5 ปี คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

5 ปี คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

5 ปี คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

พ.ร.บ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ.2551 กำหนดให้ “คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ” ทำหน้าที่จัดทำยุทธศาสตร์การจัดการด้าน “อาหาร” ของประเทศ ในด้านความมั่นคงอาหาร คุณภาพอาหาร ความปลอดภัยอาหารและอาหารศึกษา คณะกรรมการอาหารแห่งชาติจึงได้จัดทำกรอบยุทธศาสตร์… “การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย” ฉบับที่ 2 (2561-2580) เป็นแผนฯ 20 ปี ขึ้นให้มีความต่อเนื่องกับกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2559) โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารฯ ฉบับที่ 2 นี้ได้จัดวางการแปรรูปการบริการสู่โภชนาการสุขภาพผู้บริโภค ตลอดจนถึง… “วัฒนธรรม” การท่องเที่ยว การบริการและการค้า โดยน้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักคิดในการวางกลยุทธ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกมิติอย่างสมดุล เน้น…การนำความรู้และปัญญามาสู่การปฏิบัติที่มีคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงคำนึงถึงการปฏิรูปและพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งระดับโลกและประเทศได้ แต่ “เป้าหมาย…การพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) และนโยบายการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 และมีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำคัญครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อ…กำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์สอดรับกับทิศทางการพัฒนาในอนาคต หากมีความมุ่งหมายให้เป็น…แผนชี้นำการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อาหารให้เกิดการรวมพลังและประสานบูรณาการการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน

สำหรับวิสัยทัศน์ของกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2561-2580) : “ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อชาวไทยและชาวโลกอย่างยั่งยืน”

Advertisement

การบรรลุวิสัยทัศน์กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย มีจุดเน้นที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่…

1.ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ กล่าวคือ นอกจากจะมีอาหารอย่างเพียงพอและประชาชนสามารถเข้าถึงได้แล้ว อาหารนั้นต้องมีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนมี “สุขภาพดี”

2.เป็นแหล่งอาหารคุณภาพสูง ปลอดภัย และมีคุณค่าโภชนาการ และเพื่อชาวไทยและชาวโลกอย่างยั่งยืน : โดยนัยของคำว่า… “แหล่งอาหาร” นี้หมายความว่าประเทศไทยจะไม่เพียงแต่เป็นประเทศผู้ผลิตอาหารเท่านั้น แต่จะเป็นผู้ดำเนินการกิจการใดๆ ก็ตามเพื่อให้…ประเทศไทยเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของโลก และวิสัยทัศน์มีความมุ่งมั่นสู่การเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูงเพื่อผู้บริโภคและเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศ นำไปสู่การ “อยู่ดี กินดี มีสุข มั่งคั่ง และยั่งยืน”

Advertisement

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานที่ผ่านมาภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2559) ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า…ประเทศไทยมีอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย มีความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืนเพื่อชาวไทยและชาวโลก มีช่วงเปลี่ยนผ่าจากแผนฉบับที่ 1 สู่ฉบับที่ 2 มีผลการดำเนินงานในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สรุปโดยสังเขปได้ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1
ด้านความมั่นคงอาหาร

มี นายยุคล ลิ้มแหลมทอง เป็นประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนชุดนี้ : ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหารมีหลักการ…เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน บริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย 10 กลยุทธ์ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารจัดการฐานทรัพยากรและปัจจัยการผลิตอาหารเพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างมีคุณภาพเพียงพอและยั่งยืน การส่งเสริมภาคการผลิตที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรการพื้นที่เกษตรอย่างเหมาะสมตามแนวคิด… “เกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) ตลอดจนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้เป็น “เกษตรอัจฉริยะ” (Smart Farmer) ควบคู่กับการพัฒนา (เจ้าหน้าที่) เป็น Smart Officers อีกทั้งมีการส่งเสริมรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอาหารและเชื่อมโยงตลาดกับการผลิตและการวิจัยพัฒนา โดยมีผลการดำเนินงานหรือโครงสร้างสำคัญที่อยู่ระหว่างการดำเนินการในแต่ละกลยุทธ์ดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1 : เร่งรัดปฏิรูปการถือครองที่ดินและคุ้มครองพื้นที่การเกษตร 1.มีการจัดหาที่ดินทำกิน มอบเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-0 2.ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์ตามประกาศ พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 29 สิงหาคม 2558

กลยุทธ์ที่ 2 : จัดการทรัพยากรน้ำและดินเพื่อการเกษตรและประชาชน 1.มีจัดหาแหล่งน้ำเพื่อชลประทานโดยก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่พัฒนาแหล่งน้ำในชุมชน มีการบริหารจัดการอย่างครบวงจร 2.ก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 3.ปฏิบัติการฝนหลวงปรับปรุงฐานข้อมูลทรัพยากรดิน การปรับปรุงบำรุงดินในจังหวัดที่ได้รับการพัฒนาเป็น… “เมืองเกษตรสีเขียว”

กลยุทธ์ที่ 3 : สร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหารกับพืชพลังงาน โครงการปรับโครงสร้างการเกษตรให้เป็นแปลงใหญ่โดยยืดระบบการบริหารพื้นที่เกษตรกรรมเป็นแบบ Zoning จัดทำ Road Map ยุทธศาสตร์ สินค้า 4 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพด สัตว์เลี้ยง มันสำปะหลัง อ้อยโรงงานและปาล์มน้ำมัน

กลยุทธ์ที่ 4 : พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอาหาร 1.ดำเนินการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ (Zoning) เช่น เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตในเขตพื้นที่ที่เหมาะสมการทำปศุสัตว์โคเนื้อ โคนม สุกร เป็นต้น 2.จัดหลักสูตรฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับเกษตรกร เช่น การผลิตพืชใช้อาหารสัตว์ท้องถิ่นและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ 3.ส่งเสริมอาชีพเพื่อเกษตรกรให้มีรายได้เสริมเพื่อเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

กลยุทธ์ที่ 5 : สร้างแรงจูงใจในการทำเกษตรและเพิ่มจำนวนเกษตรกรรุ่นใหม่ 1.ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบด้านเกษตรผสมผสานและขยายไปสู่เกษตรกรรายอื่น 2.สร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติผ่านกลไกของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยประมงและวิทยาลัยอาชีพอื่นๆ

กลยุทธ์ที่ 6 : ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารในระดับชุมชนและครัวเรือน 1.คัดเลือกศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน (ศูนย์หลัก) จังหวัดละ 1 ศูนย์ เพื่อดำเนินงานกิจกรรมฝึกอบรมและปฏิบัติด้วยการถ่ายทอดความรู้เทคนิคการบริหารจัดการต่างๆ มีศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.จัดตั้งนิคมเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ครัวเรือนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

กลยุทธ์ที่ 7 : ปรับปรุงและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านสินค้าเกษตรและอาหาร สนับสนุนการกระจายอาหารอย่างมีประสิทธิภาพและรักษาคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร โดยจัดตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าตลาดกลาง โครงการตลาดเกษตรกร (Farmer Market) ใน 77 จังหวัด

กลยุทธ์ที่ 8 : สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนในการรักษาความมั่นคงด้านอาหาร พัฒนาเกษตรแบบพันธสัญญา (Contract Framer) ในกลุ่มพื้นที่ในจังหวัดชายแดน การประกันภัยพืช (Crop Insurance) ข้าวโพด ข้าว โคนม

กลยุทธ์ที่ 9 : วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่อาหาร สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาด้านการผลิตและการตลาดเชิงบูรณาการ โดยการใช้องค์ความรู้ในการเพิ่มมูลค่าตลอดห่วงโซ่การผลิตจนถึงการตลาด ในพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันพืชทางเลือกใหม่ ในการสร้างรายได้หลักให้แก่ชุมชน

กลยุทธ์ที่ 10 : จัดระบบเพื่อรองรับความมั่นคงด้านอาหารในภาวะวิกฤต 1.มีคณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านเกษตรเพื่อสามารถช่วยเหลือเกษตรและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติด้านเกษตร 2.ในปี 2556-2557 ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยียนในประเทศฟิลิปปินส์ โดยบริจาคข้าวผ่านองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียนบวกสาม (APTERR) จำนวน 5,000 ตัน

ยุทธศาสตร์ที่ 2
ด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร

มี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร เป็นประธานขับเคลื่อนฯ ยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร มีหลักการ คือ เพื่อดูแลคุณภาพและความปลอดภัยอาหารในห่วงโซ่อาหารโดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมการค้าทั้งในและต่างประเทศ และเป็นพื้นฐานของการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ ครอบคลุมด้านส่งเสริมงานมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของอาหาร การพัฒนาสินค้าเกษตรขั้นต้น การส่งเสริมความเข้มแข็งของผลิตในระดับชุมชนและระดับอุตสาหกรรม การส่งเสริมการค้าและการตลาดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารประเทศ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ มาตรการการจัดการ “ผักและผลไม้ปลอดภัย” โดยให้มีมาตรการทางกฎหมายและมาตรการส่งเสริมเพื่อให้ผักและผลไม้มีคุณภาพและความปลอดภัยด้วยการผลักดันให้เกิดระบบผลิตผักและผลไม้ที่มีมาตรฐานการผลิตตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี (GAP/GMP) ทั้งในระดับฟาร์มและการแปรรูปเบื้องต้นอีกทั้งมีระบบตามสอบย้อนกลับ (Traceability) และมีความรู้การงานระหว่างกระทรวงเพื่อจัดทำ… “ระบบการเฝ้าระวังสารพิษตกค้าง” ระดับประเทศในรูปแบบ National Monitoring Program

นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำข้อเสนอการจัดการความปลอดภัยสารเคมีทางการเกษตรรวมทั้งได้วางโครงสร้างและทดลองการดำเนินงานหน่วยประเมินความเสี่ยงที่รองรับงานค้างปลอดภัยอาหารของประเทศสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศต่อไป

ยุทธศาสตร์ 3
ด้านอาหารศึกษา

มี ศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ จะวะสิต เป็นประธานขับเคลื่อนฯ เน้นกระบวนการส่งเสริมพัฒนาและวิจัยให้เกิดความรู้ ความตระหนักในการใช้ทรัพยากรเพื่อผลิต และการกระจายในห่วงโซ่อาหาร ตลอดจนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการบริโภคอาหารโดยกำหนดมี 9 ประเด็น 1) มาตรฐานและเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง 2) การจัดทำข้อปฏิบัติในการบริโภคอาหารตามวัย (FBDGs) 3) อาหารและโภชนาการศึกษาและกำหนดอาหารตามวัย 4) ส่งเสริมการบริโภคพืช ผัก ผลไม้ 5) การลดหวาน มัน เค็ม ในอาหาร 6) รูปแบบการดำเนินการและโภชนาการในโรงเรียน 7) รูปแบบการดำเนินการโภชนาการในพื้นที่และชุมชน 8) ระบบการเฝ้าระวังและสำรวจภาวะโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง 9) การบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการในภาวะวิกฤต

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การพัฒนาและส่งเสริมการใช้สัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่าย ซึ่งมีเป้าหมาย คือ สร้างเครื่องมือในรูปแบบสัญลักษณ์อย่างง่ายๆ บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคใช้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณค่าโภชนาการที่เหมาะสมรวมถึงการบริหารจัดการสัญลักษณ์ดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน รวมทั้งประกาศเป็นกฎหมายว่าด้วยการใช้สัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่ายและหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการแสดงสัญลักษณ์โภชนาการ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์สมัครใจและเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี ไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ท้ายสุดนี้ยังมีการสรุปประเด็นปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงานของแผนฉบับที่ 1 พบปัญหาและอุปสรรคสำคัญ คือ ยังไม่สามารถถ่ายทอดกรอบยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติได้อย่างครอบคลุมทั้งเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่ ซึ่งจากการวิเคราะห์มี 4 ประเด็น คือ 1) กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหาร มีขอบเขตกว้างเกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางรับผิดชอบ 2) ไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดอย่างชัดเจน จึงเป็นข้อจำกัดในการติดตามและกำกับ 3) ประเด็นการพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานปฏิบัติที่ไม่เป็นแบบองค์รวมและบูรณาการไม่ครบองค์ประกอบของการทำงาน 4) การถ่ายทอดกรอบยุทธศาสตร์และการจัดการด้านอาหารสู่การปฏิบัติลงสู่พื้นที่ยังเป็นข้อจำกัด

ข้อมูลในการสรุปรายงานโดยสังเขปของทั้ง 3 ยุทธศาสตร์ การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2559) เพื่อสื่อสารให้พี่น้องคนไทยได้รับทราบ และโดยเฉพาะรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตยจักได้ทราบ หน่วยงานหลายกระทรวงที่ผ่านมาให้ความร่วมมือ คณะกรรมการแห่งชาติเป็นอย่างดีอำนวยให้การขับเคลื่อนอยู่ในระดับดีมากระดับหนึ่ง เมื่อเข้าสู่กรอบยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 2 เชื่อมั่นว่าการขับเคลื่อนน่าจะมีประสิทธิภาพและด้วยการให้มีผลงานที่มีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่อาหาร เพื่อให้คนไทยทั้งประเทศได้รับการดูแลคุ้มครอง ด้วยอาหารและโภชนาการด้วยการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีไงเล่าครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image