ต้อนรับ เทศกาล “ฮาโลวีน” ลองพิจารณา หลักการเกิด “ผี” ทางฟิสิกส์ กัน

ต้อนรับเทศกาล “ฮาโลวีน” มีบทความ “ทฤษฎีการเกิดผีทางฟิสิกส์” จาก https://sites.google.com/a/siamtechno.ac.th/thadal/ มาให้อ่าน

เรื่องนี้อาจจะถือเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ที่ผู้ศึกษา ระบุว่า มีการศึกษาโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์เข้ามาศึกษา

อย่างไรก็ตาม ที่ผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณา ประกอบไปด้วย

ผี เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถพิสูจน์ หรือตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือที่เชื่อถือได้ จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์ แต่ด้วยภาวะทางจิตใจ หลายคนก็อดกลัวไม่ได้ในยามวิเวกวังเวง พาให้คิด หรืออาจเห็นจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามกลางคืน เวลาผีปรากฏกายขึ้นต่อหน้าต่อตา แม้ว่าวงการวิทยาศาสตร์จะยังไม่ยอมรับเรื่อง ผีๆ และบางครั้งก็ปัดให้เป็นเรื่องราวของ ไสยศาสตร์ ไป ทว่านักวิทย์บางคน โดยเฉพาะฟิสิกส์ พยายามจะอธิบาย การเกิดของผี ในแง่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

Advertisement

ข้อเขียนเกี่ยวกับผี ที่พยายามจะอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ที่โด่งดังที่สุด เห็นที่จะเป็นฟิสิกส์แห่งการหลอกหลอน (The Physics of Haunting) ของ ดร.โดนัลด์ จี คาร์เพนเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาเรื่องผี เขาเคยวิเคราะห์ทางฟิสิกส์และรวบรวมข้อมูลจากรายงานทั่วโลก จนออกมาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผีๆ โดยระบุว่า ผี เป็นสิ่งที่มีในธรรมชาติ และชอบอยู่ในความมืด

ดร.คาร์เพนเตอร์ได้ศึกษาวิเคราะห์ทางฟิสิกส์การเกิด ผี โดยมีข้อสันนิษฐานว่า

1. อย่างแรกสุดกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ต้องสามารถใช้ได้กับภูติผีปีศาจ นั่นหมายถึง ผีก็อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของฟิสิกส์ ซึ่งเราถือว่าเป็นกฎสากลของธรรมชาติ

Advertisement

2. ผี ไม่ใช่เรื่องมายากล ไม่ใช่ปาฎิหาริย์ และไม่ใช้เรื่องนอกเหนือกฎธรรมชาติข้อใดๆ ทั้งสิ้น ตามที่สันนิษฐานไว้ในข้อ 1

3. ผี (Ghost), การหลอกหลอน (poltergeist) และ ดวงวิญญาณ (Soul) ล้วนเกิดขึ้นมาจากสาเหตุเดียวกัน แต่เป็นปรากฏการณ์ในรูปแบบต่างกัน

4. ผี (จากกฎข้อ 1 แล้ว) นับเป็น สิ่งที่มีตัวตน ควรจะมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นผีจากชาติใดๆ ก็ตาม

5. ในการปรากฏกายของผีโดยเฉลี่ยแล้วร่างของผีจะกินเนื้อที่เป็นปริมาณ ประมาณ 0.07 ลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นปริมาตรเฉลี่ยเท่ากับคนธรรมดาที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กิโลกรัม

ที่สำคัญสมมติฐานในการเห็นผี ดร.คาเพนเตอร์ตั้งเป็น “สแตนดาร์ต ไนท์ ไทม์ โกสต์” หรือ เอสเอ็นจี (Standard Night time Ghost : SNG) แยกไว้ 2 กรณี คือ

กรณีแรก เกิดขึ้นโดยตรงกับสมองของผู้ประสบเหตุอาจเกิดจากการรบกวนกระบวนการไฟฟ้าชีวเคมีในสมอง ทำให้ประสาทและระบบรับความรู้สึกเกิดความผิดเพี้ยน โดยเฉพาะในส่วนของมันสมองและไขสันหลัง (หรืออาจจะเรียกว่า “ประสาทหลอน” )หรือไม่ก็เกิดจากการกระตุ้นให้สมองเกิดภาพหลอนขึ้นเองโดยสิ่งเร้าภายนอกโดยอาจใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีขนาดพอ เหมาะยิงตรงไปยังสมองก็เป็นได้หรือเกิดการควบคุมสภาวะแวดล้อมบางอย่างซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์ความรู้สึก (ซึ่งเรียกว่า “ถูกควบคุมหรือถูกทำให้เกิดประสาทหลอน)

สรุปแล้วสมมติฐานข้อนี้ถือว่า ผีไม่มีอยู่ในโลกแต่ปรากฏการณ์ผีมีอยู่จริง ซึ่งจริงในที่นี้คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในสมองของผู้ประสบเหตุนั่นเอง

กรณีที่สอง ก็คือในทางตรงกันข้าม สรุปกันง่ายๆ ได้ว่า ผีเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่ประสาทหลอนหรือการควบคุมให้ประสาทหลอน

ทั้งนี้ ข้อมูลสนับสนุนสมมติฐานหลัง ก็คือกรณีที่ มีผู้เห็นผีพร้อมๆ กันในมุมมองที่แตก ต่างกัน แสดงให้เห็นว่าผีปรากฏตัวได้ด้วยการเปล่งโฟตอน (แสง) ออกมา ไม่ใช่ภาพหลอนที่สร้างขึ้นในสมองของผู้ประสบเหตุเหล่านั้น

การพบปะเห็นผีใช้ว่าจะไร้รูปแบบ เพราะตามข้อมูลที่ ดร.คาร์เพนเตอร์รวบรวมไว้ และ ระบุเป็น SNG นั้น บอกขั้นตอนการพบผีไว้ถึง 7 ข้อด้วยกัน

1. ผี ต้องปรากฎตัวในเวลากลางคืนเท่านั้น การปรากฎตัวแต่ละครั้งกินเวลายาวนานประมาณ 2 วินาทีถึง 10 นาที เสร็จแล้ว ต้องหายตัวไป แล้วจึงปรากฏกายขึ้นใหม่ได้อีก

2. ผี สามารถเปล่งแสงสว่าง เรืองแสงในตัวเองได้ โดยต้องมีกำลังส่องสว่าง อยู่ในช่วงความเข้มแสงประมาณ 1-20 แรงเทียน จึงจะทำให้สายตามนุษย์สามารถมองเห็นได้

3. การปรากฏตัวของ ผี จะทำให้บรรยากาศโดยรอบมีอุณหภูมิลดลงอย่างเฉียบพลัน เนื่องจาก ผี ต้องดึงเอาพลังงานความร้อน ในบรรยากาศอย่างน้อย 60 จูลส์ เข้าไปสะสมทำให้ตัวเองเปล่งแสงออกมาได้

4. การปรากฏกายของ ผี ต้องมีเครื่องนุ่งห่มด้วย และมักปรากฏในลักษณะเป็นภาพรางๆ โปร่งแสงมองทะลุได้บ้าง มีขนาดเล็กกว่าคน ธรรมดาทั่วไป

5. ผี จะปรากฏในสภาพที่หันหน้าเข้าหาผู้พบเห็นเสมอ

6. ผี มักปรากฏตัวในร่างเหมือนมนุษย์ (ประมาณ 90% ของรายงาน) มีน้อยมากที่ปรากฏตัวในร่างสัตว์

7. มักจะมีเสียงหรือกลิ่นเกิดขึ้นพร้อมกับการปรากฏตัวของ ผี ในแต่ละครั้ง

หากไม่เข้าข่ายใน 7 ข้อนี้ ดร.คาร์เพนเตอร์ชี้ว่า อาจจะไม่ใช่ “ผี “ อย่างที่เข้าใจได้ยังมีผู้กังขาขอสันนิษฐานของ ดร.คาร์เพนเตอร์ว่า “ผี” ใช้พลังอะไรกระตุ้นอิเล็กตรอนของบรรยากาศ จนทำให้เกิดการคายโฟตอน หรือแสง ออกมา ซึ่งผีมีพลังงานในตัวเอง หรือมีวิธีนำพลังงานจากแหล่งอื่นมาใช้ ยังไม่มีผู้ใดศึกษาและค้นหาผีในทางวิทยาศาสตร์ อย่างจริงจัง อาจเป็นเพราะอยู่นอกเหนือความสามารถของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้ที่เห็นก็ได้แต่ยืนยันว่ามี ส่วนผู้ไม่เห็นกับตา หรือว่าไม่เชื่อก็ปฏิเสธว่าเป็นเรื่องไร้สาระ หรือถ้ามองอย่าง วิทยาศาสตร์ สามารถอธิบายแบบกว้างๆ ได้ว่า เป็นแค่พลังงาน หรือสสารอย่างหนึ่ง

ผี ในทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ไทยเช่น ศ.ดร.นพ.เทพพนม เมืองแมน กล่าวว่า ผีมีจริงและแพ้คลื่นโทรศัพท์มือถือ โดยกล่าวอ้างถึงการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษว่า ผีเป็นพลังงานในลักษณะที่คล้ายพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งปัจจุบันนี้การใช้โทรศัพท์มือถือเป็นไปอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้ผีซึ่งเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นสั้นปรากฏตัวน้อยลง เพราะไหลไปรวมในบริเวณที่ๆมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน้อย สอดคล้องกับความ

เห็นของนักวิทยาศาสตร์ไทยอีกคน คือ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล ว่า ผีเป็นพลังงานแม่เหล็ก ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง แต่การที่ใช้โทรศัพท์มากขึ้นนั้นไม่ถือว่าเป็นการไล่ผี แต่เป็นการถ่ายเทคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าไปยังอีกจุดหนึ่งมากกว่า และในทางกลับกันการใช้มือถือซึ่งมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาก อาจทำให้เห็นภาพต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งไม่คิดว่า เป็นผีเพราะมนุษย์มีความรู้ในการพิจารณา การถ่าย ภาพหรือวิดีโอแล้ว มีภาพหรือเงาที่อธิบายไม่ได้ปรากฏนั้น ในอนาคตก็จะเห็นมากขึ้น เพราะวิทยาการล้ำหน้า เครื่องถ่ายภาพสามารถจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้มาก

ผี เป็นความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์แต่ครั้งโบราณทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ ตั้งแต่ยุคก่อนจะมีศาสนา แม้ปัจจุบันนี้ ความเชื่อเรื่องผีจะเลือนหายไปบ้างแล้ว แต่ก็มีผู้คนส่วนมากที่เชื่อในเรื่องผีและสิ่งลี้ลับแม้ในประเทศที่เจริญ แล้วก็ตาม

ผี ในคติความเชื่อของคนไทยจะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คือ ผีดี และ ผีร้าย ผีดี คือบรรพบุรุษที่คอยคุ้มครองดูแล แต่ถ้าไม่เคารพไม่บูชา ไม่เซ่นสวรวง ก็อาจให้โทษได้เช่น กัน เช่น ผีบ้านผีเรือนเป็นต้น ส่วนผีร้าย คือ ผีที่คอยรังควาญ ไม่มีประโยชน์ เช่น ผีปอบ ผีกระสือ เป็นต้น

ผี อาจจะมีมาได้ในหลายลักษณะ แต่ส่วนมากมักจะปรากฏในรูปของอดีตมนุษย์ หรือมีลักษณะบางส่วนที่ค่อนข้างคล้ายกับมนุษย์ ผู้ประสบเหตุการณ์เช่นนี้มักมีความกลัวที่ฝังใจ และเชื่อว่าการที่เจอผีนี้ จำเป็นที่จะต้องทำพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อความสบายใจ หรือเพื่อความปลอดภัย เช่น การกรวดน้ำ ทำพิธีสะเดาะห์เคราะห์ ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ทำพิธีส่งวิญญาณ ฯลฯ ตามแต่ความเชื่อของแต่ละท้องที่ หรือ แต่ละบุคคล

ในทางจิตวิทยา อธิบายว่า การที่มนุษย์กลัวผีเกิดจากการที่กลัวบรรพบุรุษ

คำอธิบายของ เซอร์โอลิเวอร์ อาจมีส่วนถูกอยู่บ้าง และดูจะสอดคล้องกับความคิดเห็นของคนทั่วไป ที่เชื่อว่า คนเมื่อตายแล้ว จะต้องกลายเป็นผีจนกว่าจะได้ไปเกิดใหม่ หรือไปสู่ภพใหม่ ส่วนปรากฏการณ์ ที่เรียกกันว่า ผีหลอก นั้น คนส่วนมากเชื่อว่า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ผู้ที่ตายไปยังไม่ยอมจากโลกไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เช่นได้รับความกดดันทางอารมณ์อย่างรุนแรง เป็นต้นว่า ความเจ็บปวด ความคับแค้นใจ อิจฉาหรือห่วงใยอาวรณ์ ที่ท่วมล้นจิตใจก่อนที่ผู้ตายจะจากโลกไป เช่นเราเชื่อว่า คนที่ตายอย่างปวดร้าว กะทันหัน หรือคนที่มีห่วงมีใยอยู่เบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็น ผีตายโหง ผีตายทั้งกลม หรือ ผีที่เกิดจาก แรงอาฆาต ความแค้น ความไม่เป็นธรรมต่างๆ

ข้อสนับสนุนความเห็นดังกล่าวให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ได้แก่ สถานที่ที่พบเห็นปรากฏการณ์ลึกลับที่น่ากลัวนั้น มักจะเป็นสถานที่ที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือบริเวณที่มีการตายเกิดขึ้นอย่างทารุณ เช่น ฆาตกรรม อัตวิบาตกรรม หลุมศพโบราณ สนามรบ หรือ วินาศภัยที่มีคนตายมากมาย ในบ้านเราเอง เรื่องของผีอาจถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ล้วนคุ้นเคยได้ยินได้ฟังเป็นประจำ

โดยเฉพาะสมัยก่อนที่บ้านเมืองยังไม่มีความเจริญทางวัตถุ ยังเต็มไปด้วยป่าไม้ทุ่งนา ที่เป็นธรรมชาติเช่นนั้นมานานนับร้อยๆปี แม้ในปัจจุบันนี้ก็มีหนังสือ และภาพยนต์เรื่องผี และเรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติธรรมดาให้เห็นอยู่มากมาย ปรากฏการณ์เบื้องหลังความตายที่อธิบายว่าเห็นภาพวิญญาณของผู้ตายยังเป็นที่ถกเถียงกันมาก เพราะความเชื่อของคนทั่วไป ไม่ว่าจะถือลัทธิศาสนาใดก็ตาม มักจะถือมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ และวิญญาณก็ไม่ใช่ผี รูปที่เป็นผีนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แต่ ภาพร่างของมนุษย์ มีได้ทั้งผีในรูปของสัตว์และต้นไม้ หรือแม้แต่สิ่งไม่มีชีวิต

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image