คิดเห็นแชร์ : “การจัดการความรู้เพื่อการประกอบอาชีพที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าแก่เศรษฐกิจท้องถิ่น”

คิดเห็นแชร์ : “การจัดการความรู้เพื่อการประกอบอาชีพที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าแก่เศรษฐกิจท้องถิ่น”

วันนี้ผมขอกล่าวถึงโครงการนึงที่ OKMD ดำเนินการมายาวนานคือ การจัดการความรู้ (KM) สู่การประกอบอาชีพ

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อกระตุ้นให้คนไทยมีความใฝ่รู้ และความต้องการ ในการเรียนรู้ของประชาชน หรือ Knowledge Demand เป็นอีกภารกิจของ OKMD ที่ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการนำองค์ความรู้ ทุนทรัพยากร ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาส่งเสริมและสนับสนุนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงสร้างงานในท้องถิ่น จึงได้จัดทำ “หลักสูตรพัฒนานักจัดการความรู้” โดยหลักๆ ในการจัดทำหลักสูตรนี้ก็คือ เป็นการอบรมพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นนักจัดการความรู้ยุคใหม่ ให้มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ ที่จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและให้บริการองค์ความรู้ท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดย OKMD ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงในการนำและประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการเรียนรู้ของ OKMD เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ ภายในชุมชนหรือท้องถิ่นนั้นๆ วัตถุประสงค์ก็เพื่อ 1) ศึกษาวิจัย และพัฒนารูปแบบองค์ความรู้ท้องถิ่น ให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินทรัพย์ท้องถิ่น 2) พัฒนากระบวนการจัดการความรู้และสร้างต้นแบบในการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพตามบริบทของท้องถิ่น โดยนำต้นทุนของท้องถิ่นมาเชื่อมโยงกับองค์ความรู้แบบสหวิทยาการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม 3) พัฒนาบุคลากรหน่วยงานเครือข่ายให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานความรู้

การจัดการองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจฐานราก ในการสร้างมูลค่าแก่เศรษฐกิจท้องถิ่น สบร. หรือ OKMD จะทำหน้าที่ช่วยในการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการรวบรวมและจัดทำองค์ความรู้ท้องถิ่น โดยการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินงานและลงพื้นที่เพื่อค้นหาองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าแก่เศรษฐกิจท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อนำผลจากการระดมความคิดเห็นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เหมาะสมและตรงกับต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยล่าสุดได้คัดเลือกพื้นที่ดำเนินงาน ในจังหวัดนครพนมและจังหวัดบึงกาฬ โดยมี 6 หน่วยงานเข้าร่วม ได้แก่ 1) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครพนม 2) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ 3) สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครพนม 4) องค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน 5) องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล และ 6) ศูนย์การเรียน ซี วาย เอฟ

Advertisement

โดยหลังจากที่มีการระดมความคิดเห็นจากการทำกิจกรรมหรือการจัดทำ Workshop ก็จะนำผลจากการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการอบรมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน เพื่อนำมาออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการอบรมพัฒนาสมรรถนะด้านกระบวนการจัดการความรู้บุคลากรหน่วยงานเครือข่าย โดยเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มีความใฝ่ ความต้องการในการเรียนรู้ Knowledge Demand เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ภายในท้องถิ่นหรือชุมชนนั้นๆ

นอกจากนี้สิ่งที่ OKMD อยากจะชวนคิดออกนอกหลักสูตรเลยก็คือ การเพิ่มมูลค่าในการต่อยอดทางความคิด โดยการสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้แบบการเรียนรู้ที่ไม่มีคำว่าสิ้นสุด ครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image