อาจารย์ เลคเชอร์ ‘ป๋อ’ รับไม่ได้เพลงหยาบ ชี้บท ‘พระเอกขืนใจนางเอก’ เลวร้ายกว่าพันเท่า

อาจารย์ เลคเชอร์ ‘ป๋อ’ รับไม่ได้เพลงหยาบโลน ชี้บท ‘พระเอกขืนใจนางเอก’ เยอะกว่าพันเท่า

ขึ้นแท่นมาแทน ทรงอย่างแบด แซดอย่างบ่อย มาแทนนกกรงหัวจุก นาทีนี้ต้องหลบให้ “คนจนมีสิทธิไหมคะ คนจนล่ะมีสิทธิไหมคะ มีงานให้ทำไหมคะ ปริญญาไม่มี แต่มี x นะคะ แต่มีหมอx นะคะ” ซึ่งกลายเป็นเทรนด์ฮิตที่คิดท่าเต้นและใช้ประกอบคลิปสั้นอย่างแพร่หลาย

ทว่าในมุมมองของ พระเอกคนดัง “ป๋อ ณัฐวุฒิ” กลับไม่ขำด้วย โดยไม่นานมานี้ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กถึงเพลงดังกล่าว ไม่ได้โลกสวยนะแต่เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง รับไม่ได้และไม่ตลกด้วย มันหยาบคาย หยาบโลน ตื้นเขิน ไม่รับผิดชอบ และกังวลว่าเด็กๆ ในวัยที่ยังไม่พร้อมมาเปิดดูคลิปเพลงพวกนี้จะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

Advertisement

เปิดงานวิจัย ปฏิภาณเชิงภาษา ‘สองแง่สองง่าม’ เพลงลูกทุ่งไทย จาก พ.ศ.2500 ถึงยุคออนไลน์
‘ป๋อ ณัฐวุฒิ’ ถาม มาถึงจุดนี้ได้ยังไง ในวันที่เนื้อเพลงมีคำหยาบคาย แต่มองเป็นเรื่องขบขัน

ต่อมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กกรณีเพลงที่กำลังเป็นกระแสไวรัลอยู่ในขณะนี้ โดยระบุว่า คนจนมีสิทธิมั้ยคะถ้าคุณป๋อไม่เข้าใจ ผมจะอธิบายให้ฟัง 1.เพลงนี้ที่ติดหูและถูกใจโลกโซเชียลอย่างล้นหลาม แม้ร้องเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เพราะเพลงได้สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม แม้ผ่านไป 30 ปี แต่ความจริงนี้ก็ยังดำรงอยู่ในสังคมไทย

2.เพลงนี้ยังสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาพด้วย และความเหลื่อมล้ำนี้ ผ่านไป 30 ปีแล้ว แต่ก็ยังดำรงอยู่ในสังคมไทย 3.การที่นักร้องคือคุณเดือนเพ็ญหยิบท่อนนี้มาจากเพลงสมองจนจนของพลอยมาเล่นต่อ ไม่ใช่เพื่อความสนุกสนานอย่างเดียว แต่การแสดงนี้คือศิลปะการแสดงที่เป็นอาวุธของผู้อ่อนแอ (weapons of the weak) หรือศิลปะของผู้อ่อนแอ (art of the weak)

Advertisement

ลองนึกดูครับว่า ถ้ายุคนั้นหรือแม้แต่ยุคนี้ หากคนจนลุกขึ้นมาเดินขบวนชุมนุมประท้วงเรื่องความเหลื่อมล้ำ ก็ย่อมถูกปราบปรามจากรัฐได้ง่าย หรืออาจนึกภาพว่าคนจนเดินไปหานายกฯ หรือข้าราชการระดับสูง แล้วถามว่าว่า “คนจนมีสิทธิมั้ยคะ” คุณคิดว่าเขาจะฟังหรือ?

ในสังคมไทย อาวุธหรือศิลปะของผู้อ่อนแอไม่ได้มีแค่หมอลำ แต่ยังมีในศิลปะการแสดงและประเพณีอย่างอื่น เช่น หนังตะลุง ขบวนแห่บั้งไฟ นิทานก้อม ฯลฯ สำหรับชาวบ้านชาวช่อง เขาถือว่าปกติ เช่น นายหนังตะลุงเดี่ยว เอาประยุทธ์มาล้ออย่างหนักเป็นที่ตลกขบขันของผู้ชม แต่ผู้มีอำนาจไม่มีสิทธิที่จะโกรธเคือง

ประเด็นท่อนเพลง “คนจนมีสิทธิมั้ยคะ …” จึงควรให้ความสำคัญกับสาระที่แท้จริง คือความเหลื่อมล้ำ ซึ่งรวมถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาวะที่เกิดขึ้นในสังคมนี้ และสาระตรงนี้ควรสะกิดต่อมความคิดแบบอนุรักษนิยมให้คิดมากกว่าภาษาที่หยาบโลน

คุณป๋อไม่ได้มาจากดาวดวงอื่นหรอกครับ คุณอยู่บนโลกใบเดียวกันนี่แหละ เพียงแต่คุณอยู่ในโลกของการแสดงอีกแบบที่คิดว่าดีกว่าคนอื่น ทั้งที่คุณเกิดและดังในยุคที่พระเอกละครไทยข่มขืนนางเอก ที่หากพิจารณาแล้ว มันเลวร้ายกว่าหยาบโลนหลายพันเท่า ซึ่งคุณป๋อควรออกมาแสดงจุดยืนว่ารับไม่ได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image