นักกฎหมาย จี้ธปท.-ก.ล.ต. ย้อนดู ‘พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล’ ให้คริปโทฯ แลกเปลี่ยนสินค้าได้

นักกฎหมาย จี้ธปท.-ก.ล.ต. ย้อนดู ‘พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล’ ให้คริปโทฯ แลกเปลี่ยนสินค้าได้

นายพีรภัทร ฝอยทอง ทนายความและนักวางแผนการเงิน เปิดเผยถึงร่างหลักเกณฑ์ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการนำสินทรัพย์ดิจิทัล มาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการในทุกประเภท ว่า อยากให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กลับไปดูพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 (พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล) ซึ่งในคำนิยามก็มีการระบุไว้ว่า คริปโทเคอร์เรนซี เป็นหน่วยอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ หรือสิ่งอื่นใด หรือแม้กระทั่งโทเคนดิจิทัล ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (investment token) และโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (utility token) อย่างสิริฮับโทเคน มีการระบุไว้ว่าคนที่มีโทเคนตัวนี้ สามารถจ่ายค่าส่วนกลางในโครงการของแสนสิริได้ ถ้าเกิดประกาศนี้ออกมา แสนสิริก็จะไม่สามารถเปิดกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) กับผู้ประกอบธุรกิจในประเทศเพื่อรับชำระค่าบริการได้เลย

นายพีรภัทร ฝอยทอง ทนายความและนักวางแผนการเงิน

อย่างไรก็ตาม ร่างประกาศดังกล่าวไม่ได้ห้ามให้ประชาชนนำคริปโทไปชำระค่าสินค้าและบริการ แต่เป็นการห้ามผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับของ ก.ล.ต. ไปทำระบบให้กับผู้ประกอบการเอกชนต่างๆ เพื่อรับชำระด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล กลายเป็นว่าผู้ประกอบการเหล่านี้ก็ไปเปิดบริการกับแพลตฟอร์มต่างประเทศแทนได้ ซึ่งจะควบคุมไม่ได้เข้าไปอีก อีกทั้งจะเป็นการทำลายผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศ

ข่าวอื่น
09.00 INDEX กลยุทธ์ชู ประยุทธ์ จันทร์โอชา เลือกตั้งซ่อม ณ จตุจักร หลักสี่
รีบเลย! วันนี้ 9 โมงเช้า เปิดจองฉีดวัคซีนเข็ม 4 ไฟเซอร์-แอสตร้าฯ ผ่านค่ายมือถือ

Advertisement

นายพีรภัทรกล่าวว่า ต่อมาหลักการและเหตุผล ของร่างประกาศดังกล่าว ที่บอกไว้ว่ามีความผันผวน เช่นซื้อบิทคอยน์ราคา 2 ล้านบาท 3 วันต่อมาเหลือ 1.5 ล้านบาท ก็ไม่ควรมาซื้อสินค้าและบริการ แต่จะไปห้ามประชาชนก็ไม่ได้ เพราะต้องมีการรับความเสี่ยงด้านมูลค่ากันเองอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ไม่มีใครเอาคริปโทมาชำระเงินโดยตรง แต่ต้องมีการแปลงมูลค่าเป็นเงินบาทก่อนที่จะมีการชำระเงินออกไป

ข้อต่อมากลัวว่าจะทำให้เกิดการฟอกเงิน มองแล้วดูขัดกันอยู่ เพราะสิ่งที่ผู้ประกอบการในประเทศไทยต้องปฏิบัติตามกฎหมายป้องกันการฟอกเงินของไทยเองอยู่แล้ว เมื่อประชาชนอยากเปิด e-Wallet ก็ต้องมีการยืนยันตัวตน (KYC) อยู่แล้ว สามารถระบุตัวคนได้ง่าย ตามตัวได้ว่าเป็นใคร ต่อมาเรื่องความกังวลต่อเสถียรภาพทางการเงินที่ ธปท.อาจจะควบคุมนโยบายการเงินไม่ได้ มองว่าเป็นการคาดการณ์ซึ่งไม่รู้ว่าจะส่งผลดีผลไม่ดีในระยะยาว

 

Advertisement

“ตอนนี้ร่างประกาศดังกล่าวยังไม่มีสภาพบังคับใช้ โดยทุกคนสามารถเข้าไปแสดงความเห็นได้ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้ ถ้าเราไปแสดงการคัดค้านเยอะๆ ทาง ก.ล.ต.ก็ไม่สามารถออกประกาศบังคับใช้ได้ คล้ายๆ กับตอนที่จะออกประกาศให้คนซื้อคริปโทต้องมีเงิน 1 ล้านบาท ต่อมาประชาชนคัดค้านกันเยอะก็ไม่ได้มีกฎหมายฉบับนี้ออกมา ทั้งนี้ ก็เป็นความโปร่งใสของ ก.ล.ต.ที่ไม่ได้ลักไก่ออกฎหมายมา” นายพีรภัทรกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image