ชาวเน็ตจับโป๊ะ ไทยรู้สู้โควิด เนียนเพิ่มประสิทธิภาพซิโนแวค ไม่ตรงเอกสาร WHO

เพจไทยรู้สู้โควิด เนียนเพิ่มประสิทธิภาพป้องกัน ซิโนแวค จาก 51% เป็น 84% ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับเอกสารของ WHO ก่อนที่จะลบแก้ไขข้อมูลใหม่ โดยไม่ชี้แจง

จากกรณีที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกหนังสือรับรองวัคซีนซิโนแวค จากจีน โดยระบุว่าซิโนแวคเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย เก็บรักษาง่าย และใช้ทรัพยากรน้อยในการขนส่งจัดเก็บ โดยพบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการแสดงอาการที่ 51%

ต่อมาแฟนเพจเฟซบุ๊ก ไทยรู้สู้โควิด ที่มีผู้ติดตามกว่า 2.7 ล้านคน ได้นำหนังสือรับรองวัคซีนซิโนแวคมาโพสต์ แต่กลับใส่ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ตรงกับในเอกสารจากทาง องค์การอนามัยโลก โดยระบุว่า

“ประสิทธิภาพการป้องกันอยู่ที่ 51%-84% (ของอินโดนีเซีย ผลทดสอบในโลกจริงอยู่ที่ 94%)”

ทำให้ชาวโซเชียลที่เห็นข้อมูลเข้ามาทักท้วง และสอบถามเพจกันในคอมเมนต์อย่างมากมาย เรื่องตัวเลขเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มมาดังกล่าว เนื่องจาก ประสิทธิภาพการป้องกันอยู่ที่ 84% ไม่มีอยู่ในเอกสาร มีเพียงตัวเลข ประสิทธิภาพในการป้องกันอยู่ที่ 51% เท่านั้น

Advertisement

อย่างไรก็ตามต่อมา เพจได้มีการแก้ไขข้อมูลตัวเลขกลับมาเป็น 51% โดยไม่ได้มีการชี้แจงข้อความเดิมแต่อย่างใด

โดยข้อมูลเดิมระบุว่า

Advertisement

“WHO รับรอง Sinovac แล้ว – ประสิทธิภาพการป้องกันอยู่ที่ 51%-84% (ของอินโดนีเซีย ผลทดสอบในโลกจริงอยู่ที่ 94%) – ป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิตได้ 100% – เชื่อได้ว่า สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุได้ และไม่ได้มีความแตกต่างเรื่องผลข้างเคียงระหว่างกลุ่มอายุน้อยกับสูงอายุ (แต่ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่มาก เพราะคนแก่เข้าร่วมการทดลองน้อย จึงทำให้ใช้เวลาพิจารณานาน และขอให้ประเทศต่างๆที่ใช้ ช่วยส่งข้อมูลของผู้สูงอายุมาเพิ่ม) WHO ชมว่า ข้อดีของ Sinovac คือ เก็บง่าย (ไม่ต้องใช้ความเย็นสูง ตู้เย็นธรรมดาก็ใช้ได้ และเก็บได้ถึง 2 ปี) และยังบอกว่า รับรอง Sinovac แล้วนะ รีบไปเข้าร่วม COVAX เลย ประเทศต่างๆ จะได้รับวัคซีนมากขึ้น”

สำหรับโพสต์ใหม่ได้ตัดประสิทธิภาพการป้องกันโดยอ้างผลทดสอบในโลกจริงอยู่ที่ 94 เปอร์เซ็นต์ออก

หลังการแก้ไขดังกล่าว  ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบางรายเข้าไปชื่นชมที่แอดมินเพจยังแก้ไข อาทิ หมออั้ม นพ. อิราวัต อารีกิจ ที่โพสต์ข้อความระบุว่า “ขอบคุณที่แอดมินแก้ไข % ประสิทธิภาพการป้องกันให้ครับ อย่างน้อยยังมีสปิริต “ ขณะที่บางคนแนะนำว่า การแปลไม่ควรใส่เหตุผลส่วนตัวเข้าไป ไม่มีตัวเลข 51%-84% รวมถึงควรแปะลิงก์จาก WHO  ด้วย  

 

โพสต์แรกก่อนการแก้ไข
โพสต์ที่แก้ไขแล้ว
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image