สุนทรภู่ ถึง ร้อยเอ็ด ของกระทรวงวัฒนธรรม โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

อนุสาวรีย์สุนทรภู่ (บ้านกร่ำ อ. แกลง จ. ระยอง) สร้างด้วยเหตุผลทางการเมือง และความเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องถิ่นกําเนิดสุนทรภู่ พ.ศ. 2498 ครบรอบ 100 ปี สุนทรภู่ ครั้งนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ทําพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์สุนทรภู่ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2500 มีรัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องหนีออกไปต่างประเทศ และรัฐบาลคณะรัฐประหารไม่จ่ายงบประมาณสร้างอนุสาวรีย์ ต่อมารัฐบาลหลังจากนั้นสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างจนสําเร็จ พ.ศ. 2513 ทําพิธีเปิดอนุสาวรีย์สุนทรภู่แห่งแรก วันที่ 25 พฤษภาคม

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) อ่อนแอในข้อมูลความรู้ตั้งแต่เรื่องประวัติสุนทรภู่ จนถึงเรื่องชื่อเมืองร้อยเอ็ด แล้วมีนักค้นคว้าสงสัยว่าผู้บริหารระดับสูงไม่แข็งแรงเรื่องวามรับผิดชอบ

ลักษณะอ่อนแอในข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม เป็นอันตรายต่อการศึกษาของไทยในโลกไม่เหมือนเดิม และเป็นปฏิปักษ์ต่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่รัฐบาลใหม่ต้องพิจารณาจงหนักเพื่อปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ

  • สุนทรภู่ เกิดวังหลัง ผู้ดีบางกอก

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เมื่อวันศุกร์ 23 มิถุนายน 2566เผยแพร่ข่าวผ่านสื่อโซเชียลมีความตอนหนึ่งว่า

“สุนทรภู่มีบิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ถือได้ว่าสุนทรภู่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวจังหวัดระยองอย่างแท้จริง”

Advertisement

ซึ่งเป็นข้อมูลเก่าที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนและขัดแย้งหลักฐานจริงที่สุนทรภู่เขียนบอกเอง จะยกมาอย่างสรุปสั้นๆ ดังนี้

สุนทรภู่เกิดในวังหลัง ปากคลองบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี (ปัจจุบันคือบริเวณโรงพยาบาลศิริราช) พบเบาะแสและหลักฐานที่สุนทรภู่เขียนไว้เองในโคลงนิราศสุพรรณ

(1.) เมื่อเป็นเด็ก สุนทรภู่อยู่ (กับแม่) ในเรือนแพปากคลองบางกอกน้อย บริเวณวังหลัง ดังนี้

Advertisement

    “วังหลังครั้งหนุ่มเหน้าเจ้าเอย

เคยอยู่ชูชื่นเชยค่ำเช้า”

     “เลี้ยวทางบางกอกน้อย ลอยแล

บ้านเก่าเหย้าเรือนแพ พวกพ้อง”

วังหลังเป็นวังที่ ร.1 พระราชทนให้ “หลาน” (คือ กรมพระราชวบวรสถาพิมุข) ส่วนบิดามารดาของสุนทรภู่เป็นบริวารใกล้ชิดติดสอยห้อยตามวังหลังตั้งแต่เป็นนายทองอินอยู่อยุธยา

เรื่องสุนทรภู่เกิดในวังหลัง พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) เรียงเรียงไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2456 (พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 21 ฉบับที่ 8 เดือนมิถุนายน หน้า 46-52)

(2.) สุนทรภู่เรียนหนังสือตั้งแต่เด็กจนโตอยู่สำนักวัดชีปะขาว (ปัจจุบันคือวัดศรีสุดาราม บางขุนนนท์) ในคลองบางกอกน้อย ดังนี้

   “วัดปขาวคราวรุ่นรู้   เรียนเขียน

ทำสูตรสอนเสมียน​  สมุดน้อย”

สำนักวัดชีปะขาวเป็นสถานศึกษาสำหรับลูกหลาน “ผู้ดี” วังหลัง (ส่วนลูกหลาน “ขี้ข้า” ชาวสวนไม่ต้องเรียน หรือเข้าเรียนที่นี่ไม่ได้)

(3.) เมื่อเป็นเด็กน้อย สุนทรภู่เคยตามเสด็จวังหลังไปวิ่งเล่นในสวนหลวง (ย่านวัดไก่เตี้ย บางขุนนนท์ ทุกวันนี้)

    “สวนหลวงแลสล้างล้วน​  พฤกษา

เคยเสด็จวังหลังมา   เมื่อน้อย”

สวนหลวงเป็นพื้นที่สวนต่อเนื่องกว้างขวางมากของวังหลัง เป็นที่เสด็จประพาสเป็นส่วนพระองค์ พร้อมบริวารบ่าวไพร่ใกล้ชิดเท่านั้น ซึ่งเป็นพยานหลักฐานชัดเจนว่า สุนทรภู่เป็นลูก “ผู้ดี” วังหลัง

ตระกูลพราหมณ์เมืองเพชรบุรี สุนทรภู่เขียนบอกไว้ในกลอนนิราศเมืองเพชร “ฉบับตัวเขียน” ที่พบใหม่จากสมุดข่อย เก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติ มีกลอนตอนหนึ่งเมื่อไปเยี่ยมญาติอยู่โบสถ์พราหมณ์เมืองเพชรบุรี ได้เขียนบอกว่าบรรพชนสายแม่สายพ่อเป็นเชื้อสายพราหมณ์เมืองเพชรบุรีที่สืบจากเมืองรามราช (อินเดียใต้) ดังนี้

เป็นถิ่นฐานบ้านพราหมณ์รามราชล้วนโคตราติย่ายายฝ่ายวงศา”

เรื่องนิราศเมืองเพชร “ฉบับตัวเขียน” อ. ล้อม เพ็งแก้ว (นักปราชญ์สยาม) ตรวจสอบชำระแลทำคำอธิบายอย่างละเอียดแล้วพิมพ์เผยแพร่หลายครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2529

“ความเท็จสิบเอ็ดประตู” เสื้อยืดมอบผู้ชนะเลิศการประกวดกลอนประกอบภาพในทริปวัฒนธรรม ‘ทุ่งกุลา 3,000ปี สตอรี่บรรพชน’ จัดโดยคณะครุศาสตร์ มรภ.ร้อยเอ็ด วันที่ 29 กรกฎาคม 2566
  • เมืองร้อยเอ็ดประตู อยู่ในอุรังคธาตุ

เมืองร้อยเอ็ดมีความเป็นมาของชื่ออยู่ในอุรังคธาตุ (หรือหนังสือตำนานพระธาตุพนม)มรดกความทรงจำแห่งโลก (จากการประกาศรับรองขยูเนสโก)

อยเอ็ด มีในหนังสืออุรังคธาตุว่า เมืองร้อยเอ็ดประตูเขียนบนใบลานเป็นตัวอักษรชัดเจนตรงไปตรงมา (ไม่เขียนเป็นตัวเล)

เมืองสิบเอ็ดประตู ไม่มีในหนังสืออุรังคธาตุ แต่ถูกบิดเบือนปลอมแปลงโดยข้าราชการเจ้าหน้าที่รัฐว่ามีในอุรังคธาตุฉบับอื่น ซึ่งเป็นเท็จ

พิพิธภณฑสถห่งชาติ ร้อยเอ็ด (สังกัด วธ.) เขียนบทความและจัดนิทรรศการอธิบายเรื่องชื่อร้อยเอ็ดมาจาก เมืองร้อยเอ็ดประตู ในอุรัคธาตุ แต่วัฒนธรรมจังหวัด ไม่ใส่ใจข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ฯ แห่งชาติ

ผู้บริหารระดับสูงของ วธ. ไม่ใส่ใจข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยไม่แก้ไขให้ตรงตามหลักฐาน แล้วอ้างว่าไม่เกี่ยวกับ วธ. กลับโยนให้จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งๆ ตนเองเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้น

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นหน่วยงานหลักในการเผยแพร่รักษาข้อมูลเรื่องสิบเอ็ดประตู นับตั้งแต่พุทธศักราช 2547 เป็นอย่างน้อย เรื่องนี้พบในเอกสารของปริญ รสจันทร์ (อาจารย์สอนประวัติศาสตร์เมืองร้อยเอ็ด ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด)ังนี้

หนังสือพิมพ์พิราบข่าว ฉบับเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2555 กล่าวถึงบทบาทของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ดในกิจกรรมการตั้งชื่อคำขวัญจังหวัดร้อยเอ็ดว่า

“…จนกระทั่ง พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งการบริหารจังหวัดอย่างบูรณาการ (CEO) นายนพพร จันทรถงผวจ.ร้อยเอ็ดสมัยนั้น มีนโยบายที่จะให้สิ่งดีๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้อยู่ในคำขวัญจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการปรับปรุงคำขวัญจังหวัด โดยให้ สนง.วัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นเจ้าภาพ และผลก็คือ “สิบเอ็ดประตูเมืองงาม” ก็ได้ปรากฏอยู่ในวรรคแรกของคำขวัญจังหวัด ด้วยความดื้อด้านและงี่เง่าของกรรมการพิจารณาคำขวัญจังหวัดฯ บางท่าน ที่ไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของเมืองร้อยเอ็ด…”

จากนั้นเป็นต้นมา แม้จะมีการทักท้วงทวงถามความถูกต้องแต่คงมีเพียงความเพิกเฉยไม่คิดแก้ไขให้ถูกต้อง เช่น เมื่อพุทธศักราช 2552 มีการจัดสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองร้อยเอ็ดซึ่งผลการสัมมนานั้นทุกคนยอมรับว่าเรื่องสิบเอ็ดประตูเป็นเรื่องที่ไม่จริง แต่ความรู้นี้กลับถูกปกปิดไว้ และคงมีการใช้คำขวัญจังหวัดแบบที่มีข้อมูลที่ผิดต่อไป

พ.ศ. 2558 สมัยที่นายสมศักดิ์ จังตระกุล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มีการตั้งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์จังหวัดร้อยเอ็ดอีกครั้ง โดยมีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นผู้ประสานงาน ครั้งนั้นมีคณะกรรมการทำรายงานข้อมูล ความหมายของคำว่าร้อยเอ็ด โดยย้ำว่าเรื่องสิบเอ็ดประตูเป็นข้อเสนอที่ไม่มีหลักฐาน แต่ความรู้นี้ก็ไม่ถูกเผยแพร่แต่ประการใด

[ขอบคุณอาจารย์ปริญ รสจันทร์ ที่เปิดโปงความจริงเรื่อง วธ.]

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image