ซีพีเอฟแสดงเจตนารมย์ร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน

การเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการขยายตัวของเมืองและการบริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพที่น่าเป็นห่วง อันเนื่องมาจากการขยายขอบเขตของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินขีดจำกัด องค์กร ภาคธุรกิจต่าง ๆ จึงควรหันมาคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ได้ร่วมกับ Global Nature Fund (GNF) นำเครื่องมือตรวจประเมินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจตระหนัก เรียนรู้ และนำแนวคิดดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติเพื่อร่วมกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน

นายชาตรี รชตสมบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ จังหวัด สระบุรี ได้เข้าร่วมการตรวจประเมินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Business & Biodiversity Check) ตอกย้ำแนวนโยบายการดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการผลิตเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ เพื่อร่วมบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม ช่วยลดการซื้อไฟฟ้าจากภายนอก ระบบ Biogas ทดแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติ

14068407_1239129286118286_5052215772319871422_o

ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายและทิศทางกลยุทธ์ CSR สู่ความยั่งยืน ภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินนํ้าป่าคงอยู่” สำหรับด้าน “ดินน้ำป่าคงอยู่” บริษัทวางเป้าหมายร่วมบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ บริษัทได้ให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการดำเนินงานด้านกระบวนการผลิต (Process) และด้านผลิตภัณฑ์ (Product) เพื่อร่วมบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากกิจกรรมจากการดำเนินธุรกิจ เรื่องสถานที่ตั้งสถานประกอบการที่ต้องไม่อยู่ในแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามระเบียบข้อบังคับ มาตรฐาน และกฎกระทรวงที่กำหนดไว้ รวมถึง มีการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ และการดำเนินการเชิงป้องกันผลกระทบภายในและรอบรั้วสถานประกอบการ ตลอดจนพื้นที่ยุทธศาสตร์ของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อความมั่นคงของระบบนิเวศและฐานทรัพยากรของประเทศอันเป็นต้นทุนในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

Advertisement

14054344_1239129176118297_7289694382277843987_o

นอกจากนี้ภายในงานประชุมวิชาการนานาชาติและมหกรรมนิทรรศการด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟยังได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณหน่วยงานที่ร่วมตรวจประเมินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ จากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) พร้อมนำเสนอผลการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด จากความมุ่งมั่นของภาคธุรกิจในการสร้างสมดุลทางธรรมชาติ โดยนางจีระณี จันทร์รุ่งอุทัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านความยั่งยืนสิ่งแวดล้อม เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้แทนร่วมเสนอโครงการต่าง ๆ ของซีพีเอฟ ที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน และร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ “โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ที่บริษัทเข้าไปร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 แห่ง ของจังหวัด สมุทรสาคร ระยอง ชุมพร สงขลา และพังงา ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ พร้อมจัดทำศูนย์การเรียนรู้ และ “โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ” ที่บริษัทเข้าไปส่งเสริมฟาร์มและโรงงานทั่วประเทศปลูกต้นไม้ วัดการเจริญเติบโตเพื่อคำนวณการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงการประเมินมูลค่าของระบบนิเวศ เพื่อป้องกันและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมนำนิทรรศการ CPF Lead the way to sustainability เข้าไปจัดแสดง เพื่อส่งเสริมให้คนในสังคมตระหนักและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

d52_4207

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image