บทเห่เรือนั่นของชาวเยว่ แต่ชู้รักนั้นของใคร? (Song of the Yue Boatman) ตอนที่ 1

Song of the Yue Boatman (ภาพจาก http://www.persee.fr/doc/clao_0153-3320_1991_num_20_2_1345)

ผู้เขียนพึ่งได้รับความรู้ใหม่จากผู้คนที่นิยมชมชอบในเรื่องราวความเป็นมาของไท-ไต ลากย้อนผูกสัมพันธ์ขึ้นไปถึงพวกเยว่ (Yue) ซึ่งตั้งถิ่นฐานมาแต่ครั้งโบราณหลายพันปีแถบชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของแผ่นดินจีน มีผู้นำคนสำคัญในยุคไม่ห่างพุทธกาลคือ โกวเจี้ยน และถือกันว่าเป็นพวกที่มีความเชี่ยวชาญทางน้ำมากกว่าพวกอื่นๆ จนปรากฏบทเพลงเห่เรือเชิงชู้รักอันโด่งดังขับขาน “Song of the Yue Boatman” ซึ่งอาจารย์ Zhengzhang Shangfang ได้ทำการถอดรหัสลับไว้ใน “Decipherment of Yue-Ren-Ge” ตั้งแต่ปี 1991 อธิบายว่า ผู้ฟังพวกฉู่ได้แปลงเสียงร้องมาเป็นสำเนียงจีนในแบบคาราโอเกะ รวมถึงใส่ความหมายด้วยถ้อยคำกวีในแบบฉบับ Old Chinese คัดมาเฉพาะที่ถอดความหมายเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้

“Oh ! what night is tonight, we are rowing on the river.

Oh ! What day is today, I get to share a boat with a prince.

The prince’s kindness makes me shy, I take no notice of the people’s
mocking cries.

Advertisement

Ignorant, but not uncared for, I make acquaintance with a prince.

There are trees in the mountains and there are branches on the trees,
I adore you, oh ! you do not know.”

ความหมายตามบทกวีออกทำนองของชู้รัก ระหว่างชายสามัญผู้แอบหลงรักเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ ในโอกาสที่ได้ร่วมล่องเรือกับเจ้าชาย จนลืมกลางวันและกลางคืน

แต่ถ้อยความหมายเหล่านี้ ก็มิใช่การแปลความแบบคำต่อคำ จึงทิ้งปริศนาเนื้อร้องเพลงเห่นี้ค้างคามาเป็นพันๆ ปี

Advertisement

จนเมื่อปี 1981 ศาสตราจารย์ Wei Qing-wen ได้ทดลองเอาคำของพวกไท-ไตสายจ้วงเข้าเทียบเคียง เพราะเชื่อว่าพวกเยว่นั้นเป็นพวกพูดภาษาไท-ไต และอาจารย์ Zhengzhang Shangfang ใช้เป็นต้นแบบในการแปลความหมายต่อมาในปี 1991 โดยเทียบกับคำของพวกไทย (สยาม) เป็นหลัก
คำแปลความหมายครั้งใหม่ เป็นดังนี้ (คำเยว่ในสำเนียงจีนบรรทัดบนและคำไทยบรรทัดล่าง)

โคลงที่หนึ่ง :

ɦgraams, ɦee, brons, tshuuʔ, ɦgraams
คล้ำ แฮ เพลิน เจอเจอะ คล้ำ

โคลงที่สอง :

la, thjang< khljang, gaah, draag, la, thjang, tju< klju
รา ช่าง กระ ดาก รา ช่าง แจว

โคลงที่สาม :

tju, khaamʔ, tju, jen, ɦaa, dzin, sa
แจว ข้าม แจว เยิ่น ฮา ชื่น สะสา

โคลงที่สี่:

moons, la, ɦaa, tjau<kljau, daans, dzin, lo
มอม รา ฮา เจ้า ท่าน ชิน รู้

โคลงที่ห้า:

srɯms, djeʔ<gljeʔ, sɦloi, gaai, gaa
ซุ่ม ใจ เรื่อย ใคร่ คะ

บทร้องตามการแปลความหมายใหม่

“Oh, the fine night, we meet in happiness tonight !

I am so shy, ah ! I am good at rowing.

Rowing slowly across the river, ah ! I am so pleased !

Dirty though I am, ah ! I made acquaintance with your highness the
Prince.
Hidden forever in my heart, ah ! is my adoration and longing.”
จะเห็นว่ามีความหมายใกล้เคียงทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ ยกเว้นในท่อนท้ายของแบบเก่าได้ใส่ถ้อยคำเพิ่มเข้ามา ซึ่งอาจารย์กล่าวว่าเป็นธรรมดาของภาษากวี

อย่างไรก็ตาม เมื่ออ่านบทความของอาจารย์ Zhengzhang Shangfang แล้ว พบว่คำในบทกวีจำนวนหลายคำเป็นคำควบกล้ำ ซึ่งคล้ายกับคำเดิมของพวกไท-ไตไปจนถึงอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีข้อสังเกตในตอนต่อไป

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

สพัฒน์ เจริญสรรพพืช เกิดที่จันทบุรี เมื่อ พ.ศ.2512 จบการศึกษาจากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางไปสำรวจเหมืองถ่านหินในป่าฝนดิบชื้นแห่งหมู่เกาะทะเลใต้ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลาหลายปี มีความสนใจพิเศษในด้านภาษาศาสตร์ จึงค้นคว้ารวบรวมข้อมูล พร้อมเสนอแนวคิดใหม่ผ่านบทความในชุด ‘สืบสานจากภาษา เชื่อมมหาสมุทร ขุดรากเหง้า คนไทยอยู่ที่นี่’ เผยแพร่ครั้งแรกใน ‘มติชนออนไลน์’

สพัฒน์ เจริญสรรพพืช เกิดที่จันทบุรี เมื่อ พ.ศ.2512 จบการศึกษาจากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางไปสำรวจเหมืองถ่านหินในป่าฝนดิบชื้นแห่งหมู่เกาะทะเลใต้ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลาหลายปี มีความสนใจพิเศษในด้านภาษาศาสตร์ จึงค้นคว้ารวบรวมข้อมูล พร้อมเสนอแนวคิดใหม่ผ่านบทความในชุด ‘สืบสานจากภาษา เชื่อมมหาสมุทร ขุดรากเหง้า คนไทยอยู่ที่นี่’ เผยแพร่ครั้งแรกใน ‘มติชนออนไลน์’

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image