องค์กรต้านคอร์รัปชั่นจี้ย้าย”ผู้ว่าฯขอนแก่น-ทีมงาน”รับผิดชอบเอกสาร”หายโง่”

เมื่อเวลา 15.30น. วันที่ 19 มีนาคม ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ในศาลากลางจังหวัดขอนแก่นหลังใหม่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายตุลย์ ประเสริฐศิลป์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นภาคพลเมืองจังหวัดขอนแก่น พร้อมนายคุ้มพงษ์ ภูมิภูเขียว และ คณะเดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนายชำนาญ ทองดี รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น เพื่อส่งถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้มีคำสั่งย้าย นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายสุชัย บุตรสาระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และนางพรทิพย์ ขำชื่น หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น เพื่อรับผิดชอบด้วยเหตุผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องอย่างร้ายแรง และละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวจังหวัดขอนแก่น                                                                                                                        นายตุลย์ อ่านแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวว่าจังหวัดขอนแก่นจะมีการประชุมต้อนรับนายกรัฐมนตรีที่จะมาตรวจราชการที่จังหวัดขอนแก่นและมีหัวข้อการประชุม “ทำอย่างไรให้ประชาชนหายโง่” ในฐานะพลเมืองชาวจังหวัดขอนแก่น ขอกราบเรียนมายังท่านนายกรัฐมนตรี ได้โปรดมีบัญชา ให้ย้ายนายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น, ให้ย้ายนายสุชัย บุตรสาระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น, ให้ย้ายนางพรทิพย์ ขำชื่นหัว หน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น ด้วยเหตุผล การปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องอย่างร้ายแรงและละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขก่อให้เกิดความแตกแยกในพื้นที่ และบุคคลทั้งสามเป็นนักบริหารระดับสูงของจังหวัดขอนแก่นแต่มีทัศนคติเชิงลบต่อพลเมือง จึงไม่ควรดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรติในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นต่อไป และ โปรดได้มีบัญชา สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดสอบสวนเอาผิดทางวินัยกับบุคคลทั้งสาม เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ข้าราชการอื่นๆต่อไป นายตุลย์ กล่าวว่า ตามหลักธรรมาภิบาล ข้อที่ 5 สำคัญมาก คือ หลักความรับผิดชอบธรรมาธิบาลต้องมี เพราะเป็นผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด จะไปโอนให้ใครไม่ได้เด็ดขาด ความรับผิดชอบ หมายถึง มีความรับผิดชอบทางจริยธรรมและกฎหมายด้วย เมื่อเป็นหัวหน้าและผู้นำองค์กรแล้วต้องแสดงความรับผิดชอบ ถ้าไม่มีคนรับผิดชอบ พลเมืองจะไม่มีความเชื่อมั่นในองค์กรของรัฐ นี่คือหลักการบริหารของรัฐ หลักการบริหารราชการแผ่นดิน ฉะนั้นหลักธรรมาภิบาล ทั้ง 6 ข้อนี้ นักบริหารระดับสูงเทียบเท่าอธิบดี นักบริหารระดับ 10 ต้องแสดงความรับผิดชอบ สิ่งที่ใครก็ตามที่ทำในฐานะตัวเองเป็นหัวหน้า องค์กร คือ ระดับจังหวัดต้องมีผู้รับผิดชอบ ไม่ต้องโยนให้ลูกน้อง หรือ ใครก็แล้วแต่ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า อันนั้นไม่ใช่ดุลพินิจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในยุคการปฏิรูปประเทศไทย ต้องมีผู้รับผิดชอบ
“ที่เราเรียกร้องไป นายกรัฐมนตรี ตามหลักบริหารราชการแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ. ราชบัญญัติ 2534 ท่านมีอำนาจสั่งใครก็ได้ระดับ 10 – 11 เข้าไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทุกกระทรวงทบวงกรม ฉะนั้นมี 2 ประเด็น คือ าท่านจะใช้อำนาจด้วยตัวนายกรัฐมนตรีเอง หรือจะให้กระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกระทรวงมหาดไทย เพราะระดับ 10 สังกัดกระทรวงมหาดไทย ฉะนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจเต็มที่ตามระบบราชการและพระราชบัญญัติ ถ้านายกไม่ใช้ ก็ให้กระทรวงมหาดไทยใช้อำนาจสั่งย้าย หรือ สั่งสอบสวนทางวินัยร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรงก็ได้” นายคุ้มพงษ์ กล่าวว่า มีกรณีตัวอย่างเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เป็นการพิมพ์ผิด แต่กรณีนี้ไม่ใช่เป็นการพิมพ์ผิด ข้อความทั้งข้อความ เป็นการตั้งใจและเจตนาบนพื้นฐานทัศนคติที่เป็นไปอย่างข้อความ ไม่ใช่การพิมพ์ผิด และกระบวนการตรวจสอบอย่างใดๆ คนร่าง คนพิมพ์ คนลงเลขรับ เลขส่งหนังสือ รวมทั้งคนเซ็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุผลที่ได้ยินบ่อยๆ ในการปัดความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจหน้าที่ใลงชื่อในหนังสือ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ชั้นสูงมักบอกว่าไม่มีเวลาตรวจสอบ โดยเฉพาะเรื่องนี้เซ็นรับแล้วรีบไปธุระ จึงอยากเรียกร้องให้ทางราชการ ตรวจสอบว่าที่ผ่านมาตั้งแต่ย้ายมามีลักษณะอย่างนี้อีกหรือไม่ ซึ่งเอกสารทางราชการจังหวัด ที่รองผู้ว่าฯเซ็นแล้วไม่ได้ตรวจสอบ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image