หนี้ครัวเรือน โคม่า! 10 ปีผ่าน พุ่ง 30% ไตรมาส 3/65 ทะลุ 86.8% ต่อจีดีพี เกินเบอร์เฝ้าระวัง

หนี้ครัวเรือน โคม่า! 10 ปีผ่านพุ่ง 30% Q3/65 ทะลุ 86.8% ต่อจีดีพี เกินเบอร์เฝ้าระวังแล้ว

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ว่า ปัญหานี้ครัวเรือนในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ขยับเพิ่มขึ้นกว่า 30% จากระดับ 59.3% ในปี 2553 โดยปี 2565 ในไตรมาส 3/2565 ตัวเลขอยู่ที่ 86.8% ต่อจีดีพี ขยายตัวจากปี 2564 ที่ระดับ 90.1% ต่อจีดีพี และปี 2563 อยู่ที่ 89.7% ต่อจีดีพี หลังเผชิญการแพร่ระบาดโควิด เศรษฐกิจหดตัวต่อเนื่อง หนี้ส่วนบุคคลและหนี้เกษตรกรโตเร็ว รวมถึงการทำนโยบายพักหนี้ทำให้หนี้ไม่ลดลง อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวที่ยังไม่มากพอที่จะทำให้ระดับหนี้กลับสู่จุดที่มีเสถียรภาพได้ จึงคาดว่าปี 2570 หนี้ครัวเรือนอาจอยู่ระดับ 84% ต่อจีดีพี

“หาก ธปท.ไม่มีมาตรการเข้าช่วยเหลือ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าระดับหนี้ครัวเรือนที่กำหนดโดยธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ระบุระดับหนี้ครัวเรือนแต่ละประเทศที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ที่ 80% ต่อจีดีพี หากมีระดับที่สูงกว่านี้อาจส่งผลทำให้ฉุดหลังการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว”นางสาวสุวรรณี กล่าว

ทั้ง สาเหตุที่ทำให้หนี้ครัวเรือนมีผลต่อเศรษฐกิจเนื่องจาก 3 สาเหตุ 1.ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นหนี้ เมื่อมีรายได้ในรูปแบบเงินเดือนออกมาจะถูกหักเพื่อไปใช้หนี้จนหมด แทนที่จะถูกนำไปใช้จ่าย เพื่อทำให้เศรษฐกิจขยายตัว 2.เสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ หากมีลูกหนี้จำนวนมากชำระหนี้ไม่ได้พร้อมกันอาจกระทบต่อฐานะของเจ้าหนี้ปัญหาหนี้เสียอาจจะลุกลาม และ 3.อาจเกิดปัญหาอื่นๆ ในแง่ของชีวิตและทรัพย์สินของสังคม เสี่ยงเกิดปัญหาอาชญากรรม

นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

นางสาวสุวรรณี กล่าวว่า ธปท.ได้สรุปผลการดำเนินการแก้หนี้ผ่านมาตรการที่ผ่านมา โดยภาพรวมการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ครัวเรือนและธุรกิจ ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565 รวม 3.95 ล้านบัญชี จำนวน 2.98 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์ 1.58 ล้านบัญชี 1.89 ล้านล้านบาท และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2.37 ล้านบัญชี 1.09 ล้านล้านบาท

Advertisement

ซึ่งโครงการแก้หนี้เดิมผ่านการช่วยเหลือ ธปท. โดยโครงการคลินิกแก้หนี้ ช่วยเหลือสะสมตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2560 – 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 102,647 ล้านบัญชี คิดเป็น 85% ของจำนวนผู้เข้าเงื่อนไข โครงการพักทรัพย์พักหนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 437 ราย มูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอน 63,620 ล้านบาท ขณะที่ช่องทางการช่วยเหลือผ่านทางด่วนแก้หนี้ สะสมตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 – 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 279,659 บัญชี คิดเป็น 74% ของจำนวนผู้เข้าเงื่อนไข

ขณะเดียวกัน การให้สินเชื่อใหม่ รวมทั้งสิ้น 137,462 ราย ยอด 348,897 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อฟื้นฟู 59,675 ราย 210,697 ล้านบาท โดยสัดส่วน 37.5% กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี (วงเงินมากกว่า 5 – 50 ล้านบาท) สัดส่วน 68% กลุ่มประกอบธุรกิจพาณิชย์และบริการ สัดส่วน 69.9% ลูกหนี้อยู่ในต่างจังหวัด

และมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) (ปิดรับคำขอ 12 เมษายน 2564) จำนวน 77,787 ราย 138,200 ล้านบาท โดยสัดส่วน 37.5% กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี (วงเงินมากกว่า 5 – 50 ล้านบาท) สัดส่วน 64.9% กลุ่มประกอบธุรกิจพาณิชย์และบริการ สัดส่วน 68.2% ลูกหนี้อยู่ในต่างจังหวัด

Advertisement

ข่าวน่าสนใจอื่น:

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image