‘เอสซีจี จูเนียร์ แบดมินตัน แชมเปี้ยนชิพส์’ เวทีเจียระไนเพชรสู่ความสำเร็จของทีมชาติไทย

การสร้างนักกีฬาระดับเยาวชนถือเป็นรากฐานที่สำคัญมากกับความสำเร็จของทีมชาติและกีฬาอาชีพในอนาคต เช่นเดียวกับการแข่งขัน เอสซีจี จูเนียร์ แบดมินตัน แชมเปี้ยนชิพส์ ซึ่งเป็นการแข่งขันแบดมินตันระดับเยาวชนรายการใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของประเทศ ที่สร้างนักตบขนไก่ไทยสู่เวทีระดับโลกมาแล้วมากมาย

ล่าสุด การแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์โลกประเภททีมหญิง อูเบอร์คัพ 2018” ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นักตบขนไก่สาวไทยสามารถสร้างประวัติศาสตร์ กรุยทางเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศได้เป็นครั้งแรก แถมยังสามารถปราบมังกรสาวจีนลงได้ในรอบรองชนะเลิศ ถึงแม้จะไปพ่ายญี่ปุ่นในรอบชิงชนะเลิศ แต่จากประวัติศาสตร์ใหม่ครั้งนี้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวดแล้ว

ถ้าพิจารณานักแบดมินตันหญิงทีมชาติไทยชุดนี้ จะเห็นว่านักกีฬาเคยประสบความสำเร็จในรายการเอสซีจี จูเนียร์ แบดมินตัน แชมเปี้ยนชิพส์ มาแล้วทั้งนั้น

Advertisement

เมย์รัชนก อินทนนท์ ลงแข่งขัน 3 ครั้ง ปี 2551 ได้แชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 15 ปี, หญิงคู่ รุ่น 15 ปี (คู่กับเมธาณี พัฒนพิฑูรย์) และคู่ผสม รุ่น 18 ปี (คู่กับพิสิษฐ์ พูดฉลาด) ปี 2552 ได้แชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 18 ปี และปี 2553 ได้แชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 18 ปี และหญิงคู่ รุ่น 18 ปี (คู่กับพิจิตรจันทร์ หวังไพบูลย์กิจ)

แน็ตณิชชาอร จินดาพล เคยได้แชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 18 ปี ในปี 2551 /ปอป้อทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย แชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 15 ปี เมื่อปี 2549 และแชมป์หญิงเดี่ยว 18 ปี เมื่อปี 2550 / เอิร์ธพุธิตา สุภจิรกุล เป็นแชมป์ประเภทคู่ล้วนๆ ปี 2552 เป็นแชมป์หญิงคู่ รุ่น 13 ปี (คู่กับณัชชา วงศ์ชนะชาติ), ปี 2556 เป็นแชมป์หญิงคู่ รุ่น 18 ปี( คู่กับสริตา สุวรรณกิจบริหาร) และคู่ผสม รุ่น 18 ปี (คู่กับเดชาพล พัววรานุเคราะห์)

ครีมบุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธุ์ เป็นแชมป์หญิงคู่ รุ่น 13 ปี (คู่กับณริฏษาพัชร แลม) เมื่อปี 2551 และเป็นรองแชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 13 ปีในปีนั้น ส่วนปี 2552 ได้รองแชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 13 ปี และรองแชมป์หญิงคู่ รุ่น 13 ปี (คู่กับชัญญา วงศ์ตระกูล) ปี 2554 เหมาแชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 16 ปี และหญิงคู่ รุ่น 16 ปี (คู่กับณริฏษาพัชรแลม) ปี 2555 เป็นแชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 18 ปี

Advertisement

กิ๊ฟจงกลพรรณ กิติธรากุล ปี 2551 ได้รองแชมป์หญิงคู่ รุ่น 15 ปี (คู่กับรวินดา ประจงใจ) ปี 2552 เป็นแชมป์หญิงคู่ รุ่น 18 ปี (คู่กับปัญจรัตน์ ปราณโสภณ) และปี 2553 เป็นรองแชมป์หญิงคู่ รุ่น 18 ปีอีกสมัย (คู่กับรัสนันท์ เพชรมณีล้ำค่า) / วิวรวินดา ประจงใจ ปี 2551 เป็นรองแชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 15 ปี และรองแชมป์หญิงคู่ รุ่น 15 ปี (คู่กับจงกลพรรณ กิติธรากุล) ส่วนปี 2552 เป็นรองแชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 18 ปี และปี 2554 เป็นรองแชมป์หญิงเดี่ยว รุ่น 18 ปี

ไม่ใช่แค่ผู้หญิงเท่านั้น เหล่านักแบดมินตันชายทีมชาติไทย ก็ฝ่าด่านจากเอสซีจี จูเนียร์ แบดมินตัน แชมเปี้ยนชิพส์ กันมาแล้วทั้งนั้น

สำหรับรูปแบบของเอสซีจี จูเนียร์ แบดมินตัน แชมเปี้ยนชิพส์ ซึ่งในปีนี้เป็นครั้งที่ 38 คือ แบ่งแข่งขันในระดับภาค ทั้ง 5 ภูมิภาค ได้แก่

ภาคกลาง (สุพรรณบุรี, ระยอง, ลพบุรี, ชลบุรี, นครปฐม, กาญจนบุรี, สระบุรี, ราชบุรี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, อยธุยา, จันทบุรี, สมุทรสาคร, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, ตราด, อุทัยธานี และสระแก้ว) สำหรับปีนี้แข่งขันที่สนามสุพรรณแบดมินตัน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคมที่ผ่านมา

ภาคเหนือ (ลำปาง, เชียงราย, นครสวรรค์, ลำพูน, เชียงใหม่, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร, แม่ฮ่องสอน, ตาก, พิจิตร, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, พะเยา, แพร่ และน่าน) แข่งขันที่สนามแบดมินตันกู๊ดวิว คอมเพล็กซ์ อ.เมือง จ.ลำปาง ระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคมที่ผ่านมา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุดรธานี, นครราชสีมา, อุบลราชธานี, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด, นครพนม, ขอนแก่น, สุรินทร์, เลย, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, มุกดาหาร, ยโสธร, อำนาจเจริญ, หนองบัวลำภู, หนองคาย, สกลนคร, ชัยภูมิ และมหาสารคาม) แข่งขันที่ศูนย์ฝึกแบดมินตันตรีเลิศ อ.เมือง จ.อุดรธานี ระหว่างวันที่ 6-8 เมษายนที่ผ่านมา

ภาคใต้ (ตรัง, พังงา, ภูเก็ต, นครศรีธรรมราช, ชุมพร, ระนอง, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส, พัทลุง, สตูล, และกระบี่) แข่งขันที่โรงเรียนแบดมินตันตรังจูเนียร์ อ.เมือง จ.ตรัง ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคมที่ผ่านมา

ภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี, กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ และปทุมธานี) ระหว่างวันที่ 1-4 มิถุนายน ที่สนามเอส ดับเบิลยู แบดมินตัน อ.เมือง จ.นนทบุรี

เมื่อได้ตัวแทนที่เจ๋งที่สุดจาก 5 ภาคแล้ว จะมาชิงความเป็นหนึ่งของประเทศในรอบชิงชนะเลิศเยาวชนแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12-17มิถุนายน ที่ศูนย์ฝึกแบดมินตันและวิทยาศาสตร์การกีฬา สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ถ.นางลิ้นจี่ ซึ่งแบ่งออกเป็นรุ่นไม่เกิน 15, 17, 19 ปี ทั้งประเภทชายเดี่ยว, หญิงเดี่ยว, ชายคู่, หญิงคู่, คู่ผสม

หลักเกณฑ์การคัดเลือกนักกีฬาระดับภาคเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยนั้น จะคัดเอานักกีฬาที่ผ่านเข้ารอบเซมิไฟนอลของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือ, ภาคใต้, ภาคกลาง ผ่านเข้ามาถึงรอบนี้ ส่วนกรุงเทพและปริมณฑลจะให้สิทธิ์นักกีฬาที่ผ่านเข้ารอบ 8 คน/คู่สุดท้ายได้เข้ามาลุ้นแชมป์ในรอบชิงแชมป์ประเทศไทยต่อไป

ณปภัช ประไพตระกูล Associate Director-Sport Branding Enterprise Brand Management, SCG กล่าวว่า นักแบดมินตันทีมชาติไทยล้วนแต่เคยผ่านการแข่งขันรายการนี้มา ซึ่งทางเอสซีจี ได้พยายามพัฒนาปรับปรุงและยกระดับการแข่งขัน เพื่อให้น้องๆ เยาวชนรุ่นใหม่ทั่วทุกภาคได้รับประโยชน์จากรายการนี้ให้มากที่สุด และในแต่ละปีก็จะได้รับความสนใจจากเด็กๆเพิ่มขึ้นทุกปี

สำหรับในปีนี้ รอบชิงชนะเลิศเยาวชนแห่งประเทศไทย ก็ปรับรูปแบบการแข่งขันเหมือนกับปีที่ผ่านมาคือ แข่งแบบราวโรบิน หรือแบ่งกลุ่ม เพื่อเปิดโอกาสให้น้องๆที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดได้ลงเล่นมากขึ้น อย่างน้อยก็ 2 ครั้ง ไม่ใช่แข่งครั้งเดียวแพ้แล้วกลับบ้าน ซึ่งการแข่งระบบนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากชมรมสโมสรต่างๆ” ณปภัชกล่าว

จนถึงตอนนี้ยังคงต้องลุ้นกันว่าใครจะเป็นแชมป์เยาวชนประเทศไทยคนต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าแชมป์เหล่านี้จะมีโอกาสก้าวมาเป็นผู้สืบสานความสำเร็จของวงการแบดมินตันไทยต่อไปอย่างแน่นอน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image