หนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส4/67 สูง 91.3% ต่อจีดีพี แตะ 16.4 ล้านล้านบาท หนี้บัตรเครดิตพุ่ง 3.5%

หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 4/67 ยังสูง 91.3% เพิ่มจากหนี้บัตรเครดิต สภาพัฒน์ กังวล หนี้เสียในกลุ่มสินเชื่อบ้าน แนะช่วยปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุก

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยถึงภาวะสังคมไทยไตรมาส 1 ปี 2567 ว่าในไตรมาส 4 ปี 2566 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.4 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.0% ชะลอลงจาก 3.4% ของไตรมาสก่อนหน้า หนี้ครัวเรือนนั้นมีแนวโน้มการขยายตัวที่ชะลอลง ผลส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของทางธนาคารพาณิชย์เริ่มมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ทำให้หนี้ครัวเรือนที่ก่อขึ้นใหม่มีการปรับตัวลดลง

นายดนุชา กล่าวว่า ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ 91.3% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนขยายตัวชะลอลงเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล โดยสินเชื่อบัตรเครดิต ขยายตัวอย่างมาก โดยขยายตัว 3.5% เพิ่มขึ้นจาก 1.9% ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อยานยนต์หดตัว หดตัว -0.6% เคยขยายตัว 0.2% ในไตรมาสก่อนหน้า

“เรื่องนี้เรื่องของหนี้ครัวเรือน ทางสภาพัฒน์ก็ส่งสัญญาณมาตลอดนานเป็นปีแล้ว โดยเฉพาะเรื่องของการเพิ่มขึ้นของหนี้บัตรเครดิตที่ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอันนี้คงต้องมาช่วยกันดู เพราะเป็นเรื่องของอีโค่ ซิสเต็มของตลาดด้วย เข้าใจว่าทุกวันนี้ผ่อนทุกอย่างผ่านบัตรเครดิตได้ แถมยังมีผ่อนผ่านบัตรเครดิตยังส่วนลดด้วย เรียนตรงๆว่าเป็นเรื่องยากที่จะแก้ เพราะมันเป็นเรื่องของตลาด เราทั้งค่านิยมของมันต้องมี ใช้จ่ายโดยไม่วงแผน ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขที่จริงจัง หนี้ครัวเรือนก็คงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไปแบบนี้” นายดนุชา กล่าว

Advertisement

นายดนุชา กล่าวว่า ขณะที่เรื่องของคุณภาพสินเชื่อนั้น ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนด้อยลงทุกประเภท โดยหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ มีมูลค่า 1.58 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.88% ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจาก 2.79% ในไตรมาสก่อน คุณภาพสินเชื่อทุกประเภทมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวของรายได้ที่ยังไม่ทั่วถึง ดังนั้นคงต้องเร่งเข้าไปช่วยในการปรับโครงสร้างหนี้

นายดนุชา กล่าวว่า โดยสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีสัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 3.34% จาก 3.24% ในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับ สินเชื่อที่ครัวเรือนใช้เสริม สภาพคล่อง คือ สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้น โดยสินเชื่อบัตรเคร มีสัดส่วนหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 17.5% จาก 13.6% ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ สินเชื่อรถยนต์ มีสัดส่วนหนี้เสียที่ชะลอตัวลงเหลือ 12.7% จาก 27.3% ในไตรมาสก่อนหน้า

Advertisement

นายดนุชา กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ หรือค้างชำระระหว่าง 1 – 3 เดือน จำแนกรายวัตถุประสงค์ ยังคงเป็นสินเชื่อยานยนต์ ที่ยังอยู่ในระดับที่สูง คือ 14.29% ต่อสินเชื่อโดยรวม ส่วนสินเชื่อทุกประเภทเริ่มชะลอการค้างชำระลงบ้างแล้ว

นายดนุชา กล่าวว่า ทั้งนี้ มีประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 1.แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงินน้อยกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นหนี้ของครัวเรือนรายได้ระดับปานกลางหรือล่าง โดยอาจต้องเฝ้าระวังและเร่งปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้ในเชิงรุกมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้เสีย และช่วยให้รักษาบ้านไว้ได้ เพราะเรื่องบ้านเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในชีวิต ถ้าไม่มีบ้านก็คงจะเกิดปัญหาเรื่องอื่นๆตามมา

นายดนุชา กล่าวว่า และ 2) การเร่งรัดสถาบันการเงินประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มลูกหนี้เรื้อรังเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 โดยอาจต้องเร่งสื่อสาร พร้อมมีแนวทางการปิดจบหนี้ที่เหมาะสมกับลูกหนี้รายกรณี เพื่อให้การดำเนินมาตรการประสบความสำเร็จ และเกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน

“หนี้ครัวเรือนนั้น มีการขยับตัวขึ้นเมื่อเกือบปีที่แล้ว โดยเฉพาะช่วงโครงการบ้านหลังแรก ซึ่งถือเป็นการก่อหนี้เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และสภาพเศรษฐกิจไทยในช่วงนั้นยังโดตได้ดี ขณะที่หนี้ครัวก็มาพุ่งขึ้นแรงในช่วงโควิด แต่สภาพเศรษฐกิจไม่ได้ดี มีหลายปัญหาผสมกัน เพราฉะนั้น ปัญหาหนี้ครัวเรือนในครั้งนี้เริ่มที่จะเกิดปัญหา ส่วนเรื่องของสินเชื่อบ้านแม้ทางทฤษฎีจะเป็นสินเชื่อที่ลงในลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและใช้ระยะเวลาผ่อนยาว ถ้าระหว่างทางเกิดกลางก็ต้องรีบช่วยกันดูแล” นายดนุชา กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image