมาก
ล่าสุดเจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 กรมควบคุมมลพิษ นำโดย นางสาวปิยนุช ทรวงคำ ผู้อำนวยการส่วนการจัดการคุณภาพน้ำ อากาศและเสียงฯ เก็บตัวอย่างตะกอนดินในแม่น้ำกกบริเวณใกล้กับเชิงสะพานแม่ฟ้าหลวงหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงรายไปตรวจสอบอย่างละเอียด
นางสาวปิยนุช เปิดเผยว่า จากสภาพแม่น้ำที่มีขึ้นผิดปกติในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาทางกรมควบคุมมลพิษได้มีการจัดเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบแล้วครั้งหนึ่งทั้งในเชียงรายและเชียงใหม่ ครั้งนี้ทางกรมควบคุมมลพิษต้องการเก็บตะกอนดินไปตรวจซ้ำ ซึ่งตะกอนหน้าดินเป็นอีกจุดที่จะสามารถตรวจวัดหาสารปนเปื้อนต่างๆ ของน้ำได้ ซึ่งตะกอนดินเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หน้าดินและห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ โดยจัดเก็บทั้งหมด 6 จุดคือที่เชียงราย 3 จุดและในพื้นที่อำเภอแม่อายและท่าตอนของเชียงใหม่อีก 3 จุด สำหรับ 3 จุดของเชียงรายมีการจัดเก็นตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำที่บ้านโป่งนาคำ ซึ่งชาวบ้านกังวลว่าจะมีสารตกค้างเกรงจะเป็นอันตรายเพราะชาวบ้านใช้แม่น้ำกกผลิตปะปาไปใช้ในหมู่บ้าน และบริเวณตัวเมืองเชียงรายอีก 2 จุดคือบริเวณสะพานถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตกใกล้กับหาดเชียงรายและอีกจุดคือบริเวณสะพานแม่ฟ้าหลวง ใกล้แหล่งผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมีการจัดเก็บแหล่งน้ำผิวดินและตะกอนดินไปตรวจพารามิเตอร์หลัก3ตัว ตัวแรกเป็นการตรวจค่าพื้นฐาน อีกตัวเป็นเรื่องโลหะหนักและตัวสุดท้ายที่สำคัญคือการตรวจหาไซยาไนด์ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของสารปนเปื้อน โดยเฉพาะจากการทำเหมืองทองคำ โดยการตรวจตะกอนดินจะแตกต่างจากการตรวจจากน้ำ สามารถตรวจค่าโลหะหนักและไซยาไนด์ได้เห็นผลดีกว่า
นางสาวปิยะนุช กล่าวอีกว่า การตรวจตะกอนดินจะต้องใช้เวลา จึงจะทำให้ผลที่ชัดเจนจะมาออกมาใช้ต้องใช้เวลาในการตรวจประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะทราบค่าอย่างละเอียดทั้งหมด อย่างไรก็ตามจากการนำตัวอย่างจากแม่น้ำกกในพื้นที่เชียงใหม่ส่งไปตรวจ พบว่าค่าความขุ่นของปแม่น้ำกก แตกต่างกันโดยจัดที่จัดเก็บต้นน้ำกก กับปลายแม่น้ำความเจือจางของน้ำอ่อนลง และยังไม่พบว่าโลหะหนักหรือไซยาไนด์ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จากการสังเกตุด้วยตาเปล่าสีของน้ำกกในเชียงรายซึ่งอยู่ไกลจากต้นน้ำประเทศเมียนมาดูจะเจือจางกว่า ประชาชนสบายใจได้ในการนำแม่น้ำกกไปใช้แต่ ทั้งนี้ก็ต้องมีการตรวจอย่างละเอียดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน