อ.เจษฎ์ ไขข้อข้องใจ ดวงอาทิตย์ 4 ดวง ปรากฏการณ์ซันด็อก

อ.เจษฎ์ ไขข้อข้องใจ ดวงอาทิตย์ 4 ดวง ปรากฏการณ์ซันด็อก

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน เพจ “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์” ของนายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้แชร์ภาพและคลิปของบัญชีเฟซบุ๊ก “Nueng Saksit” ที่เสมือนมีดวงอาทิตย์ 4 ดวง ซึ่งตั้งคำถามว่ามันคือปรากฏการณ์อะไร

โดยเพจอ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ แชร์มาพร้อมกับเขียนอธิบายว่า อันนี้เรียก ปรากฏการณ์ Sun Dog หรือสุนัขของพระอาทิตย์ ครับ…

เป็นปราฏการณ์ธรรมชาติที่เห็นได้เรื่อยๆ ในวันที่เมฆชนิดที่มีเกล็ดน้ำแข็งปะปนอยู่เยอะ จึงทำให้แสงอาทิตย์สะท้อนเป็นวงกลม เหมือนพระอาทิตย์ทรงกลด พระจันทร์ทรงกลด ครับ

Advertisement

เอาความรู้เรื่อง ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) จากเพจ Sci Math มาให้อ่านกันนะครับ

(บทความ) ปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง
โดย : ณัฐดนัย เนียมทอง

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา (ธันวาคม 2560) พบภาพข่าวการเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวงในสวีเดน ทำให้อยากจะนำเสนอเรื่องปรากฏการณ์นี้ให้ทุกคนได้อ่านกัน

ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวง ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือตื่นเต้นอะไร เพราะจริงๆ ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย เช่น ตอนที่เราอยู่บนเครื่องบิน ในขณะที่เครื่องบินกำลังทะยานอยู่ในท้องฟ้า ซึ่งเรามักได้ยินชื่อเรียกสั้นๆ ของปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) ด้วยเหตุผลที่ว่าลักษณะแถบแสงที่เกิดขึ้นทั้งทางซ้ายและขวา ราวกับเป็นสุนัขข้างกายเจ้านายไม่หนีห่าง บ้างก็เรียกว่าดวงอาทิตย์จำลอง มีชื่อทางการว่า พาร์ฮีเลีย (Parhelia)

#ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) เกิดขึ้นได้อย่างไร

นักวิชาการด้านดาราศาสตร์ให้ข้อมูลว่า ปรากฏการณ์ซันด็อกนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกเพียงเท่านั้น

ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติตามหลักการของการหักเหของแสงอาทิตย์ ผ่านผลึกน้ำแข็งรูปแผ่นหกเหลี่ยมในกลุ่มก้อนของเมฆ ซึ่งมักอยู่ในกลุ่มเมฆชั้นสูงที่เรียกว่า “เซอร์รัส” (Cirrus) ผลึกน้ำแข็งหกเหลี่ยมที่ว่าจะมีด้านกว้างขนานกับแนวระดับ โดยมีความสูงจากพื้นดินราว 10 กิโลเมตร

เมื่อแสงทำมุมกับผลึกน้ำแข็งของเมฆที่ 22 องศา โดยเมื่อแสงอาทิตย์สะท้อนก็จะทำให้เกิดการสะท้อนเป็นคู่ในแนวระนาบขนานกับพื้นดิน แต่ดวงที่เป็นดวงสะท้อนจะมีลักษณะบิดเบี้ยวเป็นแค่กลุ่มก้อน มีแสงสีแดงไล่ไปจนถึงสีส้มจางๆ

#เกิดขึ้นในช่วงไหน
ซันด็อก (Sun Dog) มักเกิดในช่วงดวงอาทิตย์ใกล้ขอบฟ้า นั่นก็คือช่วงพระอาทิตย์ขึ้นกับพระอาทิตย์ตก และพบมากในฤดูหนาว ส่วนใหญ่จะมีรายงานข่าวพบในต่างประเทศโซนประเทศที่มีภูมิอากาศเย็นมากกว่าประเทศไทย

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นเป็นสำคัญได้ว่า ตัวแปรสำคัญนั่นคือลักษณะของแสงหรือลักษณะการหักเหของแสงที่ส่องเข้าไปยังผลึกน้ำแข็ง

ซึ่งจริงๆ แล้ ในทางวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแสงนี้ว่า เป็นแสงกลุ่มเดียวกับที่เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด เพราะแสงจากดวงอาทิตย์อาจมีลักษณะการหักเหในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดรูปทรงกลดแบบอื่นๆ เช่น เส้นโค้งเซอร์คัมชีนิคัล ที่เกิดจากการหักเหภายในผลึกรูปแผ่นทะลุออกทางผิวด้านข้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นโค้งหงายขึ้นสีรุ้งอยู่เหนือดวงอาทิตย์ และอีกหลายรูปแบบที่อาจพบได้ เช่น เส้นโค้งเซอร์คัมฮร์ไรซัน วงกลมพาร์ฮีลิก พิลลาร์ ซับซัน ซับพาร์ฮีเลีย และเส้นโค้งโลวิตซ์

สามารถอ่านจากเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ บทความ “อาทิตย์ทรงกลด ใครว่ามีแค่วงกลมทิตย์ทรงกลด ใครว่ามีแค่วงกลม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image