รองผู้ว่าฯพะเยาควงผอ.ชลประทานแจง แหล่งน้ำทั้ง 60 แห่งมีพอยาวถึงหน้าฝน

วันที่ 30 มีนาคม 2560 เมื่อเวลา 09.00 น. นายประจญ ปรัชญ์สกุล  รองผู้ว่าราชการ จ.พะเยา เปิดเผยว่า ได้ประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2560 เพื่อเตรียมพร้อมในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรในพื้นที่พะเยา 68 ตำบล 9 อำเภอ การรับมือภัยแล้งได้ทำในรูปแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในการจัดทำแผนปฏิบัติการทั้งกำลังคน-วัสดุอุปกรณ์รถยนต์บรรทุกน้ำ- เครื่องสูบน้ำ และสำรวจติดตามปริมาณน้ำในแหล่งกักเก็บที่สำคัญในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่เสี่ยงต่อภัยแล้งในเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้  ได้เน้นให้ชาวบ้านปรับเปลี่ยนวิธีคิด และพฤติกรรมการเพาะปลูกพืชที่ใช้นำมาก,มาเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยอายุไม่เกิน 45 วัน หรือพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ที่จำเป็นในการครองชีพประจำวันของชาวบ้าน

 

นายประจญกล่าวอีกว่า  การลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับน้ำในอ่างพื้นที่พะเยารวม 60 แห่ง ล่าสุดมีปริมาณน้ำกักเก็บ 120 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็น 89.97% โดยเฉพาะกว๊านพะเยาเนื้อที่กว่า 10,000 ไร่ ปริมาณกักเก็บ 33.45 ล้านลูกบาศก์ฯ สามารถจัดสรรน้ำให้พื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 130,000 ไร่ พืชไร่อื่นกว่า 10,000 ไร่ ได้อย่างเพียงพอแต่ต้องใช้น้ำอย่างประหยัดให้รู้คุณค่าของน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตทั้งตนและสัตว์ เบื้องต้นน่าจะเพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค รวมไปถึงพื้นที่การเกษตร-เลี้ยงสัตว์ในราวเดือน ก.ค.นี้ หรือเข้าสู่ช่วงฤดูฝน

 

Advertisement

ด้านนายนพดล ใจธรรม ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพะเยา จ.พะเยา  กล่าวอีกว่า ภาพรวมน้ำในอ่างที่อยู่ในความรับผิดชอบในพื้นที่พะเยา  แยกเป็นอ่างขนาดกลาง 3 แห่ง คืออ่างเก็บน้ำแม่ปืม อ.เมืองพะเยา ระดับกักเก็บ 43.000 ลบ.ม. น้าล่าสุด  38.505 ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ อ.เมือง  ระดับเก็บกัก  37.000 ลบ.ม น้ำล่าสุด 37.267 ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำแม่ใจ  อ.แม่ใจ  เก็บกัก 3.000 ลบ.ม น้ำล่าสุด 2.933 ลบ.ม.  และกว๊านพะเยา ระดับเก็บกัก 33.800 ลบ.ม. บรรจุน้าได้เต็มที่ 58.103 ลบ.ม. ภาพรวมน้ำในอ่างพื้นที่พะเยา 68 ตำบล 9 อำเภอ กว่า 60 แห่ง แต่ละแห่งมีปริมาณน้ำกว่า 70%  ถ้าหากบริหารจัดการน้ำอย่างมีระบบ สามารถบริโภคและอุปโภคได้ในช่วงปี 2560/61

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image