จิตแพทย์ติงกิจกรรมให้ 12 หมูป่ามุด ‘ถ้ำหลวงจำลอง’ เสี่ยงสะกิดแผลเก่า เหมือนจำลองการถูกข่มขืน

กำลังเกิดกระแสดราม่าอย่างหนักกับงานนิทรรศการ “ปฏิบัติการถ้ำหลวง วาระแห่งโลก” จัดโดยรัฐบาล ณ ลานไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ สยามพารากอน เมื่อวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา

ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมนั้นคือ การให้ 12 นักเตะเยาวชนทีมหมูป่าอะคาเดมี ที่เคยได้รับการช่วยเหลือจากปฏิบัติการช่วย 13 ชีวิตติดภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ได้ทำกิจกรรมเข้า ‘ถ้ำหลวงจำลอง’ ซึ่งต่อมาได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมนั้น

ด้านจิตแพทย์เด็กอย่าง พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ออกมาโพสเฟซบุ๊กแสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าว ผ่านเพจเฟซุบ๊ก “เลี้ยงลูกนอกบ้าน” ว่า

“ภายใต้รอยยิ้มร่า ไม่ได้หมายความว่าไม่มีบาดแผล

Advertisement

บาดแผลหลายบาดแผล มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

มองไม่เห็น ไม่ได้แปลว่าไม่มี

บาดแผลหลายบาดแผล

Advertisement

หายได้ ถ้าไม่ไปสะกิดซ้ำๆ”

 

การที่ทีมหมูป่าต้องเจอเรื่องยากลำบาก กระทบกระเทือนจิตใจ อาจไม่ใช่เรื่องที่ควรนำมาพูดถึงด้วยความสนุกสนาน เราไม่จัดเหตุการณ์จำลอง เอาไม้มาตีกันแรงๆ เพื่อการเรียนรู้ว่าเด็กที่ถูกกระทำรู้สึกอย่างไร เราไม่จัดเหตุการณ์จำลองการถูกข่มขืน เพื่อให้ผู้คนเรียนรู้ว่ามันเจ็บปวดแค่ไหน

เหตุการณ์คับขันในชีวิตคนอื่น มันอาจไม่ใช่เรื่องสนุกของพวกเค้า การสร้างถ้ำจำลอง โดยให้ทีมหมูป่าลองเข้าไปใหม่ ไม่แน่ใจว่าจะเกิดประโยชน์และพัฒนาอะไรให้กับพวกเค้าจริงๆ แต่อาจเสี่ยงซ้ำรอยสะกิดแผลเก่าๆ ของเด็กๆ หลายคน แผลเก่า ที่อาจมองไม่เห็นผ่านรอยยิ้ม

PTSD (post traumatic stress disorder) ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ และผ่านไปง่ายๆ (ไม่ได้แปลว่าในทีมจะมีใครเป็น)

มันบั่นทอนการใช้ชีวิต กระบวนการคิด และหลายครั้งก็เรื้อรังจนส่งผลเสียหาย คงจะดีถ้าคนจะมองประโยชน์และโทษที่จะเกิดกับเด็กๆ เหล่านี้มากกว่าความบันเทิงที่จะได้รับกับตัวเอง #หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน

ผู้ไม่แน่ใจว่าการมุดถ้ำจำลองของทีมหมูป่า เป็นประโยชน์… กับชีวิตใคร

พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร (แฟ้มภาพ)

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image