สุรพศ ถามจริงๆ! ลำซิ่ง 30 ปีก่อนทำสังคมเสียหายอย่างไร เชื่อ ‘ตอบไม่ได้’ แค่ใช้รสนิยมตัวเองตัดสินคนอื่น

แฟ้มภาพ

เริ่มต้นด้วยความฮา แต่ทำท่าจะจบไม่ง่ายเสียแล้ว

สำหรับเพลงเก่าเมื่อ 30 ปีก่อน แต่กลับมาดังเปรี้ยง ณ บัดนาว

ผลงาน เดือนเพ็ญ เด่นดวง ที่ท่อนฮุกทำเอาจุกพอประมาณ

‘คนจนล่ะมีสิทธิไหมคะ มีงานให้ทำไหมคะ ปริญญาไม่มี แต่มี…นะคะ’

Advertisement

ทำเอา ดาราหนุ่มใหญ่ ป๋อ ณัฐวุฒิ สกิดใจ ออกมาตั้งคำถามว่า ‘เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?’ จุดที่ว่า คำหยาบในเพลงถูกมองเป็นเรื่องขบขันธรรมดาๆ (อ่าน ‘ป๋อ ณัฐวุฒิ’ ถาม มาถึงจุดนี้ได้ยังไง ในวันที่เนื้อเพลงมีคำหยาบคาย แต่มองเป็นเรื่องขบขัน)

งานนี้ นอกจากชาวเน็ตถกหนัก ทั้งเห็นด้วย แต่คัดค้าน นักวิชาการยังออกมาให้ความเห็น

ดังเช่น ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่อธิบายว่า เพลงนี้ที่ติดหูและถูกใจโลกโซเชียลอย่างล้นหลาม แม้ร้องเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เพราะเพลงได้สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม แม้ผ่านไป 30 ปี แต่ความจริงนี้ก็ยังดำรงอยู่ในสังคมไทย การแสดงนี้คือศิลปะการแสดงที่เป็นอาวุธของผู้อ่อนแอ (weapons of the weak) หรือศิลปะของผู้อ่อนแอ (art of the weak) ประเด็นท่อนเพลง “คนจนมีสิทธิมั้ยคะ …” จึงควรให้ความสำคัญกับสาระที่แท้จริง คือความเหลื่อมล้ำ ซึ่งรวมถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาวะที่เกิดขึ้นในสังคมนี้ และสาระตรงนี้ควรสะกิดต่อมความคิดแบบอนุรักษนิยมให้คิดมากกว่าภาษาที่หยาบโลน (อ่าน อาจารย์ เลคเชอร์ ‘ป๋อ’ รับไม่ได้เพลงหยาบ ชี้บท ‘พระเอกขืนใจนางเอก’ เลวร้ายกว่าพันเท่า)

Advertisement

ด้าน สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา วาร์ปไปคอมเม้นต์ในเพจหนึ่งถึงประเด็นเดียวกันนี้ว่า ตนไม่เชื่อว่าคุณ (ป๋อ) ตอบได้ว่าเพลงดังกล่าวสร้างความเสียหายให้สังคมอย่างไร

ความดังนี้

‘ถามจริงๆครับ ลำซิ่งเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ที่ขุดขึ้นมาดูถูกกันเนี่ย คนที่ดูถูกเย้ยหยันและคนเห็นด้วยบอกได้ไหมว่าลำซิ่งนี้สร้างความเสียหายแก่คนดูและทำให้สังคมเสียหายอย่างไรบ้าง คุณบอกไม่ได้หรอก (ถ้าบอกได้ก็บอกมา)

แค่คุณใช้ความเชื่อ ทัศนคติ รสนิยมส่วนตัวไปตัดสินคนอื่นเท่านั้น นี่แหละคือ #ความล้าหลังหลงยุค ของชนชั้นกลางมีการศึกษาดีแต่ขาด #สามัญสำนึก เคารพความแตกต่างและหลากทางวัฒนธรรม (อย่าเข้าใจผิดว่า วัฒนธรรมหมายถึงความเจริญ สิ่งที่บ่งถึงความเจริญอย่างที่ท่องกันมาล่ะ culture มันซับซ้อนกว่าที่ท่องๆกันมาก)’

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image