คนตกสีที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง : จะ ‘ซุปเปอร์แลนด์สไลด์’‘โซ่ข้อกลาง’ หรือ ‘คนกลาง’…

บรรยากาศบนถนนตอนนี้เต็มไปด้วยป้ายหาเสียง ที่ไม่ใช่ป้ายหาเสียงระดับพรรคการเมืองด้วย แต่เป็นป้ายหาเสียงระดับผู้สมัครที่เริ่มปูพรมปักป้ายกันไปแทบทุกเขต 

เล่นเอาเสียความมั่นใจไปเลยว่า หรือนี่เราตกข่าวไปหรือเปล่าว่าเขายุบสภาประกาศวันเลือกตั้งกันไปแล้วโดยไม่รู้เรื่องหรือเปล่านี่

แม้ว่าเขตที่คาดหมายและวางตัวผู้สมัครกันไว้ในตอนนี้ สุดท้ายก็อาจจะเคลื่อน จากผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันศุกร์ที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา จะชี้ว่า การแบ่งเขตของ กกต.ที่ผ่านมา ซึ่งรวมเอาคนต่างด้าวและผู้ไร้สัญชาติเข้าเป็นราษฎรในบางพื้นที่ด้วยนั้นไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ทำให้อาจจะต้องมีการแบ่งเขตกันใหม่ก็ตาม 

ท่าทีที่น่าสนใจที่สุดในช่วงเวลาเดียวกันนี้ คือโพสต์ใน Fan page Official ของ พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เรื่องทำไมต้องก้าวข้ามความขัดแย้ง

Advertisement

เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นคำอธิบายว่า ทำไมเขาถึงยังไปต่อที่จะนำพรรคพลังประชารัฐดำเนินบทบาททางการเมือง หลังจาก พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา แยกตัวออกไปตั้งพรรคใหม่ 

ความน่าสนใจอย่างยิ่งคือการยอมรับว่า ความขัดแย้งทางการเมืองไทยในทุกวันนี้ เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอิลิท” (สะกดตามโพสต์ของเจ้าตัว) ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการกำหนดความเป็นไปของประเทศ เป็นกลุ่มคนที่ไม่เชื่อมั่นต่อระบอบประชาธิปไตยและความรู้ความสามารถของประชาชนในการเลือกนักการเมืองเข้ามาครอบครองอำนาจบริหารประเทศ เห็นดีเห็นงามกับการหยุดประชาธิปไตยเพื่อปฏิรูปหรือปฏิวัติ” … โดยอ้างว่าเป็นไปด้วยความหวังดีหรืออะไรก็ตามแต่ ซึ่งในที่สุดกลุ่มอิลิทผู้ยึดครองอำนาจด้วยวิธีพิเศษนี้ จะกลายเป็นฝ่ายอำนาจนิยม 

กับคนที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง คือฝ่ายประชาธิปไตยเสรีนิยมคือ ประชาชน และนักการเมืองที่ประชาชนรัก ศรัทธาและเชื่อถือ 

Advertisement

จุดที่น่าสนใจอย่างยิ่งของอย่างยิ่งคือ ท่อนข้อความของ พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ว่า “…มีความจริงอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ นั่นคือ แม้ในการเลือกตั้งทุกครั้งผู้ยึดครองอำนาจด้วยวิธีพิเศษจะตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาสู้ ซึ่งแม้จะหาทางได้เปรียบในกลไกการเลือกตั้ง แต่ผลที่ออกมาฝ่ายอำนาจนิยมจะพ่ายแพ้ต่อฝ่ายประชาธิปไตยเสรีนิยมทุกคราว…”

แปลออกมาแบบไม่อ้อมค้อม คือการยอมรับกันตรง ๆ นั่นแหละว่า ชัยชนะ (ที่จริงๆ จะเรียกว่าชนะได้หรือไม่ก็ยังน่ากังขา) ในการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐนั้น มาจากการเล่นโกงและอาจจะหมายรวมถึงการแต่งตั้ง 250 .. มาเป็นพรรค คสช.” ล่วงหน้าไว้เลือกนายกฯในสภาด้วย 

ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เป็นการยอมรับจากฝ่ายผู้กระทำการเอง ว่าที่ผ่านมานั้น การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญหลังการรัฐประหาร เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม เป็นไปโดยมุ่งหวังที่จะสืบทอดอำนาจ

แม้ว่าข้อความนี้ พล..ประวิตรจะไม่ได้เป็นคนเขียนหรือเรียบเรียงพิมพ์เอง แต่ด้วยในตอนท้ายนั้นลงไว้ว่า “…เนื้อหาของจดหมายทุกฉบับที่จะเกิดขึ้น ผ่านการตรวจทานจากผมแล้ว และผมขอรับผิดชอบทุกตัวอักษร…” พร้อมลงชื่อ พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ดังนั้นถ้าเป็นภาษากฎหมาย ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกฎหมายปิดปากที่ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของ พล..ประวิตรเองที่จะมาปฏิเสธภายหลังไม่ได้

ส่วนคำตอบของคำถามที่จดหมายฉบับนี้ตั้งไว้ว่าทำไมต้องก้าวข้ามความขัดแย้งนั้น พล.. ประวิตรเห็นว่าเป็นเพราะ “…ต้นตอของปัญหาที่สร้างความขัดแย้ง ขยายเป็นความแตกแยก ระหว่าง ฝ่ายอำนาจนิยมกับฝ่ายเสรีนิยมที่หาจุดลงตัวร่วมกันไม่ได้ เพราะพยายามหาทางให้ฝ่ายตัวเองชนะอย่างเด็ดขาดทำลายอีกฝ่ายให้สิ้นสูญ…”

ถ้าเรายอมรับกันได้อย่างที่ พล..ประวิตรออกมาชี้ว่า ความขัดแย้งนี้เกิดจากกลุ่มคนที่แบ่งคร่าวๆ ออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มอิลิท ที่ไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งรวมถึงคนที่เชื่อมั่นในการปกครองโดยอิลิท กับกลุ่มผู้คนที่เชื่อในประชาธิปไตยและกลไกทางการเมืองและนักการเมือง ต้องยอมรับในการบริหารปกครองโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว การเลือกตั้งครั้งที่กำลังจะมาถึงนี้ เป็นการเลือกตั้งที่ต่อสู้กันระหว่างอุดมการณ์ระหว่างคนสองฝั่งสองฝ่ายนี้ที่ชัดเจนที่สุด

เพราะนี่คือการเลือกตั้งหลังจากความขัดแย้งทางความคิดที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ..2563 ซึ่งแบ่งแยกผู้คนออกเป็นคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่แบ่งคนออกเป็นเสรีนิยมกับอนุรักษนิยมเป็นสลิ่มกับสามกีบ 

เราแบ่งแยกแตกต่างกันจนอย่าปฏิเสธให้ยากว่าอุดมการณ์สองขั้วนี้ไม่มีจริง

แต่ในระหว่างคนทั้งสองฝั่งสองฝ่ายนี้ ถ้าในทางการเมืองผ่านตัวแทนพรรคการเมืองแล้วก็ยังไม่สู้จะมีเอกภาพมากนัก 

ในส่วนของฝ่ายประชาธิปไตยนั้นเคยกล่าวไปแล้ว ว่าก็มีแบ่งเป็นฝ่ายแดงคือฝ่ายที่เชื่อมั่นกับพรรคเพื่อไทยที่สืบทอดมาจากพรรคไทยรักไทย กับฝ่ายส้มที่เชื่อในแนวทางของพรรคก้าวไกลที่สืบทอดมาจากพรรคอนาคตใหม่

ส่วนฝ่ายอิลิทหรืออนุรักษนิยมเองก็ยิ่งแตกแขนงออกไปอีก มีทั้งเป็นแฟนพันธุ์แท้ของพรรคประชาธิปัตย์ที่เลือกพรรคนี้โดยไม่ต้องมีเหตุผลใดๆ คนที่อยากให้ประยุทธ์เป็นนายกฯต่อไป แต่งอนที่ทำไมถึงปล่อยให้มีกัญชาขายกันอย่างเสรี (ผมมีคนรู้จักเป็นสายข้าราชการอนุรักษนิยม ผู้ไม่เคยหืออืออะไรกับการบริหารปกครองของรัฐบาลประยุทธ์ ยอมรับได้ เข้าใจ แก้ต่างให้ทุกอย่างมาตลอด 6-7 ปี แต่มาแตกเอาเพราะเรื่องกัญชานี่เอง) ฝ่ายที่เห็นว่าประยุทธ์และรัฐบาลยังไม่เด็ดขาดพอกับเรื่องมาตรา 112 แต่จะให้ไปเลือกพรรคที่มุ่งเป้าเอาจริงในเรื่องนี้แต่ไม่มีศักยภาพพอก็กลัวแพ้คะแนนเสียงตกน้ำ ส่วนพรรคใหญ่ก็ไม่ไว้วางใจว่าจะไปจับมือกับอีกขั้วหรือไม่ ฯลฯ 

แม้แต่กับ 250 ..เอง ที่ก่อนหน้านี้เราเห็นว่าเป็นเอกภาพ ยกมือกันพึ่บพั่บไปในทางเดียวกันหมด ในช่วงปีหลังๆ ก็เริ่มเห็นว่ามีกรณีที่แตกแถวอยู่บ้าง แม้จะแค่ระดับหลักหน่วยก็ตาม และเมื่อมีการ แยกตัวออกไปของแกนนำคณะรัฐประหารออกเป็นสองขั้วเช่นนี้ เรายิ่งไม่แน่ใจว่า ส..ที่แต่งตั้งโดย คสช.นั้น มีสัดส่วนที่ใครเป็นผู้ควบคุมได้จำนวนเท่าไรกันแน่ 

ผลของบทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ที่กำหนดให้ 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภา

ชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ซึ่งก็คือ ส..รวม ส.. 750 เสียง ร่วมกันเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐสภาชุดนี้เปิดประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ดังนั้นระยะเวลา 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ จึงจะสิ้นสุดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2567 ดังนั้น ผู้ที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี จำเป็นจะต้องมีเสียงสนับสนุนจากสมาชิก ส..และ ส.. รวมกันอย่างไรก็ได้ ให้ได้อย่างน้อย 376 เสียง หรือถ้าจะให้ปลอดภัยจริงๆ ก็ต้องมีคะแนนระดับกันงูเห่าไว้อีกสักราวๆ 20 เสียง คือ 396-400 เสียง 

ซึ่งการรวมเสียง ส..ให้ได้ขนาดนั้น จาก ส..ทั้งสภา 500 ที่นั่งนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ใช้ว่าจะเป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว

หนทางที่มีความเป็นไปได้ที่ฝ่ายประชาธิปไตยนั้นจะชนะอย่างเด็ดขาดนั้นก็พอมีอยู่ นั่นคือ พรรคใหญ่ที่สุดและพรรคลำดับรองของฝ่ายประชาธิปไตย คือ พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล ซึ่งจริงๆ แล้ว ผู้สนับสนุนของทั้งสองพรรคนี้ก็เป็นเสียงส่วนใหญ่ของคนฝ่ายประชาธิปไตยทั้งประเทศอาจจำเป็นต้องวางแผนการลงคะแนนกันอย่างจริงจัง อย่างที่บางคนเรียกว่าการเลือกตั้งอย่างมียุทธศาสตร์คือ ในเขตใดที่แน่ใจว่าพรรคใดจะชนะแน่ๆ ให้ผู้ที่ยินดีจะเลือกพรรคเพื่อไทยหรือพรรคก้าวไกล เทคะแนนเลือกผู้สมัครพรรคที่น่าจะมีโอกาสชนะในเขตนั้น 

ส่วนระบบบัญชีรายชื่อ ก็เลือกพรรคที่แต่ละคนชอบกันไป เพราะในรอบนี้ คะแนนระบบบัญชีรายชื่อจะถูกจัดสรรตามสัดส่วนที่แต่ละพรรคจะได้รับจริงตามคะแนนเสียงทั้งประเทศแล้วถ้าไม่มีอภินิหารการคิดคะแนนอะไรอีก 

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดมหาพสุธากัมปนาทหรือ super landslide และเมื่อรวมกับพรรคแนวร่วมฝ่ายประชาธิปไตยอื่นๆ แล้ว ก็เพียงพอที่จะสร้างปาฏิหาริย์ให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลและเลือกตัวนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามจากฝ่ายนี้ได้อย่างเด็ดขาด โดยไม่ต้องสนใจเสียง ส..เลย

เมื่อชนะขาด จัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว ก็รออีกไม่นานที่ ส..ชุดนี้จะพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระที่เหลืออีกราว 1 ปี จากนั้นแม้จะมี ส..ที่มาจากการสรรหาจากกลุ่มอาชีพ แต่ถึงอย่างไร ส..จากการสรรหานั้นก็ยังมีความเชื่อมโยงจากประชาชน ก็น่าจะมีความรู้สึกละอายแก่ใจพอที่จะไม่ขัดต่อความต้องการของประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้กลับสู่กติกาที่มีความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ได้ และนี่คือการทำลายระบอบรัฐประหารที่ยืดเยื้อยาวนานในรอบนี้ให้สิ้นสูญได้ในที่สุด

แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งแบบยุทธศาสตร์นี้ก็เคยมีผู้เสนออยู่หลายครั้งหลายคราว แต่ก็ถูกต่อต้านตลอดมาเช่นกัน ว่าเป็นการดูถูกประชาชนบ้าง ดูถูกพรรคของพวกเขาว่าไม่มีสิทธิชนะบ้าง (เพราะการยอมรับว่าให้เทคะแนนให้อีกพรรคหนึ่งเท่ากับแปลว่ายอมรับว่าพรรคของตัวเองไม่น่าจะชนะในเขตนั้น) 

ดังนั้นแนวทางที่จะทำให้เกิดมหาพสุธากัมปนาทนี้จึงเป็นทฤษฎีในกระดาษ ที่พูดง่าย แต่ทำ (โคตร) ยาก 

เช่นนี้ ก็ไม่แปลกใจที่ทำไม พล..ประวิตรจึงเสนอแนวทางก้าวข้ามความขัดแย้งซึ่งเขาเองมองว่าเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด แต่ก็ขึ้นกับว่าฝ่ายประชาธิปไตยจะพอยอมรับได้หรือไม่ก็เท่านั้นเอง

อนึ่ง มีอีกเรื่องที่ซ่อนอยู่ในรัฐธรรมนูญ ที่หลายท่านอาจจะหลงลืมกันไปแล้ว แต่อาจจะต้องเตือนกันอีกครั้ง เพราะเรื่องนี้ยังมีโอกาสที่จะนำมาใช้ และวาระที่อาจจะได้ใช้นั้นก็ใกล้เข้ามาแล้ว

คือบทเฉพาะกาล มาตรา 272 นอกจากวรรคหนึ่ง ที่ให้ ส..มาร่วมเลือกตัวนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังมีบทบัญญัติในวรรคสอง ที่ให้ ส..และ ส..รวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เพื่อให้เสนอชื่อนายกฯคนนอกที่ไม่อยู่ในรายชื่อนายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ก็ได้ด้วย และสามารถที่จะใช้เสียงอีกสองในสามเพื่อรับรองชื่อคนนอกผู้นั้นให้ลงชิงตำแหน่งนายกฯได้

จะเป็นอย่างไร ถ้า ส..ไม่สามารถรวมตัวกันจนได้เสียงข้างมากเกินกว่า 376 เสียง พอที่จะเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ และ ส..ทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด เกิดจะพร้อมใจกันงดออกเสียงจนไม่อาจจะเกิดกรณีที่มีนายกรัฐมนตรีที่ได้รับเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของที่ประชุมรัฐสภาได้

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า เราไม่รู้จริงๆ ว่า ส..ทั้ง 250 คนนี้ มีสัดส่วนมาจากไหนอย่างไรบ้าง

และในบรรดาพี่น้อง 3 .นี้ ยังมีตัวละครลับอีกตัวหนึ่งที่ยังไม่ได้ออกโรงมาหน้าเวทีเลย

กล้า สมุทวณิช

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image