สรุปดราม่า นักเขียนนิยายออนไลน์ ที่มา #แบนเด็กควรบริโภคแต่น้อย พุ่งติดเทรนด์ทวิต

สรุปดราม่า นักเขียนนิยายออนไลน์ ที่มา #แบนเด็กควรบริโภคแต่น้อย พุ่งติดเทรนด์ทวิต

กำลังขึ้นเทรนด์ #แบนเด็กควรบริโภคแต่น้อย และ #แบน…. ที่ไต่ขึ้นอันดับ 2 และ 3 ในทวิตเตอร์ ทำให้หลายคนต่างสงสัยว่า ประเด็นดราม่าดังกล่าวนั้นคืออะไร

ประเด็นดราม่าดังกล่าว เป็นเรื่องนักเขียนนิยายรายหนึ่ง ที่ใช้นามปากกาที่กำลังติดเทรนด์ในทวิต ที่ผลิตงานเขียนลงในแอพพลิเคชั่นอ่านนิยายออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะการลงนิยายเป็นแบบข้อความแชท นักเขียนบางรายก็เขียนเป็นเนื้อหาบรรยาย ลงในแอพพลิเคชั่นดังกล่าว

แอพพลิเคชั่นนิยายเช่นนี้ มีหลายแอพพลิเคชั่น มีนิยายอีกหลายเล่ม ที่ประสบความสำเร็จได้ตีพิมพ์ และมีนักเขียนหลายคน ที่เข้าไปเขียนก่อนตีพิมพ์เป็นเล่ม บางแอพพลิเคชั่น มีลักษณะต้องจ่ายเงินเป็นตอนๆ เพื่อเข้าไปอ่านนิยายที่ล็อกเอาไว้ บางแอพพลิเคชั่น ให้อ่านฟรี หากถูกใจมีการบริจาคเงินด้วยการซื้อไอเท็มต่างๆ ให้กับนักเขียน

Advertisement

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลายปี 63 ต่อเนื่องถึงต้นปี 64 ประเด็นดราม่าดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อ แอพพลิเคชั่นนิยายแอพพ์หนึ่ง ได้ประกาศออกมาว่า มีนักเขียนที่ทำรายได้ผ่านแอพพลิเคชั่น ถึง 875,000 บาท ในเดือนเดียว คือนักเขียนรายดังกล่าว ที่มีผลงานที่เรียกว่า แฟนฟิค โดยนำเอาอิมเมจของ หวังอี้ป๋อ และ เซียวจ้าน นักแสดงชื่อดังจากปรมาจารย์ลัทธิมาร มาเป็นแรงบันดาลใจในการเขียน ซึ่งแม้จะไม่ได้ใช้ชื่อจริง แต่มีการใช้ภาพ และลักษณะของทั้งคู่ ทั้งยังมีการติดเหรียญ หรือต้องซื้ออ่านเป็นตอนๆ เรื่องนี้ นับว่าผิดกฎ ที่นำศิลปินมาหารายได้ ทั้งยัง ผิดเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะศิลปินแต่ละคน ก็มีลิขสิทธิ์ของตัวเอง รายได้ไม่เข้าศิลปินแต่ถูกนำมาซื้อขาย นำมาซึ่งการขุดประวัติของนักเขียน ว่ามีไลฟ์สไตล์ที่ลักชัวรี่ ซึ่งเธอระบุว่า ได้ออกจากงานมาเพื่อเขียนนิยายเพียงอย่างเดียว

เรื่องดังกล่าว ทำให้แฟนคลับหลายคน ไม่พอใจ และก่อให้เกิดกระแสในโลกออนไลน์ ว่าแฟนฟิค ไม่ควรติดเหรียญ และศิลปินคนอื่น ที่ถูกนำมาเป็นแรงบันดาลใจในนิยายต่างๆ ก็ไม่มีใครติดเหรียญ เพราะถือว่าทำผิดกฎ และไม่ควรนำศิลปินมาสร้างรายได้ ขณะที่ แอพพลิเคชั่นเอง ก็ไม่ได้ออกมารับผิดชอบให้ดีพอ ทั้งยังโปรโมตนักเขียนที่ทำผิดกฎ ทำให้นักเขียนหลายคน ย้ายไปเขียนนิยายลงอีกแอพพลิเคชั่นแทน

Advertisement

ก่อนที่ นักเขียนคนดังกล่าว จะออกมาขอโทษ ปิดนิยายดังกล่าวในแอพพลิเคชั่น ประกาศว่าจะนำรายได้ไปบริจาค ทั้งคืนเหรียญให้กับผู้อ่านที่กดซื้อไปครึ่งหนึ่ง และย้ายไปเปิดอ่านฟรี ในแอพพลิเคชั่นอื่น และแต่งนิยายอื่นๆ ในรูปแบบ แฟนฟิค (ใช้ภาพลักษณ์ศิลปิน) ให้อ่านฟรี ส่วนนิยายอื่นๆ ที่ไม่ได้นำเอาภาพลักษณ์ของศิลปินมาใช้ ก็ยังมีการติดเหรียญให้อ่าน ทั้งนี้ นิยายแฟนฟิค ที่แต่งเสร็จแล้ว หลายเล่ม ก็มีการประกาศรวมเล่ม บางเล่มนำเงินไปบริจาคให้กับมูลนิธิต่างๆ

ชนวนเหตุ ที่ทำให้ประเด็นดังกล่าว ออกมาเป็นกระแสอีกครั้ง เนื่องจากเธอเปิดเผยผ่านไลฟ์สดว่า ได้นำเอานิยายเรื่อง “เด็กควรบริโภคแต่น้อย” ที่เธอนำภาพลักษณ์ของ หวังอี้ป๋อ และ เซียวจ้าน มาใช้ในตอนแรก ไปปรับใหม่เพื่อจะไปสร้างเป็นละคร ทำให้หลายคนรู้สึกไม่พอใจว่า นักเขียนรายดังกล่าว ไม่หยุดพฤติกรรมเดิม โดยการนำเอาศิลปินมาใช้สร้างรายได้อีก แม้จะเปลี่ยนรูปแบบไปก็ตาม เพราะตั้งแต่แรก เป็นการใช้ภาพของศิลปินมาเรียกกระแสอยู่แล้ว

หลายคนออกมาติดแฮชแท็ก #แบนเด็กควรบริโภคแต่น้อย และ #แบน…. และเรียกร้องให้ผู้จัดที่จะผลิตซีรีส์ดังกล่าว พิจารณาให้รอบคอบก่อน ทั้งยังพูดว่า ไม่อยากให้มีการสร้างรายได้ และเรียกร้องให้เลิกสนับสนุนการใช้ศิลปินเป็นบันไดทำรายได้อย่างมหาศาลนี้ อีกทั้งนำเอา คำพูดที่นักเขียนรายดังกล่าวได้โพสต์ไว้ว่า “จะไม่มีการหาเงินจากอิมเมจของศิลปินท่านใดอีกเลย” มาโพสต์ซ้ำ ทั้งยังวิจารณ์ว่า ที่นำเอาอิมเมจของศิลปินมาใช้ ก็เพราะทำให้ยอดคนอ่านมากกว่าใช่หรือไม่ เพราะยอดของเรื่องที่แต่งโดยใช้อิมเมจศิลปินนั้น มีจำนวนมากกว่านิยายที่ไม่ได้ใช้ หลายเท่า

โดยก่อนหน้านี้ เธอเคยติดแฮชแทก #Save…. ลงในแอคเคาท์ต่างๆ สร้างความแปลกใจให้แฟนคลับ และตอนนี้ ได้ปิดนิยานเรื่องดังกล่าว รวมถึงแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ในแอคเคาท์นามปากกานี้ เป็นที่เรียบร้อย และยังมีแฟนคลับจำนวนหนึ่ง นำเรื่องดังกล่าวไปโพสต์ลงในแอพพ์ เว่ยป๋อ สื่อสังคมออนไลน์ดังของจีนด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image