กายวิภาค จิ้งจก 2 หัว ไม่ปกติ แต่มันไม่แปลกเกินกว่า ที่วิทยาศาสตร์จะอธิบายได้

กายวิภาค จิ้งจก 2 หัว ไม่ปกติ แต่มันไม่แปลกเกินกว่า ที่วิทยาศาสตร์จะอธิบายได้

นายนิรุทธิ์ ชมงาม หรือ นิก อสรพิษวิทยา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องงู เจ้าของเพจ Nick Wildlife ที่มีผู้ติดตามกว่า 8 แสนคน โพสต์อธิบายกรณีที่มีคนเจอจิ้งจก 2 หัว ซึ่งคนมีความเชื่อกันไปต่างๆ นานา แต่ในหลักการกายวิภาคของสัตว์นั้น นิกอธิบายต่อไปนี้

จิ้งจกสองหัวเป็นเหตุการณ์ที่เราจะพบไม่บ่อย แต่ที่พบบ่อยๆส่วนมากจะเป็นกรณีของงูสองหัว เต่าสองหัว มันจะต่างจากจิ้งจกจกสองหาง จิ้งจกสองหางที่เราได้ยินมากันบ่อยๆ ในเรื่องของความเชื่อเครื่องรางของขลัง
จริงๆ แล้วจิ้งจกสองหาง มันเป็นในเรื่องของกระบวนการการงอกทดแทน สัตว์จำพวกจิ้งจก ตุ๊กแก หางเขาจะเป็นข้อๆ เวลามีอะไรที่จะทำร้ายเขาพอไปตบโดนหาง มันจะทำการสลัดหาง ซึ่งหางสามารถดิ้นได้อยู่ไว้หลอกล่อให้ศัตรูสนใจหาง เพื่อเขาจะได้หนีเอาชีวิตรอดต่อไป
แต่หลังจากรอดแล้ว กระบวนการในร่างกายของสัตว์พวกนี้ สามารถที่จะงอกหางขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ แต่ในกรณีที่มีสองหางบางครั้งหางเขาไม่ได้หลุดไปทั้งหาง อาจจะเป็นบาดแผล ซึ่งร่างกายรับรู้ว่าตอนนี้เกิดบาดแผลจำเป็นที่จะต้องงอกหางใหม่ขึ้นมา ก็กลายเป็นว่าหางเดิมก็ยังอยู่ หางใหม่ก็งอกขึ้นมากลายเป็นจิ้งจกสองหาง
ในสังคมไทยจะมีความเชื่อในเรื่องเมตตามหานิยม หลายคนก็เอามาบูชา ถามว่ามันเป็นเรื่องแปลกไหม มันก็ไม่ปกติ แต่มันก็ไม่ได้แปลกเกินกว่าที่วิทยาศาสตร์จะอธิบายได้ เป็นกระบวนการซ่อมแซมร่างกายที่ขาดหายไป
ซึ่งต่างจากกรณีจิ้งจกสองหัว
กรณีนี้เกิดจากตอนที่มันปฏิสนธิในไข่ ตอนที่มีไข่ออกมามันเกิดการแบ่งตัวกัน แต่คราวนี้ถ้ามันเกิดการแบ่งตัวสมบูรณ์เมื่อไหร่มันจะกลายเป็นลูกจิ้งจกสองตัวในฟองเดียว แต่คราวนี้พอมันเกิดกระบวนการที่ไม่สมบูรณ์ขึ้นมา มันก็เลยกลายเป็นในลักษณะที่แบบว่าเหมือนแบ่งได้แค่หัว
คราวนี้พออกมาก็จะมีจิ้งจกตัวเดียวแต่มีสองหัว แต่ละหัวมันจะมีสมองของมันเอง มีกระบวนการในการที่จะคิดแยกกันไปเลย แต่ใช้อวัยวะภายในร่วมกัน
สัตว์พวกนี้โอกาสรอดต่ำมาก ถ้ามันเกิดมีการแบ่งตัวที่มากกว่านี้อาจจะเป็นจิ้งจกสองตัวที่ตัวติดกัน เหมือนแฝดสยาม
ภาพจาก เพจ Nick Wildlife
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image