สารวัตรใหญ่ตำรวจท่องเที่ยวลพบุรี นำกำลังดูแลความปลอดภัยถนนดินสอพองลพบุรี
วันนี้ 13 เมษายน พ.ต.ท.พัฒนพงศ์ ศิริเจริญนำ สวญ.ส.ทท.2 กก.2 บก.ทท.1 ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยวลพบุรี เข้าร่วมพิธีเปิดและอำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ออกมาเล่นนำสงกรานต์ภายในงาน ยลเสน่ห์สงกรานต์ หมู่บ้านดินสอพอง ปีนี้เป็นปีแรก จัดโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี เป็นสร้างอัตลักษณ์ให้แก่จังหวัดลพบุรี โดยมี ว่าที่ ร.ต.ทรงพล แป้นแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเป็นประธาน
พ.ต.ท.พัฒนพงศ์ กล่าวว่า “หมู่บ้านดินสอพอง ภูมิปัญญาท้องถิ่นลพบุรี” ซึ่งเป็นแหล่งผลิตดินสอพองที่ส่งต่อภูมิปัญญามายาวนานหลายชั่วอายุคน เรื่องราวการเกิดของดินสอพองที่จังหวัดลพบุรี มีตำนานเกี่ยวกับวรรณดีเรื่องรามเกียรติ์ตอน ‘หนุมานครองเมือง’ เรื่องมีอยู่ว่า พระรามเมื่อตอนรบกับทศกัณฐ์ชนะก็ให้รางวัลกับหนุมานที่เป็นทหารเอกด้วยการยกเมืองให้ไปครอง โดยใช้วิธีเสี่ยงทายด้วยการแผลงศร หากลูกศรไปตกที่เมืองไหนก็จะยกเมืองนั้นให้ แล้วศรก็ไปตกที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) ชาวลพบุรีก็ได้ผูกตำนานต่อว่าลูกศรของพระรามที่ตกลงทำให้เกิดไฟลุกไหม้ หนุมานก็ได้ใช้หางกวาดจนไฟดับ ดินทั่วทั้งเมืองก็เลยสุกจนกลายเป็นสีขาว บริเวณที่มีดินสีขาวคือที่อำเภอเมืองลพบุรี ตำบลพรหมาสตร์ ตำบลทะเลชุบศร ตำบลท่าแค และตำบลถนนใหญ่
“ดินสอพอง”เป็นดินสีขาวที่มีสารประกอบเป็นหินปูน หรือเรียกอีกอย่างว่าดินมาร์ล เป็นดินที่พบได้เกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยคำว่า“ดินสอพอง” มาจากคำว่า “ดิน” ผสมกับคำว่า “สอ” ซึ่งเป็นภาษาเขมร แปลว่า “ขาว”
ทั้งนี้ กระบวนการผลิตดินสอพอง นำดินมาร์ลมาบด ร่อน ผสมน้ำ แล้วกรองจนสะอาด ปล่อยเนื้อดินให้ตกตะกอนนอนนิ่งอยู่ก้นบ่อและดูดน้ำใสออกจากบ่อให้เหลือแต่แป้งเหลวนำมาหยอดใส่แม่พิมพ์ ซึ่งเมื่อตากแห้งแล้วจะได้ดินสอพองรูปแบบต่าง ๆ ตามต้องการ
แหล่งผลิตแป้งดินสอพองที่สำคัญ มาจากแหล่งดินสอพองที่ ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.ลพบุรี ซึ่งบริเวณเหล่านี้มีวัตถุดิบสำคัญในการทำดินสอพอง และมีการทำดินสอพองกันแทบทุกบ้าน ถึงขั้นมีการขนานนามว่า “หมู่บ้านดินสอพอง
นอกจากนี้ พ.ต.ท.พัฒนพงศ์ ยังได้นำกำลังจัดเต็มนำกำลังออกดูแลพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวเพื่อดูเเลความปลอดภัย สร้างความอุ่นใจ รอยยิ้ม และอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวที่ออกมาเล่นนน้ำสงกรานต์ในพื้นที่ เช่น ถนนรามเดโช (สาย2) อ.เมือง ถือเป็นเรื่องราวที่ดีในการส่งเสริมความสำคัญของการขับเคลื่อนในพลัง soft power ของพื้นที่ ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สืบสาน ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของประเทศไทยแล้วยัง เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรี และ ของประเทศ สืบสานประเพณี วัฒนธรรม อัตลักษณ์ความเป็นไทยไปสู่ สากลอีกด้วย