ประดาป-ชาญวิทย์ เล่าเป็นฉาก ‘ผมอยากให้ทำหนัง’ จอมพล ป. ลงเรือกำนันโจ๊ดซิ่งฝ่ามรสุม

ประดาป-ชาญวิทย์ เล่าเป็นฉาก ‘ผมอยากให้ทำหนัง’ จอมพล ป. ลงเรือกำนันโจ๊ดซิ่งฝ่ามรสุม

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7 สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) พร้อมด้วยพันธมิตรสำนักพิมพ์ ร่วมจัดงาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22” ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม-8 เมษายนนี้

บรรยากาศเมื่อเวลา 14.00 น. นายประดาป พิบูลสงคราม และ ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ร่วมแจกลายเซ็นหนังสือ “ก้าวสุดท้ายจากแผ่นดินไทย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ฝากไว้ที่หาดเล็ก ตราด” โดยมีผู้ต่อแถวเข้าร่วมจำนวนมากทุกเพศทุกวัย

ต่อมา ในช่วงเวลา 18.00 น. นายประดาป และ ศ.ดร.ชาญวิทย์ ร่วมกิจกรรม มติชน สเปเชียล ทอล์ก “ก้าวสุดท้ายของจอมพล ป. ผ่านความทรงจำ”

Advertisement

ศ.ดร.ชาญวิทย์กล่าวว่า เมื่อเกิดไฟใหม่ใหญ่ที่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 2497 ซึ่งเป็นไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยครั้งหนึ่ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ไปเยี่ยมชาวบ้าน นอกจากนี้ ตนเคยติดตามแม่บ้านทั้งหลายในหมู่ผู้ว่าราชการจังหวัดไปชมการสดงละคร “อานุภาพพ่อรามคำแหง” ที่โรงละครสนามเสือป่าในกรุงเทพฯ

“จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เดินทางมาดู ยืนทางด้านหลังของโรงภาพยนตร์ ทุกคนก็หันไปดูว่ามี จอมพล ป. พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิง ละเอียด พิบูลสงคราม มาเข้าชมด้วย นี่คือความทรงจำเกี่ยวกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่จำความได้” ศ.ดร.ชาญวิทย์กล่าว

Advertisement

ด้านนายประดาปกล่าวว่า ตนจำอะไรไมได้เลย ตนเกิดปี 2492 อายุ 8 ขวบ ได้สัมผัสจอมพล ป. พิบู สงคราม ได้เพียงแค่ 5 ปี และในช่วงนั้นชีวิตจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความวุ่นวายมากในการรัฐประหาร

“สิ่งที่อยู่ในหัวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม มี 2 กรณี

1 วันเกิดจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีทั้งดนตรี การร้องเพลง การเต้นรำ สุนทราภรณ์ ทั้งเต้นรำเยอะมากๆ มีทั้งคนวิ่งเล่น เต็มไปหมด

2 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปดูงานที่อยุธยา จำว่าได้นั่งรถคันเดียวกัน” นายประดาปกล่าว

เมื่อถามว่า หลังรัฐประหารเกิดอะไรขึ้นบ้างกับ ในช่วงเดือนกันยายน 2500 ครอบครัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง?

นายประดาปกล่าวว่า ตอนนั้น 8 ขวบ ยังเด็ก แต่จำได้ว่าเกิดขึ้นตอนกลางคืน จอมพล ป. พิบูลสงคราม อยู่ที่บ้านชิดลม แต่ตนอยู่ที่บ้านซอยสันติสุข พี่สาวเล่าให้ฟังว่าวันรุ่งขึ้นทุกคนไปบ้านชิดลมเพื่อฟังวิทยุว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง พ่อของตนเป็นนาวิกโยธิน อยู่ที่สัตหีบ จังหวัดชลบุรี ก็ฟังข่าวกัน

เมื่อถามว่า หลังรัฐประหาร ในช่วง 16 กันยายน 2500 การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

ศ.ดร.ชาญวิทย์กล่าวว่า การรัฐประหารสมัยนั้นตนอายุได้ 16 ปี มาเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ และได้รับรู้การรัฐประหารครั้งนั้น เมื่อนายประดาปได้ชวนมาทำงานเกี่ยวกับหนังสือ “ก้าวสุดท้ายจากแผ่นดินไทย ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม” ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ในวันที่ 16 17 18 กันยาน 2500

“เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะเป็นการสิ้นสุดสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านเป็นนายกฯที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของการเป็นนายกรัฐมนตรี 15-16 ปี เป็น 2 สมัยที่สำคัญมาก

สมัยที่ 1 ตรงกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

สมัยที่ 2 ตรงกับการต่อสู้สงครามเย็น ระหว่างโลกเสรี ที่มีสหรัฐเป็นผู้นำ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียต

ดังนั้น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน 3 วัน มีผลกระทบต่อการเมืองไทยอย่างมาก ในปี 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเรียกได้เป็นแขนซ้ายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในขณะที่ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นมือขวา เป็นการเมืองสามเส้า จบลงด้วยการรัฐประหาร ยึดอำนาจ และจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้หนีออกจากประเทศไทยไป” ศ.ดร.ชาญวิทย์กล่าว

ศ.ดร.ชาญวิทย์กล่าวว่า การทำงานครั้งนี้ตนมองเห็นถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้น

“จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีภาพเป็นดำลบ ในขณะที่ภาพของท่านปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง ก็เป็นภาพดำลบ โดยทั้งสองท่านถูกป้ายสีให้เป็นบุคคลน่ารังเกียจ

นักศึกษาไม่กล้าเอ่ยนามท่านปรีดี พนมยงค์ ว่าเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง เราไม่กล้าเอ่ยชื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อธิการบดี เป็นระยะเวลากว่า 5 ปี เชื่อว่านักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่รู้ว่าท่านเคยเป็นอธิการบดี ประวัติศาสตร์ถูกลบออกไปจากเรื่องราวทั้งหมด รวมถึงตัวผมเองด้วย

ผมเริ่มตาสว่างเมื่อช่วงส้มหล่น ได้ไปเรียนหนังสือที่สหรัฐอยู่ 7 ปี ชีวิตก็เปลี่ยนไป ได้อ่านหนังสือในห้องสมุด มหาวิทยาลัยต่างประเทศ ได้อ่านหนังสือปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในต่างประเทศจำนวนมาก เราเริ่มคิดว่าภาพดำมืดสนิทมันไม่ใช่ เราคิดว่ามันมีอะไรอยู่ตรงกลางระหว่างดำสนิทกับขาวสะอาดหมดจด ซึ่งมันไม่ใช่

ในแง่ประวัติศาสตร์มีหลายด้าน อย่างน้อยเราต้องดู 2 ด้าน แต่เราจะเชื่อด้านใด ด้านหนึ่งที่ถูกล้างสมองมาไม่ได้ ดีใจอย่างมากที่มาร่วมงานกับท่านทูตประดาป” ศ.ดร.ชาญวิทย์กล่าว

เมื่อถามว่า เพราะเหตุใดจึงอยากตีพิมพ์หนังสือก้าวสุดท้ายจากแผ่นดินไทย ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม?

นายประดาปกล่าวว่า เป็นเรื่องบังเอิญ คุณอาของตนซึ่งเสียชีวิตไปแล้วได้เล่าถึง นายประเสริฐ ศิริ หรือ “กำนันโจ๊ด” ซึ่งเป็นคนพา จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลี้ภัยไปยังเกาะกง ประเทศกัมพูชา โดยทางเรือ

“ตอนนั้นผมอยู่กระทรวงต่างประเทศก็สงสัย กำนันโจ๊ดทำอะไรอยู่ที่จังหวัดตราด ทราบว่าเป็นประธานหอการค้าตราด รู้เพียงแค่นั้น ผมก็ได้ไปแนะนำตัว โดยเพิ่งทราบว่ามีบทความที่เขียนออกมาถึงเรื่องดังกล่าว 22 ตอน

ผมนำบทความกว่า 22 ตอนมาอ่าน ปรึกษาอาจารย์ณัฐพล ใจจริง ให้ช่วย อาจารย์ก็เขียนคำนำให้ และบอกว่าต้องมีคำนิยมด้วย ก็เลยขอให้อาจารย์ชาญวิทย์เขียน

ในตอนแรกหนังสือบางมาก ก็พยายามหาอะไรเสริมขึ้นมา อาจารย์ชาญวิทย์แนะนำให้มาพิมพ์ที่สำนักพิมพ์มติชน ก็คิดว่ามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร นับว่าเป็นเรื่องโชคดีมากๆ” นายประดาปกล่าว

เมื่อถามว่า อ่านต้นฉบับ 22 ตอนของกำนันโจ๊ดแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง?

นายประดาปกล่าวว่า ช่วงรัฐประหารทางบ้านก็เป็นห่วงจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งไปทางเรือ แต่รายละเอียดไปอย่างไรไม่รู้ พอมาอ่านก็ตั้งคำถามว่าทำไมถึงเสี่ยงออกไปตายเอาดาบหน้า จริงๆ ก็เข้าใจ แต่ลึกๆ แล้วก็อยากรู้ว่าทำไม โอกาสตายมัน 50-50 ท่านก็คงจะวัดดวงเอา เพราะหากอยู่ประเทศไทยคงยุ่งขึ้นจริงๆ

“การทำหนังสือเล่มนี้ได้ หน้า 42 ท่านเขียนเป็นบัตรทิ้งไว้ที่ทำเนียบ 4 ข้อ ด้วยกัน

1.ไม่อยากให้รบกันเอง
2.จะกลับมาเมื่อรัฐบาลมีประชาธิปไตย
3.จะกลับมาโดยวิธีทางประชาธิปไตย
4.ท่านบอกกับมือซ้าย และมือขวา (จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์) ว่า ยังญาติดีกับผู้ครองอำนาจ เพราะเป็นผู้ใต้คำบัญชาที่ดีมาก” นายประดาปกล่าว

เมื่อถามถึงมุมมองกำนันโจ๊ด บุคคลที่เกี่ยวข้องประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ศ.ดร.ชาญวิทย์กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกความทรงจำของกำนันโจ๊ดในที่อายุ 19 ปี ในขณะนั้นได้พบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 3วั น คือ 16-17-18 กันยายน 2500 ท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปลงเรือที่บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เพื่อข้ามไปเกาะกง ประเทศกัมพูชา จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากกัมพูชา เพราะมีความสัมพันธ์ดีมากกับประเทศไทย

“กำนันโจ๊ดได้เพียงส่งที่เกาะกงเท่านั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ไปลี้ภัยการเมืองที่ญี่ปุ่น ต่อมาได้ไปบวชที่พุทธคยา อินเดีย” ศ.ดร.ชาญวิทย์กล่าว

นายประดาปเสริมว่า ตนประทับใจกำนันโจ๊ด ซึ่งเป็นหนุ่มวัย 19 ปี ที่กล้าออกเรือไปทางทะเล

“อยากให้ทำหนัง เจอทั้งมรสุม คลื่นใหญ่ เป็นเราต้องสวดมนต์แล้ว เขาทั้งประคับประคองเรือในทะเลเก่งมากๆ” นายประดาปกล่าว

ศ.ดร.ชาญวิทย์กล่าวว่า ตนคุยกับนักสร้างหนังแนวอินดี้ เรื่องนี้มีการบรรยายที่น่าตื่นเต้น ทำอย่างไรให้เรือเล็กๆ ฝ่าคลื่นมรสุม เคลื่อนตัวไปออกทะเล ให้คลื่นพัดไปยังเกาะกง ประเทศกัมพูชาได้ และไปช่วงเดือนกันยายนเป็นช่วงมีมรสุมที่หนักมากๆ จึงทำให้เราจินตนาการ

“มันโหดจริงๆ สามารถจะบรรยายความรู้สึกที่เสี่ยงภัยมาก ที่จะเสี่ยงภัยออกไปพ้นจากประเทศไทย ไปแล้วไม่กลับมาด้วย เพราะท่านบอกชีวิตของท่านมันจบแล้ว ท่านไปบวช ไปเก็บดินบริเวณพุทธสถานต่างๆ” ศ.ดร.ชาญวิทย์กล่าว

ศ.ดร.ชาญวิทย์กล่าวด้วยว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนักเรียนที่เก่ง นักเรียนทุนกระทรวงกลาโหมไปเรียนฝรั่งเศส 3 ปี เป็นนายทหารที่มีสำนึกทางด้านประวัติศาสตร์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image