บอร์ดอีวีถกพรุ่งนี้ เตรียมกำหนดปีจำหน่าย 100% ทำแผนรับมือรายได้ภาษีน้ำมันวูบ

บอร์ดอีวีถกพรุ่งนี้ เตรียมกำหนดปีจำหน่าย 100% รับเทรนด์โลก ทำแผนรับมือรายได้ภาษีน้ำมันเตรียมวูบ

นายกวิน ทังสุพานิช เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ซึ่งมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในวันที่ 24 มีนาคมนั้น ที่ประชุมจะหารือการกำหนดปีที่จำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี 100%ว่า จะเป็นปีใดในอนาคต เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับทิศทางโลกที่มุ่งไปสู่อีวี ซึ่งเป็นส่วนในแผนของทั่วโลกที่กำหนดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ ซึ่งไทยต้องเตรียมพร้อมทุกด้านในแง่ไฟฟ้าต้องเพียงพอ บนเชื้อเพลิงพลังงานสะอาด ดังนั้นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน จะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในแผนพลังงานชาติที่กำลังปรับปรุงใหม่ จะต้องปรับระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรองรับการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย ต้องสนับสนุนให้เกิดการปรับตัวรองรับ

อ่านข่าว
ธ.ก.ส. จ่อลดออกสลากออมทรัพย์ลง50% เกษตรกรไม่ถอนเงินฝากสภาพคล่องล้น
ต้อนรถเก่า5.6ล้านคันจำกัดซาก ก.อุตชงครม.คลอดมาตรการภาษีจูงใจเจ้าของ

อย่างไรก็ตามจะมีผลต่อการใช้ปริมาณน้ำมัน ภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่เป็นรายได้คลังจะลดลงไปด้วย จะกระทบไปยังโรงกลั่นน้ำมัน พืชพลังงาน ไบโอดีเซล เอทานอล เป็นโจทย์ที่ต้องคิด ร่วมกัน เช่น การปรับไบโอดีเซลไปสู่น้ำมันอากาศยานหรือเจ็ทได้หรือไม่ รวมไปถึงการปรับไปสู่เวชสำอางก์ การสร้างความต้องการใหม่ของ โรงกลั่นและปิโตรเคมี ที่ต้องวางแผนไปผลิดปิโตรเคมีทดแทนการผลิตน้ำมัน ดังนั้น รัฐบาลจึงวางแผนไปสู่ปิโตรเคมีเฟส 4 ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินควรเกิดหรือไม่ นั้นก็ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยส่วนตัวเห็นว่าควรยกเลิกจะดีกว่า

“แผนพลังงานชาติ ตอบโจทย์กระแสโลกที่มุ่งลดภาวะโลกร้อนโดยการกำหนดจุดยืนของไทยถึงแนวทางลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เข้มข้นเพื่อก้าวสู่การปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ เป็นแผนสมบูรณ์ภายในไม่เกินสิ้นปีนี้ก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี 2565-66 และแผนนี้จะชัดเจน ก่อนที่ไทยจะเข้าร่วมประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติปี 2564 ระหว่าง1-12 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งสหราชอาณาจักรและอิตาลีจะเป็นเจ้าภาพร่วม”นายกวินกล่าว

Advertisement

ทั้งนี้หากไทยไม่ประกาศจุดยืนดังกล่าวอาจกระทบต่อการส่งออกและการเข้ามาลงทุนของต่างประเทศ(เอฟดีไอ) ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยได้เนื่องมาตรการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เริ่มกลายเป็นประเด็นกีดกันทางการค้าในรูปแบบที่มิใช่ภาษี (เอ็นทีบี) เช่น สหภาพยุโรป(อียู) กำหนดคาร์บอน บอร์เดอร์ แอดจัสเมนท์ เมอชานนิซึม ซึ่งเป็นมาตรการ เก็บภาษีคาร์บอนต่อสินค้านำเข้าจากประเทศที่มีมาตรฐานการลดปริมาณคาร์บอนที่ต่ำกว่าอียูที่จะเริ่มในบางสินค้าก่อนคาดจะประกาศปี 2566

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image