‘วรภพ’ จวกแรง!! มติ ‘กสทช.’ โหวตควบรวมทรู-ดีแทค สุดอัปยศ!

‘วรภพ’ จวกแรง!! มติ ‘กสทช.’ โหวตควบรวมทรู-ดีแทค สุดอัปยศ! โวย ทุนใหญ่อำนาจเหนือรัฐ

จากกรณี เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ที่ประชุม กสทช.มีมติ 3 ต่อ 2 เสียงรับทราบการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) หรือทรู และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค แบบมีเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ เพื่อเยียวยาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

สำหรับกรรมการ กสทช. 2 เสียง ที่ลงมติเห็นชอบกรณีดังกล่าว ประกอบด้วย นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. และนายต่อพงศ์ เสลานนท์ ส่วน กสทช. 2 เสียง ที่ไม่เห็นชอบ ประกอบด้วย นายศุภัช ศุภชลาศัย และนางพิรงรอง รามสูต ขณะที่ พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กสทช. งดออกเสียง เนื่องจากยังมีประเด็นปัญหาการตีความในแง่กฎหมาย จึงยังไม่สามารถพิจารณาได้อย่างชัดเจน โดยจะขอทำบันทึกในภายหลัง

ทั้งนี้ เนื่องจากการลงมติที่ประชุมมีคะแนนเสียงเท่ากัน ดังนั้น ประธานที่ประชุมได้ใช้อำนาจตามข้อ 41 ของระเบียบ กสทช. ว่าด้วยข้อบังคับการประชุม กสทช. พ.ศ.2555 ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

Advertisement

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม นายวรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก วรภพ วิริยะโรจน์ ระบุว่า

[ มติ (สุดอัปยศ) ของ กสทช. ที่ไม่น่าแปลกใจ ถ้าย้อนดูอิทธิพลของกลุ่มทุนใหญ่ ]

มติ กสทช.ที่เลวร้ายที่สุดคือการลงมติว่า กสทช.ไม่มีอำนาจในการหยุดการควบรวม ซึ่งหมายถึง ให้ทรูและดีแทคควบรวมกันได้ ยิ่งเกิดเป็นคำถามว่า แล้วถ้าต่อไป ทรูควบรวมกับเอไอเอส ผูกขาดเหลือเจ้าเดียว ก็หมายถึง กสทช.ไม่มีอำนาจในการหยุดการควบรวม กลายเป็นว่ารัฐไทยนั้นอาจจะไม่ได้คงอยู่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ “ประชาชน” หรือแม้แต่ “ชาติ” แต่กลายเป็นว่าเพื่อประโยชน์ของ “กลุ่มทุน” แทน

Advertisement

มตินี้ ทำให้ผมนึกถึงกฎกระทรวง กำหนดวันและเวลาฆ่าสัตว์ พ.ศ.2565 ที่เป็นกฎหมายที่แสดงถึงอภินิหารทางกฎหมายของกลุ่มทุนใหญ่ไทยได้เป็นอย่างดีที่สุด เพราะราวกับเป็นความบังเอิญที่กลุ่มทุนมาเขียนกฎหมายเสียเอง

กฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้ว่า โรงฆ่าสัตว์ทั้งหมด ห้ามฆ่าสัตว์ในวันพระวันเจ้า คือวันพระ, วันเข้าพรรษา และวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น แต่ยกเว้น “สัตว์ปีก” ที่แน่นอนว่า หมายถึง ธุรกิจไก่ ซึ่งย่อมเป็นที่รู้กันเป็นธุรกิจสำคัญของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ของประเทศไทย

คือถ้าจะบอกว่า รัฐไทยเป็นรัฐที่เชิดชูศาสนาหรือสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็คงจะยืนยันได้ไม่เต็มที่ ถ้าดูจากข้อยกเว้น สัตว์ปีก ของกฎหมายฉบับนี้

หรือประเทศไทยนี้ กลุ่มทุนใหญ่อาจจะมีอิทธิพลเหนือรัฐ สามารถสั่งยกเว้นได้ทุกหลักการ ขอเพียงเป็นผลประโยชน์ของกลุ่มทุน

ปล.ผมทราบเรื่องนี้จาก ส.ส.ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ที่ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีไปและได้คำตอบที่ก็ไม่แปลกใจเหมือนกับมติ กสทช.นี่แหละครับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image