โซเชียลชม! อัสสัมชัญ นครศรีธรรมราช เปิดพื้นที่รับฟังน.ร. ปม ‘ชุดไปรเวต’ เชื่อ ร.ร.เป็นที่เรียนรู้

อัสสัมชัญ นครศรีธรรมราช เปิดพื้นที่รับฟังน.ร. ปม ‘ชุดไปรเวต’ เชื่อสังคมเปลี่ยน ต้องแลกเปลี่ยนวิถีประชาธิปไตย

เป็นโพสต์ที่โลกออนไลน์ ให้ความสนใจไม่น้อย เมื่อ ภราดาคฑาวุธ สิทธิโชคสกุล ที่ปรึกษาผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียน อัสสัมชัญนครราชสีมา ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เล่าเรื่องการจัดการกับความคิดเห็นของนักเรียนในโรงเรียน ที่ต้องการใส่ชุดไปรเวตไปเรียน โดยระบุว่า

“โรงเรียนเป็นสถานที่สำหรับการเรียนรู้และปลอดภัยสำหรับนักเรียนทุกคน
ท่ามกลางกระแสสังคมที่เปลี่ยนไป ความคิดเห็นที่หลายหลาก และข้อมูลต่างๆแลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็วทันใจ
2 วันนี้มีการรณรงค์ในการใส่ชุดไปรเวตของนักเรียนในทั่วทุกภูมิภาค ไม่เว้นแม้แต่โรงเรียนอัสสัมชัญ นครราชสีมา หลังจากได้สอบถาม หารือ และรับฟังเหตุผลจากนักเรียนที่ใส่ชุดไปรเวตมาแล้ว จึงตัดสินใจเปิดรับฟังความคิดเห็นอย่างเสรีจากนักเรียน ม.ปลายทุกคน อย่างเป็นทางการผ่านทางวิถีประชาธิปไตย โดยมีข้อสรุปจากความคิดเห็นและการตัดสินใจของนักเรียนดังต่อไปนี้

1.นักเรียนส่วนใหญ่ประมาณ 80% ยังคงให้ความสำคัญกับชุดนักเรียนมากกว่าชุดไปรเวต
2.นักเรียนส่วนใหญ่ประมาณ 60%เสนอให้โรงเรียนพิจารณาในการทดลองใส่ชุดไปรเวตบางวันในแต่ละสัปดาห์
3.นักเรียนที่มีความคิดเห็นเป็นอย่างอื่น ยอมรับ ในเสียงส่วนใหญ่จากการเลือกของพวกเขาเอง

Advertisement

#ข้อคิดและข้อค้นพบที่ได้
1.ผมเชื่อว่า นี่ไม่ใช่เป็นกิจกรรมธรรมดา แต่นี่เป็นประสบการณ์ของชีวิตของพวกเขา “พวกเราต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน” ตามหลักเหตุและผล และตามวิถีทางประชาธิปไตย
2.ผู้บริหาร และครู ได้รับฟังความคิดเห็นจากนักเรียนโดยตรงซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วย ”ความเคารพซึ่งกันและกัน” ด้วยการเปิดใจ และรับฟังอย่างตั้งใจ พร้อมที่จะพูดคุยด้วยเหตุและผล
3.เมื่อนักเรียนได้ตัดสินใจและร่วมกันพิจารณาด้วยกัน พวกเขาจะ “ยอมรับซึ่งกันและกัน”และ “เคารพกติกาที่มาจากพวกเขาด้วยกันเอง”
4.ถึงแม้ว่าจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมลง “ทุกคนก็เป็นเพื่อน เป็นนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ นครราชสีมา เดียวกัน”
5.นักเรียน ครู และผู้บริหารต่างได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุย และถกประเด็น เพื่อหาข้อเสนอไปพร้อมกัน และนี่แหล่ะคือ “สังคมแห่งการเรียนรู้” อย่างแท้จริง

#เพียงผู้ใหญ่เปิดใจรับฟังและเข้าอกเข้าใจ
#เพียงเด็กใช้เหตุผลและวิถีทางที่ถูกต้อง
#เราจะได้สังคมที่ผู้ใหญ่และเด็กจับมือเดินเคียงข้างไปด้วยกัน”

โพสต์ดังกล่าว มีคนแชร์ออกไปหลายพันครั้ง และร่วมแสดงความคิดเห็นถึงนโยบายการแต่งชุดนักเรียน และชุดไปรเวตของนักเรียน ที่อยากให้ค่อยเป็นค่อยไป โดยหลายคนต่างชื่นชม ที่โรงเรียนเปิดพื้นที่ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image