บรรณารักษ์ศูนย์เรียนรู้ฯ เข้าค่ายอบรม ‘ครูเล็ก-ภัทราวดี’ ชื่มชมผ้าพิมพ์ใบไม้

ผอ.ศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน นำบรรณารักษ์เข้าค่ายพัฒนาตนเอง ครูเล็กภัทราวดี ชื่มชมผ้าพิมพ์ลายใบไม้ศูนย์เรียนรู้ฯ .สุราษฎร์อุตรดิตถ์ แนะทำเป็นเอกลักษณ์แต่ละจังหวัด พร้อมใช้องค์ประกอบศิลป์เป็นวิธีคิดในการบริหารจัดการบรรณารักษ์เมืองคนดีปลื้มผู้ว่าฯ ชูให้เป็นผ้าพื้นเมือง

..สุจิตร สุวภาพ ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้นำบรรณารักษ์ผู้ให้บริการ ศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืนใน 7จังหวัด ได้แก่สุราษฎร์ธานี อุตรดิตถ์ ลำปาง ขอนแก่น สมุทรสงคราม กาญจนบุรี และยะลา มาศึกษาเรียนรู้ด้วยการเข้าค่ายพัฒนาตนเองที่โรงเรียนภัทราวดี หัวหิน .ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อไม่นานมานี้ โดยมีครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน ศิลปินแห่งชาติ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ทำให้บรรณารักษ์ได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาหลักสูตรอาชีพที่สอง ซึ่งบรรณารักษ์จากจ.สุราษฏร์ธานีและอุตรดิตถ์ได้นำผ้าพิมพ์ใบไม้มามอบให้ครูเล็กด้วย ขณะที่ครูเล็กได้กล่าวชื่นชมความสวยงาม

 พร้อมกับแนะนำว่าหากทำเป็นผ้าผืนใหญ่สามารถนำไปดัดแปลงได้หลายอย่าง ทั้งเป็นผ้าพาดไหล่ ผ้าคลุมตัวและผ้าคาดเอว นอกจากนี้แต่ละจังหวัดควรทำผ้าพิมพ์ใบไม้ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อให้มีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน

 ..สุจิตร กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่ 5 ที่มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์ฯ สนับสนุนสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในโครงการศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืนถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจเพราะสามารถตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเยาวชน นักศึกษา กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงวัย โดยเฉพาะหลักสูตรตามความต้องการของชุมชน สามารถสร้างอาชีพที่สอง ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และต่อยอดด้วยการทำกิน ทำใช้และทำขาย  และบางศูนย์ยังช่วยแก้ปัญหาโรคซึมเศร้าในเยาวชนได้ด้วย เช่น ศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน.สุราษฎร์ธานีมีเยาวชนหญิงคนหนึ่งไม่ชอบเรียนสายสามัญ พ่อแม่จึงให้มาที่ศูนย์เรียนรู้ฯ ที่เปิดสอนการทำอาหารและขนม รวมทั้งงานผ้าต่างๆ ปัจจุบันเยาวชนรายนี้สามารถทำวุ้นขายมีกิจกรรมทำ มีความสุขในการทำมาค้าขายสร้างรายได้ให้แตนเอง เกิดเป็นความภูมิใจ และเข้ามาเรียนหลักสูตรวิชาชีพฯ อย่างต่อเนื่อง

Advertisement

  ศูนย์เรียนรู้ฯ สร้างอาชีพที่สอง ได้พัฒนาค่อนข้างก้าวหน้าอย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่เรื่องการสร้างรายได้เท่านั้น แต่สิ่งที่ได้มากกว่าคือความสุข อย่างเช่นที่ .สุราษฎร์ธานี ครอบครัวมีความสุขเนื่องจากลูกสาวมีงานทำ หายจากอาการซึมเศร้า นอกจากนี้ยังผลิตผ้าพิมพ์ลายใบไม้ไม่ทันขาย มีการไปออกบูธตามหน่วยงานต่าง ในระดับชาติและระหว่างประเทศ อาทิ ที่ประเทศเยอรมัน กทม.และจังหวัดต่างๆ นอกจากผลิตผ้าเป็นชิ้นเพื่อนำไปตัดเสื้อผ้า ยังมีเสื้อผ้าสำเร็จรูปให้เลือกซื้อได้ด้วยในราคาไม่แพง สวมใส่สบายเหมาะกับอากาศบ้านเราในตอนนี้

  ด้านครูเล็ก ภัทราวดี กล่าวว่า บรรณารักษ์สมัยนี้แตกต่างจากสมัยก่อนที่ใช่แต่จะให้ความรู้ในเรื่องการอ่านหนังสือเท่านั้น ยังสอนให้ปฏิบัติด้วย จนเกิดเป็นอาชีพี่ที่สอง สามารถเลี้ยงตัวเองเลี้ยงครอบครัว ทำประโยชน์เพื่อตัวเองและสังคมได้ เป็นการจัดกิจกรรมให้สมาชิก ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ดิฉันบอกไปว่าการจะทำอะไรก็ตามให้ใช้องค์ประกอบศิลป์เป็นวิธีคิด ทั้งในเรื่องพื้นที่และความหลากหลาย อย่างเช่นการทำผ้าพิมพ์ลายใบไม้ก็ต้องแตกต่างจากที่ไปเรียนมา จะได้ไม่ไปแย่งอาชีพจากครูผู้สอน ต้องทำในสิ่งที่แตกต่างออกไป  และการเชิญครูบาอาจารย์ไปสอนก็แนะนำว่าอย่าให้สอนฟรี ต้องมีงบประมาณให้เพราะครูบาอาจารย์ก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ต้องไม่เบียดเบียนกัน เป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณในการให้วิชาความรู้ ไม่ใช่รื่องการซื้อขายจะให้เท่าไหร่ก็ได้ครูเล็กกล่าวและว่า อยากให้เหล่าบรรณารักษ์ให้ความสำคัญกับเยาวชน ซึ่งก็ต้องสอบถามและจัดให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนด้วยว่าอยากเรียนอะไร

Advertisement

นางเตือนจิตร วงศ์สวัสดิ์ บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน .สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การได้มาเข้าค่ายพัฒนาตนเองครั้งนี้ ได้รับประโยชน์อย่างมาก ต้องขอขอบคุณสมาคมห้องสมุดฯ และมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นให้อย่างต่อเนื่อง โดยครูเล็กเน้นการจะเริ่มต้นทำอะไรให้คิดบวกไว้ก่อน พลังบวกที่เกิดขึ้นจะสามารถดำเนินสิ่งที่ต้องการและช่วยแก้ปัญหาต่าง ได้ หลังจากมาเยี่ยมชมโรงเรียนภัทราวดีแล้ว ได้ความคิดว่าจะนำชิ้นงานศิลปะผสมผสานเข้าไปในงานผ้าพิมพ์ลายใบไม้ที่ทำอยู่ อย่างเช่นทำเป็นลวดลายสัตว์ หรือรูปภาพที่น่าสนใจที่เป็นเอกลักษณ์ของ .สุราษฎร์ฯ

นางเตือนจิตร กล่าวต่อว่า ปัจจุบันผ้าพิมพ์ลายใบไม้ของศูนย์เรียนรู้ฯจ.สุราษฎร์ธานี ได้รับการยอมรับทั้งในระดับจังหวัดและประเทศ อีกทั้งได้รับแบบลายผ้าพระราชทานผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานีและเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืนเพื่อนำไปสร้างสรรค์ชิ้นงานพัฒนาต่อยอดการผลิตผ้าและงานหัตถกรรม ที่สำคัญอย่างยิ่งคือท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเจษฎา จิตรัตน์ และนางดาเรศ จิตรัตน์ ประธานแม่บ้านมหาดไทย .สุราษฎร์ธานี ได้สนับสนุนให้ผ้าพิมพ์ลายใบไม้เป็นผ้าไทยพื้นเมืองของจ.สุราษฎร์ฯ โดยช่วงที่ผ่านมาได้รับเชิญจากหน่วยงานต่าง ไปร่วมออกบูธในงานต่าง อาทิ งานเที่ยวเมืองไทย  ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และงานสินค้าเศรษฐกิจฐานราก อาคารรัฐสภาขณะนี้มียอดสั่งซื้อจนผลิตสินค้าไม่ทันขาย ส่งผลให้สมาชิกมีรายได้เสริม 3-4 พันบาทต่อเดือน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image