สูตรอาหารต้นทุนต่ำสำหรับไก่งวง จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 4 มหาสารคาม

ในปัจจุบันถือได้ว่า ไก่งวงได้กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจทางเลือกใหม่ที่มีโอกาสและความเป็นไปได้ในการนำมาส่งเสริมพัฒนาให้เป็นอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรรายย่อยในชุมชน และภายใต้การส่งเสริมของศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 4 จนมีเกษตรกรที่เลี้ยงไก่งวงได้รวมกลุ่มจัดตั้งเป็นชมรมไก่งวงขึ้นถึง 6 ชมรม ประกอบด้วย ชมรมไก่งวงจังหวัดนครพนม ชมรมไก่งวงเมืองตักกสิลา ชมรมไก่งวงไทเลย ชมรมผู้เลี้ยงไก่งวงจังหวัดหนองบัวลำภู ชมรมไก่งวงหนองหารหลวงสกลนคร และชมรมไก่งวงจังหวัดมุกดาหาร

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 4 เป็นหน่วยงานในสังกัดกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ มีสถานที่ตั้งอยู่ที่ถนนมหาสารคาม-วาปีปทุม ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม โทรศัพท์ 0-4377-7107, 0-4377-7600 ปัจจุบันมีคุณชัชวาล ประเสริฐ เป็นผู้อำนวยการ

ในหลายบทบาทและหลายภารกิจของศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 4 แห่งนี้นับว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่งวงแก่เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบทั้ง 12 จังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

โดยสิ่งสำคัญที่ ผอ.ชัชวาลได้อธิบายถึงปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงไก่งวงให้ประสบความสำเร็จคือ ต้องมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับไก่งวง เพราะถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ที่เกษตรกรยังไม่คุ้นเคย และยังต้องมีเทคนิคการเลี้ยงการจัดการในหลายๆ เรื่องที่เกษตรกรจะต้องใส่ใจ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เกษตรกรต้องเรียนรู้ และแหล่งที่สามารถตอบสนองสามารถให้ข้อมูลได้อย่างเต็มร้อยคือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 4

Advertisement

องค์ความรู้ต่างๆ ที่ ผอ.ชัชวาลได้นำเสนอนั้นมีอยู่หลายเรื่องราว ซึ่งในที่นี้จะขอนำร่องด้วยข้อมูลการผลิตอาหารไก่งวงต้นทุนต่ำสำหรับเกษตรกรรายย่อย และในฉบับต่อๆ ไปจะได้มีองค์ความรู้ที่น่าสนใจจากผลงานศึกษาวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 4 มานำเสนออย่างต่อเนื่อง

 

ch6

Advertisement

ซึ่งในช่วงแรกนี้ ผอ.ชัชวาลได้ให้ข้อมูลถึงความต้องการอาหารของไก่งวงระยะต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ว่าทำอย่างไรจึงทำให้การเลี้ยงสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จ

โดย ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 4 กล่าวว่า รูปแบบการเลี้ยงและการจัดการอาหารไก่งวงที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายย่อยนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น

หนึ่ง ระยะแรกเกิด-4 สัปดาห์ ไก่งวงสามารถกินอาหารที่มีโปรตีน 21% ซึ่งเป็นอาหารไก่เล็กที่มีจำหน่ายทั่วไป ให้กินปริมาณ 30-50 กรัมต่อตัวต่อวัน

สอง ระยะอายุ 4-12 สัปดาห์ ใช้รำหรือข้าวเปลือกบดผสมกับอาหารไก่เล็ก โปรตีน 21% ในอัตราส่วน 1 : 4 ให้กินปริมาณ 80-100 กรัมต่อตัวต่อวัน แล้วเสริมด้วยพืชผัก ผลไม้ และสมุนไพรสีเขียวเพื่อลดต้นทุน

สาม ระยะอายุ 12-28 สัปดาห์ ไก่งวงสามารถกินอาหารผสมเองที่มีโปรตีน 14% หรือสูตรที่ 1 ให้กินปริมาณ 150-180 กรัมต่อตัวต่อวัน และในช่วงนี้ให้เลี้ยงปล่อยแบบอิสระหากินปลวกและแมลง เสริมด้วยพืชผักและสมุนไพร และน้ำหมักชีวภาพ 7 ชนิด

สี่ ระยะพ่อแม่พันธุ์ ระยะพักสามารถกินอาหารผสมเองที่มีโปรตีน 12% หรือสูตรที่ 2

ห้า ระยะให้ผลผลิตไข่ ใช้อาหารผสมเองที่มีโปรตีน 14% หรือสูตรที่ 3 ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ 7 ชนิด ให้กินปริมาณ 180-200 กรัมต่อตัวต่อวัน และควรปล่อยเลี้ยงอิสระในแปลงหญ้าอาหารสัตว์ ให้ได้แสดงพฤติกรรมการคุ้ยเขี่ยหากินพืชผัก สมุนไพร ผลไม้ และแมลงตามธรรมชาติ เพื่อเสริมโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ตลอดจนมีร่มเงาให้พักอาศัยในช่วงที่อากาศร้อนจัด

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าไก่งวงในแต่ละระยะนั้นจะมีสูตรอาหารที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 4 ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาขึ้น โดยสูตรอาหารดังกล่าว ผอ.ชัชวาลบอกว่า จะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก ไม่เกินกิโลกรัมละ 5 บาท และหากเกษตรกรมีการประยุกต์ โดยเน้นการใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นจะมีผลทำให้ต้นทุนต่ำลงไปกว่านี้ลงได้อีกมาก ซึ่งในส่วนของสูตรอาหารนี้เกษตรกรที่ต้องการผลิตสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 4 โดยตรง

สำหรับสูตรอาหารที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 4 ได้ศึกษาและส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปผลิตใช้นั้น ประกอบด้วยอะไรบ้างนั้น คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่นี่

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image