เอสเอ็มอี ผวาตอกย้ำ “วิกฤตศก.โลก” ต้นเหตุแบงก์แช่แข็งปล่อยกู้-สุญญากาศเข้าถึงสินเชื่อ

เอสเอ็มอี ผวาตอกย้ำ “วิกฤตศก.โลก” ต้นเหตุแบงก์แช่แข็งปล่อยกู้-สุญญากาศเข้าถึงสินเชื่อ

เมื่อวันที่ 6 มกราคม นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยจากการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกมาเตือนว่า 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกสู่ภาวะถดถอย ว่า ประเด็นเศรษฐกิจโลกถดถอย ที่มาพร้อมกับเงินเฟ้อ และ อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เป็นประเด็นที่รับรู้กันมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ไม่ได้แปลกใจอะไรนัก

นายแสงชัย กล่าวว่า แต่การที่ ไอเอ็มเอฟ ออกมาย้ำเตือน ยิ่งสร้างแรงกดดันเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีและรายย่อยทั่วไป ส่งผลต่อสภาพต่อสภาพคล่องลดลงและเพิ่มภาระหนี้สิน กลายเป็นแรงกระตุ้นการเกิดภาระหนี้ของผู้ประกอบการหนักขึ้นอีกครั้ง ขณะที่ความกังวลต่อภาวะสุญญากาศของการทำงานก่อนเลือกตั้ง จะเป็นแรงกดดันต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและประเทศ

“เอสเอ็มอีและรายย่อย จะเจอวิกฤตถูกแช่แข็ง (freeze) เพราะธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อและปล่อยกู้จะชะลอหรือหยุดการปล่อยหรือเข้มงวดในเงื่อนไขจนไม่อาจกู้ได้ ซึ่งเราเห็นด้วยกับโครงการแก้หนี้ของรัฐบาล โดยการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งประกาศว่าปรับโครงสร้างหนี้ได้มาก 4-5 ล้านบัญชี แต่ที่ตามมาคือปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ผู้ประกอบการไปไหนต่อที่จะเพิ่มรายได้หรือหาเงินมาจ่ายหนี้ได้ในอนาคต” นายแสงชัย กล่าว

นายแสงชัย กล่าวว่า เพราะในวันนี้กู้ใหม่ยาก ขายของและสร้างรายได้ก็ไม่ได้เท่าเดิม ยิ่งมีกระแสการเตือนเรื่องเศรษฐกิจ การค้าทั่วโลก แย่ลง ต้นทุนก็สูงขึ้นทั้งเรื่องค่าไฟ แย่งแรงงาน หรือ วัตถุดิบนำเข้าราคาทรงตัวสูง ภาคส่งออกปีนี้ไม่น่าจะดีขึ้น การติดลบน่าจะยังเห็นได้อีกต่อจากปลายปีติดลบมา 2 เดือนแล้ว หรือ ภาคท่องเที่ยว ยังมุ่งเรื่องดึงชาวจีน แต่ประเทศอื่นๆ ก็ต้องเร่งด้วย ที่เร็วสุดคือประเทศในอาเซียนหรือเอเชียด้วยกัน เพื่อมีรายได้จากท่องเที่ยวทดแทนการส่งออก ที่อาจลดลงในบ้างเดือนของปีนี้

Advertisement

นายแสงชัย กล่าวว่า หากภายใน 3 เดือนจากนี้ รัฐยังไม่มีแผนกระตุ้นหรือบริหารจัดการเรื่องหนี้สินและสกัดภาวะสุญญากาศการเข้าถึงสินเชื่อไม่ได้ จะเห็นรายย่อยและเอสเอ็มอีเป็นหนี้เสียอีกมาก และเห็นผู้ประกอบการรายใหม่เป็นหนี้จะเสียอีกมากด้วย มีโอกาสสูงเกิดวิกฤตปิดกิจการหรือลดขนาดจะเกิดขึ้นมากอีกครั้ง

ฉะนั้น ในช่วงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ อยากให้รัฐบาล 1.เร่งส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกองทุนต่างๆ ของหน่วยงานรัฐในการช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ประกอบการในทุกมิติ ทั้งการเข้าถึงแหล่งเงิน การอบรมหรือเปลี่ยนอาชีพที่เหมาะสม และขยายช่องทางธุรกิจเดิมๆ

และ 2.ดึงหน่วยงานหรือองค์กรท้องถิ่น มาเป็นตัวขับเคลื่อน และแกนกลางบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานรัฐ เอกชน และสถาบันการเงิน อย่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีในทุกอำเภอ รวม 878 อำเภอ รับไม้ต่อหลังจากปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐ แล้วถึงสาขาแบงก์ และสาขาหน่วยงานรัฐ จัดทำโครงการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับพื้นที่

Advertisement

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง
:
ส.เอสเอ็มอี เขย่ารัฐ รับมือ 5 วิกฤต 7 ปัจจัยเสี่ยง 3 ลูกระเบิด ทำลายเศรษฐกิจไทย
: ‘รองพงษ์’ เปิดห้องถก กกร.ปมค่าไฟ รับปาก ก.พ.66 รื้อโครงสร้างลดภาระทุกกลุ่ม
: สกนช.จ่อกู้เงินเสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ รอเคาะ 9 ม.ค.นี้ คาดอนุมัติ 3 หมื่นล้าน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image