เลือกติดฉนวนกันความร้อนแบบใด เหมาะกับการอยู่อาศัยที่สุด

ด้วยสภาพอากาศของเมืองไทยอันแสนร้อนอบอ้าว การติดฉนวนกันความร้อนจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยลดอุณหภูมิของแสงแดดไม่ให้เพิ่มความร้อนได้เป็นอย่างดี ซึ่งลักษณะของการติดตั้งฉนวนนี้มีด้วยกัน 2 แบบหลัก ๆ รวมถึงประเภทของฉนวนที่ใช้ติดตั้งก็แบ่งออกได้เยอะ มาทำความเข้าใจไปกันว่าหากต้องการติดฉนวนกันความร้อนกับที่อยู่อาศัยของคุณควรเลือกแบบใด

ลักษณะการติดตั้งฉนวนกันความร้อน

  1. การติดตั้งแบบพ่น

ฉนวนประเภทนี้จะเป็นแบบของเหลว เมื่อใช้งานให้พ่นลงไปใต้แผ่นหลังคาในทุกๆ จุด จะช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนส่งผ่านมาถึงตัวบ้านได้ อีกทั้งด้วยเทคโนโลยียุคใหม่ นอกจากแบบที่ใช้พ่นใต้หลังคาแล้วยังมีแบบที่ใช้พ่นด้านบนหลังคาได้อีกด้วย

  1. การติดตั้งแบบแผ่น

การติดฉนวนกันความร้อนแบบนี้จะใช้แผ่นฉนวนซึ่งทำจากวัสดุหลากประเภทมาติดตั้งให้ทั่วทั้งบริเวณใต้หลังคา แผ่นฉนวนจะอ่อนจึงดัดให้โค้งรับกับทุกจุดของหลังคาได้ไม่ยาก บางชนิดก็ใช้ติดตั้งบริเวณแปหลังคาหรือด้านบนก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน

Advertisement

ประเภทของฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้งาน

  1. อะลูมิเนียมฟลอยด์

การเลือกติดฉนวนกันความร้อนประเภทนี้จะช่วยกันความร้อนได้ดีมากๆ ราคาถูก อีกทั้งยังไม่ติดไฟ ป้องกันการลุกลามของเพลิง น้ำหนักเบา มีความบาง เหนียว ยืดหยุ่น จึงใช้ได้กับหลังคาทุกประเภท แต่จุดด้อยนิดๆ คือ ไม่ป้องกันเสียงที่ลอดผ่านเข้ามา

  1. ฉนวนใยแก้ว

ช่วยป้องกันความร้อนและเสียงไม่ให้ผ่านเข้ามาภายในตัวบ้าน ทนต่อความร้อน ไม่ลามไฟ เนื้อวัสดุมีความหนา แต่ต้องติดตั้งด้วยช่างที่ชำนาญเพราะถ้าถุงใยแก้วขาดหรือรั่วจะเกิดอันตรายกับคนในบ้านได้ ราคากลางๆ ไม่แพงเกินไป

  1. โฟมโพลียูรีเทน

ถูกผลิตขึ้นมาทั้งแบบพ่นและแผ่น ยึดเกาะกับทุกสภาพพื้นผิว กันทั้งความร้อน ความเย็น ภายในบ้านจึงมีอุณหภูมิเหมาะสม น้ำไม่รั่วซึม แต่เมื่อเจอกับความร้อนมักเปลี่ยนรูปร่างและมีปัญหาเรื่องการลามไฟที่รวดเร็ว อีกทั้งยังมีราคาแพง

  1. โฟมโพลีสไตรีน

หลายคนนิยมติดฉนวนกันความร้อนประเภทนี้เพราะราคาถูก น้ำหนักเบา ทำงานง่าย รับแรงกดทับได้ดี ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้นจนเปลี่ยนรูป แต่เป็นวัสดุลามไฟและไม่ยืดหยุ่นจึงมักหักได้ง่ายเมื่อต้องติดกับหลังคาที่มีรูปร่างโค้งงอ

  1. โฟมโพลีเอธีลีน

หากเลือกติดฉนวนกันความร้อนประเภทนี้จะทำได้ง่ายเพราะน้ำหนักเบา เนื้อเหนียว กันความร้อน สารเคมี ความชื้นได้ดีเยี่ยม แต่เป็นวัสดุลามไฟอีกทั้งยังปล่อยสารพิษอันตรายเมื่อเกิดไฟไหม้

  1. เยื่อกระดาษ

เลือกได้ทั้งแบบพ่นและแผ่น กันความร้อนและเสียง ดูแลสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ทนไฟและความชื้น ถ้าช่างติดตั้งไม่ดีก็พังเสียหายง่าย ราคากลางๆ

หากคุณกำลังมองหาวัสดุและประเภทของการติดฉนวนกันความร้อน ก็ลองเลือกดูว่าแบบไหนที่เหมาะกับบ้านตนเองมากที่สุด

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image