อดีตรองปลัด ยธ.เตือนเด็ก ‘ไม่ควรรีบแจ้งความ’ หลังทีมจับกระทงอ้างญี่ปุ่น หวั่นคดีพลิก

จากกรณี “น้องอ้อม” เด็กหญิงวัย 15 ปี ชาวจ.นครราชสีมา ถูกตัวแทนลิขสิทธิ์ล่อซื้อจับกุมสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากประดิษฐ์กระทงตัวการ์ตูนดังขาย เพื่อหารายได้พิเศษ ก่อนจะโดนเรียกค่าปรับจำนวน 50,000 บาท กระทั่งต่อรองจนเหลือ 5,000 บาทนั้น ซึ่งต่อมา บริษัท ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะตัวแทนลิขสิทธิ์ ของบริษัท San-X ประเทศญี่ปุ่น ชี้แจงว่า ไม่ได้มอบหมายให้ผู้ใดทำการจับลิขสิทธิ์ผิดกฎหมายแต่อย่างใด กระทั่ง ทีมจับกระทงที่อ้างว่าเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์การ์ตูนดังออกมาชี้แจง โดยอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากประเทศญี่ปุ่น ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

จากการกล่าวอ้างดังกล่าว ผู้ใช้เฟซบุ๊ก LegalCounse Svangmek ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าหนุ่มตัวแทนลิขสิทธิ์ได้รับมอบอำนาจจริง คดีจะพลิก ดังนั้น แนะนำให้เด็กและผู้ปกครองที่เสียหาย ปรึกษาทีมนักกฎหมายให้รอบคอบก่อน ตัดสินใจดำเนินคดี เนื่องจากกระแสมาแล้วก็ไป แต่คดีความจะถูกดำเนินการไปอีกเป็นปีๆ

“_ ถ้าเขาได้รับมอบอำนาจมาจริง รูปคดี
จะเปลี่ยนไป เพราะเขามีพยานหลักฐาน
ว่าน้องคนขาย ได้ประกาศขายกระทงที่
มีรูปตัวการ์ตูนอยู่ก่อนแล้ว ทั้งใบมอบ
อำนาจ ทั้งภาพการโพสต์ของน้องผู้หญิง
และ มีการร้องทุกข์ และพาตำรวจไปจับ
ด้วยในขณะล่อซื้อ จะเห็นว่าเขาได้
ทำการโดยมีพยานหลักฐาน #และแจ้ง
#เจ้าหน้าที่บ้านเมืองให้ไปดำเนินการ
#ให้ อีกทั้ง ผู้ที่เจรจาก็เป็นผู้ปกครอง
ของน้องคนที่ขาย ไม่ได้เจรจากับน้อง
คนขายโดยตรง และเป็นการเจรจากันที่
สถานีตำรวจต่อหน้าตำรวจ

รูปการณ์แบบนี้ ถ้าจะไปแจ้งความว่าเขา
กรรโชกทรัพย์ #ผมอยากให้คิดให้ดีๆ
#ปรึกษานักกฎหมายจริงๆหลายๆคน
เพราะกระแสมาแล้วก็ไป แต่คดีความจะ
ถูกดำเนินการไปอีกเป็นปีๆ

Advertisement

วันนี้ แม้ไม่มีใครฟังคนจับลิขสิทธิ์เลย
ว่าเขามีพยานหลักฐานอะไร แต่ถ้าคดี
ถึงศาลแล้ว #ศาลจะดูแต่พยานหลัก
#ฐานเท่านั้น กระแสทั้งหลายในวันนี้
เอาไปใช้ในศาลไม่ได้เลยสักนิดเดียว

อย่างที่ผมเคยบอกว่าเป็น กรรโชก หรือ
เจรจาเพื่อยุติคดี ให้คำนวณดีๆ ผิด
พลาดอะไรขึ้นมา #ให้ถามตัวเองว่าคน
#ที่จะเดือดร้อนจริงๆคือใคร และสุดท้าย
จะมีใครอยู่ช่วยเรากี่คน _”

จากความคิดเห็นของชาวเน็ตคนดังกล่าว นายธวัชชัย ไทยเขียว อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เห็นด้วยกับทรรศนะกับข้อเขียนนี้ ถ้าข้อเท็จจริงตามนั้น เด็กก็ไม่ควรรีบแจ้งข้อกล่าวหากลับครับ ควรปรึกษานักกฎหมายหรือยุติธรรมจังหวัด หรือสภาทนายความจังหวัดในพื้นที่นั้นเสียก่อน

Advertisement

แต่อย่างไรผมก็ยังคงยืนยันในมุมมองเดิม หากเห็นว่าผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและทำเพื่อช่วยเหลือตนเองเป็นครั้งคราวตามเทศกาลแล้ว ให้เริ่มที่ว่ากล่าวตักเตือน และให้คำแนะนำวิธีการที่ถูกต้องเป็นเบื้องต้นก่อน และที่สำคัญตั้งแต่เริ่มแจ้งข้อกล่าวหา กรณีเป็นเด็กหรือเยาวชนให้ดำเนินการทำตามกฎหมายวิธีพิจารณาความเด็กและเยาวชนแห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ อย่างเคร่งครัดครับ

อีกอย่างตัวแทนบริษัทระหว่างผู้ทรงสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ในสินค้ากับตัวแทนบริษัทฯ ฝ่ายปราบปรามผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมาจากบริษัทแม่เดียวกัน ควรหารือร่วมกันก่อนดำเนินมาตรการใดๆในประเทศไทยก่อนดีหรือไม่ เพราะมันแปร่งๆ ในมิติการบริหารจัดการ ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ควรเข้ามาจัดการเชิงระบบดีกว่าทำแบบวาระพิเศษหรือไฟไหม้ฟางครับ

อนึ่ง ถ้าหากจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเช่นค่าจ้างทนายความ เงินค่าปล่อยตัวชั่วคราว หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่จะเกิดขึ้น ในกรณีที่เด็กไม่สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมได้ตามหลักเกณฑ์ก็สามารถขอเงินช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมผ่านยุติธรรมจังหวัดได้ครับ

ข้อแนะนำจากข้าราชการเกษียณที่ผมมีประสบการณ์ฝากให้พิจารณาและตรองดูครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image