ถึงเวลาฉีดวัคซีนป้องกัน ‘การก่อการร้าย’ ในโลกกีฬา

ระเบิดระหว่างการแข่งขันบอสตัน มาราธอน

การก่อการร้ายเกิดขึ้นมากมายในโลกใบนี้ และบ่อยครั้งที่เกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันซึ่งสร้างความเสียหายทั้งร่างกาย ความรู้สึก สถานที่ และสถานที่แบบประเมินไม่ได้

เหตุการณ์ล่าสุด คือ การกราดยิงและระเบิดฆ่าตัวตายระหว่างฟุตบอลนัดกระชับมิตรที่ฝรั่งเศสลงเล่นในสนามสต๊าด เดอ ฟร้องซ์ พบกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 13-14 พฤศจิกายน ปี 2017 ซึ่งมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในหลายจุดของกรุงปารีส วันนั้นมีผู้เสียชีวิต 153 คน บาดเจ็บอีก 352 คน โดยมีการยืนยันว่า กลุ่มรัฐอิสลาม(ไอเอส) เป็นผู้ลงมือ

เหตุก่อการร้ายที่กรุงปารีส

ก่อนหน้านั้นมีการวางระเบิดฆ่าตัวตายในการแข่งขันวิ่งมาราธอนที่ประเทศศรีลังกา เมื่อปี 2008 มีผู้เสียชีวิต 15 คน โดยรัฐบาลศรีลังกากล่าวหาว่า กลุ่มทมิฬ ไทเกอร์ เป็นผู้ก่อเหตุ ถัดมาในปี ถัดมาในปี 2015 เกิดเหตุระเบิดที่บอสตัน มาราธอน การแข่งขันวิ่งรายการใหญ่ของโลก ที่สหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บอีก 183 คน

ในโอลิมปิกเกมส์ก็เคยมีผู้ก่อการร้ายมาสร้างความเสียให้กับการแข่งขันมาแล้ว โอลิมปิกเกมส์ 1972 ที่นครมิวนิค ประเทศเยอรมันตะวันตก กลุ่มแบล็ก เซปเทมเบอร์  ชาวปาเลสไตน์ ลักพาตัวนักกีฬาทีมชาติอิสราเอล 11 คน  และฆาตกรรมหมู่พวกเขา รวมทั้งตำรวจชาวเยอรมัน มีผู้เสียชีวิตรวมกัน 17 คน มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติ

Advertisement

โอลิมปิกเกมส์ 1996 ที่เมืองแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา มีผู้ก่อการร้ายวางระเบิดที่เซนเทนเนียล โอลิมปิก ปาร์ก ซึ่งวางไว้เป็นจุดศูนย์รวมของแฟนกีฬาในโอลิมปิกครั้งนั้น มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีก 111 คน

เหตุการณ์รุนแรงเหล่านี้ทำให้ทุกมหกรรมกีฬาระดับโลกจะต้องมีการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด โอลิมปิกเกมส์และฟุตบอลโลก รวมทั้งมหกรรมกีฬาระดับทวีปต่างๆ ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นกันแล้ว แต่ก็ยังมีความกังวลใจว่าผู้ก่อการร้ายจะกลับมาเลือกสังเวียนกีฬาในการสร้างความสะเทือนใจในอนาคต

Advertisement

องค์การสหประชาประชาชาติ(ยูเอ็น) ได้มีโครงการที่ให้ทั่วโลกได้ช่วยกันสร้างความปลอดภัยให้กับการแข่งขันกีฬาจากการก่อการร้าย และใช้กีฬาเป็นเครื่องมือในการลดความรุนแรงในสังคม โดยเฉพาะการปลูกฝังให้เด็กๆ ได้เข้าใจพิษภัยของมัน

วลาดิเมียร์ โวรอนคอฟ หัวหน้าฝ่ายต่อต้านการก่อการร้ายของยูเอ็น บอกว่า กีฬาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คนเป็นคนที่ดีขึ้น มีเป้าหมายที่สูงขึ้นและไกลกว่าเดิม สร้างให้เป็นคนที่มีความอดทน สร้างความเท่าเทียมให้กับทุกเพศ ช่วยให้สังคมเหนียวแน่นเป็นหนึ่งเดียวกัน และสร้างความสามัคคีให้กับมนุษย์ที่มีสัญชาตญาณการเป็นนักสู้อยู่ในตัว แต่การก่อการร้ายพยายามจะทำลายสิ่งที่กีฬาพยายามมอบให้กับโลก

“กีฬาเป็นพื้นฐานในการสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้มนุษย์ เป็นวัคซีนชั้นดีที่จะทำลายเชื้อโรคอาชญากรรม ดังนั้นเราควรจะมีสัญญาร่วมกันในการปกป้องและสนับสนุนกีฬา” โวรอนคอฟกล่าวย้ำ

การจะป้องกันเหตุการณ์ร้ายๆ ที่ไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัวได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือในทุกๆ ด้าน ทั้งการรักษาความปลอดภัยของสถานที่ ระบบไซเบอร์ที่คอยตรวจตราความปลอดภัย การวางแผนรับมือในช่วงวิกฤติ ยุทธวิธีการสื่อสารต่างๆ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ จะต้องร่วมมือกันช่วยยุติเหตุให้ทันทีท่วงทีตามความถนัดที่ตัวเองมี 

โครงการนี้ได้เริ่มให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานในระดับสูงอย่างตัวแทนจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ตัวแทนของคณะกรรมการโอลิมปิกของแต่ละชาติ รวมทั้งสหพันธ์กีฬานานาชาติ และบริษัทเอกชน หลังจากนี้ก็จะขยายให้วามรู้ในวงกว้างไปเรื่อยๆ ไปจนถึงประชาชนในระดับรากหญ้าและเด็กๆ

PHOTO : www.qz.com

กาตาร์ เจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 เป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนการริเริ่มโครงการร้างความปลอดภัยให้กับการแข่งขันกีฬาจากการก่อการร้าย รวมทั้งจีนและเกาหลีใต้ก็เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในเรื่องนี้ กาตาร์ลงนามกับยูเอ็นในการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้จุดเริ่มต้นของการสร้างความรุนแรงที่ก้าวไปสู่การก่อการร้าย 

กาตาร์จะเป็นชาติแรกในแถบตะวันออกกลางที่ได้เป็นเจ้าภาพงานกีฬาใหญ่อย่างฟุตบอลโลก ดังนั้นจึงได้รับหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการป้องกันการก่อการร้าย เพื่อให้มีความพร้อมด้านความปลอดภัยในช่วงแข่งขันจริงของฟุตบอลโลกในอีก 2 ปีข้างหน้า

ด้านญี่ปุ่น เจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ 2020 และพาราลิมปิกเกมส์ 2020 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าก็เตรียมการรับมือการก่อการร้ายทั้งทางตรงและในโลกไซเบอร์เอาไว้อย่างหนาแน่น เนื่องจากรู้ดีว่ามหกรรมระดับนี้จะดึงดูดผู้ก่อการร้ายให้เข้ามาสร้างความปั่นป่วนได้เสมอ 

ชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนช่วยกันสอดส่องดูแลการก่อการร้ายอย่างเต็มที่ และให้มีการประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนนักโทษที่พ้นโทษออกมาแล้วในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อไม่ให้กลับไปก่ออาชญากรรมอีกหลังจากนี้

ทั่วโลกต่างจับมือกันล้อมคอกการก่อการร้ายอย่างจริงจัง แต่ที่สุดแล้วมันเป็นเรื่องของจิตใจมนุษย์ที่ไม่มีทางรู้เลยว่าบางครั้งคนใกล้ตัวที่คุ้นหน้ากันจะกลายมาเป็นคนที่ทำมันเสียเอง ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นในวงการไหน สถานที่ใด การก่อการร้ายทิ้งคราบน้ำตา ความทุกข์และความเจ็บปวดในระยะยาวให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบเสมอ

ประเทศไทยผ่านสถานการณ์เลวร้ายนี้มาหมาดๆ ย่อมเข้าใจถึงความรู้สึกนั้นดี การช่วยกันสอดส่อง ดูแล และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอย่างเหมาะสมจึงเป็นหน้าที่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่เพิ่มเพื่อน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image