เสนอรบ.แก้ข่มขืน ‘วาระแห่งชาติ’ ฉีดให้ฝ่อ เก็บ DNA ขึ้นทะเบียนผู้ก่อคดีเพศร้ายแรง

เสนอรบ.แก้ข่มขืน 'วาระแห่งชาติ' ฉีดให้ฝ่อ เก็บ DNA ขึ้นทะเบียนผู้ก่อคดีเพศร้ายแรง

เสนอรบ.แก้ข่มขืน ‘วาระแห่งชาติ’ ฉีดให้ฝ่อ เก็บ DNA ขึ้นทะเบียนผู้ก่อคดีเพศร้ายแรง

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) กรุงเทพฯ ศ.โกวิทย์ พวงงาม ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา การข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ตามที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางเพศ ข่มขืนกระทำชำเรา และการล่วงละเมิดทางเพศ ต่อเด็กและผู้หญิงมาโดยตลอด สภาผู้แทนราษฎร โดย กมธ.วิสามัญฯ จึงได้ตั้งคณะอนุ กมธ. 2 ชุด เพื่อมาศึกษาสถานการณ์ดังกล่าว และหาแนวทางป้องกันและแก้ไข ที่ผ่านมาคณะอนุ กมธ.มีการประชุมเป็นระยะ ก่อนเสนอผลศึกษาให้ กมธ.วิสามัญฯ พิจารณา

และได้ข้อสรุปที่จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เพื่อส่งต่อไปยังรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ เสนอให้รัฐบาล กำหนดการแก้ปัญหาเรื่องนี้ เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวระดับชาติ ทำหน้าที่บูรณาการหน่วยงานที่ทำงานเรื่องนี้ ที่ปัจจุบันเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กรมราชทัณฑ์ ฯลฯ

มองนมผิดหรือไม่

ประธาน กมธ.วิสามัญฯ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ได้เสนอ 4 แนวทางดำเนินงานแก้ปัญหา อาทิ ในการป้องกันปัญหา ให้กระทรวงศึกษาธิการ ปรับหลักสูตรสอนเรื่องเพศวิถีศึกษา ให้มีความชัดเจนและเข้าใจง่าย รวมถึงหน่วยงานที่ดูแลชุมชน ให้ทำงานเชิงรุกในการเฝ้าระวังและช่วยเหลือดูแลครอบครัวเสี่ยง เช่น ครอบครัวที่มีพ่อเลี้ยง ลูกเลี้ยง ครอบครัวที่ลูกสาวอยู่กับบุพการีลำพัง

รวมถึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมนิยาม “กระทำชำเรา” และเพิ่มบทนิยามการกระทำ “คุกคามทางเพศ” ครั้งแรกในประมวลกฎหมายอาญาด้วย ตลอดจนให้ดำเนินการทางวินัยร้ายแรงแก่ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีล่วงละเมิดทางเพศต่อนักเรียนและผู้อยู่ในความดูแล ด้วยการปลดออกหรือไล่ออก เพื่อจะมีผลต่อการถูกตัดบำเหน็จบำนาญ ควบคู่ไปกับการติดคุกในคดีอาญา จะได้เกรงกลัวไม่กระทำผิด

Advertisement

อย่างไรก็ตาม ได้เสนอ 3 แนวทางแก้ปัญหาใหม่ คือ

1.การใช้ยาปรับฮอร์โมนผู้กระทำผิด หรือบางคนเรียกว่าฉีดให้ฝ่อ ซึ่งเป็นแนวทางจากต่างประเทศ การฉีดจะมีแพทย์ประเมินสภาพร่างกายและจิตใจผู้กระทำผิดก่อน ฉีดเฉพาะลักษณะคดีที่กระทำผิดซ้ำคดีทางเพศ แต่ไม่ใช่กับคดีคุกคามทางเพศ เช่น มองนม จับนม และการฉีดก็ต้องพิจารณาอีกว่าจะให้ยามีฤทธิ์ 2, 3 หรือ 6 เดือน เพราะคงไม่ใช่ฉีดให้ฝ่อตลอด แนวทางนี้คงต้องศึกษาให้ละเอียดอีกครั้ง

2.จัดเก็บดีเอ็นเอผู้ต้องขังคดีทางเพศร้ายแรง เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการติดตามการกระทำความผิดซ้ำ ซึ่งมีผลงานวิจัยจากต่างประเทศรองรับ ว่าการตรวจดีเอ็นเอเก็บไว้ จะทำให้รู้ทันทีและเฝ้าระวังได้

Advertisement

และ 3.ลงทะเบียนและเปิดเผยข้อมูล ของผู้ต้องขังคดีความผิดเกี่ยวกับเพศร้ายแรง เพื่อติดตามผู้เคยกระทำผิดที่เป็นกลุ่มเสี่ยงออกมากระทำผิดซ้ำ จริงๆ ปัจจุบันมีกลไกตรงนี้อยู่ เพียงแต่จะทำอย่างไรดำเนินการให้จริงจัง ระหว่างกรมคุมประพฤติ และหน่วยงานท้องถิ่น เช่น กรณีผู้พ้นโทษย้ายที่อยู่ จะเฝ้าระวังอย่างไร แต่ขณะเดียวกันการดำเนินการก็จะต้องไม่ละเมิดสิทธิด้วย

อย่างไรก็ตาม จะเสนอเข้าสภาฯในการประชุมสมัยนี้ หรือคาดว่าประมาณต้นเดือนกันยายน เชื่อว่าจะลุล่วงด้วยดี เพราะใน กมธ.วิสามัญฯ มีตัวแทนจากทุกพรรคเข้าร่วม

ศ.โกวิทย์ พวงงาม ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา การข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

– ‘บุ๋ม’ พูดจริง ไม่มั่ว! ปธ.อนุ กมธ.ยัน หวังอุดช่องว่าง กม.อาญา ลดเหตุรุนแรงทางเพศ

– องค์กรสตรี เชื่อคนส่วนใหญ่แยกแยะได้ มองนมผิดหรือไม่ผิด ชี้ใครเห็นด้วย ถือว่าสนับสนุนคุกคามทางเพศ

– บุ๋ม-ปนัดดา สวนกลับ เอ๋-ปารีณา ‘ถ้าไม่ฉลาดให้อยู่เงียบๆ’ หลังโดนแซะ ‘มั่ว’ กฎหมายข่มขืน


 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image