รู้จักรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ขยับ ทำกระบี่ สะเทือน กรมทรัพย์ ยัน ไม่ใช่โดมิโนจากเมียนมา

รู้จักรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ขยับ ทำกระบี่ สะเทือน นักวิชาการชี้ยังมีพลังมากกว่ารอยเลื่อนระนอง ด้านกรมทรัพย์ยันไม่ใช่โดมิโนจากเมียนมา

จากกรณีเมื่อวันที่ 14 เมษายน ปภ.กระบี่ แจ้งว่า เมื่อเวลา 14.27 น. วันนี้ เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่อำเภอเหนือคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ขนาด 3.5 ลึก 2 กิโลเมตร มีแรงสั่นไหวรับรู้ได้โดยเฉพาะในตึกศาลากลางและตึกอาคารหลายแห่ง ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง : ด่วน แผ่นดินไหว เขย่ากระบี่ 3.5 รับรู้ได้ถึงแรงสั่นไหวที่ตึกศาลากลาง

ล่าสุด แหล่งข่าวจากกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า กรณีเหตุแผ่นดินไหว ในพื้นที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ น่าจะเกิดการขยับตัวจากรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยที่พาดผ่าน จ.สุราษฎร์ธานี จ.กระบี่ จ.พังงา และ จ.ภูเก็ต เป็นกลุ่มรอยเลื่อนตามแนวระนาบ ซึ่งในปี 2558 เคยมีเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 และทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนและรับรู้ได้ใน จ.ภูเก็ต ทั้งนี้ยังยืนยันว่า การที่เกิดแผ่นดินไหวในไทยไม่ใช่เป็นโดมิโนจากแผ่นดินไหวใหญ่เมียนมาเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา

ADVERTISMENT

การที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียกับยูเรเซียชนกัน และส่งผลให้เกิดการระเบิดที่ขอบเปลือกโลกไปยังรอยเลื่อนสะกายของเมียนมาจนเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 นั้น ไม่ได้ทำให้เกิดโดมิโนโดยตรงกับรอบเลื่อนที่มีพลังของไทยทั้ง 16 รอยเลื่อน ซึ่งการที่รอยเลื่อนของไทยแถวภาคเหนือ เช่น กลุ่มรอยเลื่อนเวียงแหง จ.แม่ฮ่องสอน เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็ก และล่าสุดที่รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ที่ จ.กระบี่ เป็นการปลดปล่อยพลังงานตามธรรมชาติ

ทั้งนี้ สาเหตุเกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ยังมีพลังในทะเล ทอดตัวผ่าน อ.บ้านตาขุน อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี อ.ทับปุด อ.เมือง จ.พังงา จากนั้นเลยไปในทะเลอันดามัน ระหว่าง อ.เมือง จ.ภูเก็ต กับ อ.เกาะยาว จ.พังงา ความยาว 148 กม.

ADVERTISMENT

ขณะที่เพจ มิตรเอิร์ธ – mitrearth โยพสต์ระบุว่า สืบเนื่องจาก แผ่นดินไหว ขนาด 3.5 กระบี่ วันที่ 14 เมษายน เกิดจาก #รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย #ไม่ทำให้เกิดสึนามิ

โดย มิตรเอิร์ธ – mitrearth ยังรวบรวมข้อมูลของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ความว่า กรณีของกลุ่มรอยเลื่อนระนอง-คลองมะรุ่ย ในแง่ของการวางตัว กลุ่มรอยเลื่อนทั้ง 2 วางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ พาดผ่านหลายจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย Tapponnier และคณะ (1986) สรุปว่าการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนทั้งสอง เป็นรอยเลื่อนเหลื่อมข้างและมีการเลื่อนตัวแบบซ้ายเข้า

นักวิชาการหลายกลุ่ม ยังไม่ปักใจเชื่อว่า เป็นรอยเลื่อนมีพลังที่สามารถสร้างแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ เนื่องจากข้อมูลแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดด้วยเครื่องมือตรวจวัดพบเพียงแผ่นดินไหวขนาดเล็ก-ปานกลาง (2.0-4.0) และเกิดไม่บ่อยนักในกลุ่มรอยเลื่อนนี้

หากเทียบกับกลุ่มรอยเลื่อนอื่นๆ ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย มีเพียงเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดในอ่าวไทย นอกชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2006 ที่มีขนาด 5.0 ซึ่งถือว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดของรอยเลื่อนระนองที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว

ผลจากการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เคยมีการศึกษาไว้ในอดีต ผนวกกับนิยามของรอยเลื่อนมีพลัง ที่ได้มีการนำเสนอจากหน่วยงานต่างๆ สรุปได้อย่างมั่นใจว่า ตลอดแนวของกลุ่มรอยเลื่อนระนอง-คลองมะรุ่ยนั้น ถือเป็นรอยเลื่อนมีพลัง ซึ่งหากพิจารณาจาก จะเห็นได้ว่า กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยซึ่งอยู่ด้านล่างนั้นแสดงพฤติกรรมหรือมีกิจกรรมด้านแผ่นดินไหวมากกว่ากลุ่มรอยเลื่อนระนองซึ่งอยู่ทางตอนบน และผลจากการกำหนดอายุยังแสดงให้เห็นว่าแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งล่าสุดนั้น กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยเกิดในช่วงประมาณ < 10,000 ปี ในขณะที่ กลุ่มรอยเลื่อนระนองนั้น แผ่นดินไหวในรอบ 10,000 ปีที่ผ่านมา สำรวจพบเฉพาะทางตอนบนและตอนล่างของกลุ่มรอยเลื่อนเท่านั้น ส่วนตอนกลางนั้นมีประวัติการเลื่อนตัวกระจายในหลัก 20,000-150,000 ปี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image