ทีโดรส อัดฮานอม กรีเบรเยซุส ผอ.องค์การอนามัยโลกกับความใกล้ชิดจีน

ทีโดรส อัดฮานอม กรีเบรเยซุส ผอ.องค์การอนามัยโลกกับความใกล้ชิดจีน

ดอกเตอร์ ทีโดรส อัดฮานอม กรีเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (ฮู) ชาวเอธิโอเปียวัย 55 ปี กำลังตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความใกล้ชิดสนิทสนมกับรัฐบาลจีนเป็นพิเศษ
จนทำให้โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิดีสหรัฐ ประกาศตัดงบสนับสนุนฮู ลงแล้วตามคำขู่

เหตุผลหนึ่งที่มีการหยิบยกขึ้นมาอธิบายท่าทีดังกล่าวของฮู ในเวลานี้ก็คือ ตัวทีโดรส ผู้อำนวยฮูเอง

ทีโดรส ผู้อำนวยการฮูคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีอาชีพแพทย์โดยตรง ได้รับแรงบันดาลใจในการทำงานด้านสาธารณสุขจากการต้องเห็นน้องชายเสียชีวิตจากการเป็นโรคหัด

ทรีโดรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน “ชีววิทยา” จากมหาวิทยาลัยเอธิโอเปีย ปริญญาโทด้าน “วิทยาภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อ” จากมหาวิทยาลัยลอนดอน และปริญญาเอกด้าน “สาธารณสุขชุมชน” จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม

Advertisement

ทรีดรอส ในฐานะสมาชิกพรรคร่วมอีพีอาร์ดีเอฟ ที่ปกครองเอธิโอเปียจนถึงปี 2019 ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูงในเอธิโอเปียจนสามารถก้าวไปดำรงตำแหน่ง “รัฐมนตรีสาธารณสุข” ในปี 2005 และก้าวถึงตำแหน่ง “รัฐมนตรีต่างประเทศ” ในปี 2012

ในช่วงการดำรงตำแหน่งของทรีดรอส สื่อตะวันตกตั้งข้อสังเกตุว่างบประมาณจากจีนนั้นได้หลั่งไหลเข้าสู่เอธิโอเปียมากเป็นพิเศษด้วยเพราะจีนต้องการใช้เอธิโอเปีย เป็นฐานทางเศรษฐกิจในแอฟริกาตะวันออก

โดยเฉพาะเมื่อ ทีโดรส ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการฮู ในการเลือกตั้งซึ่งมีรายงานว่านักการทูตจีนล็อบบี้บรรดาประเทศกำลังพัฒนา เพื่อสนับสนุนทีโดรสอย่างหนักจนได้รับชัยชนะ งบประมาณที่จีนสนับสนุนองค์การอนามัยโลกก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

Advertisement

การดำรงตำแหน่งของทีโดรส สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทันที จากการพยายามตั้งโรเบิร์ต มูกาเบ อดีตผู้นำเผด็จการซิมบับเวหนึ่งในพันธมิตรของจีน ขึ้นเป็นทูตสันทวไมตรีขององค์การอนามัยโลก ความพยายามซึ่งไม่ประสบความสำเร็จหลังเจอแรงต้านอย่างหนัก

ขณะที่การดำรงตำแหน่งของทีโดรสแองก็มีเสียงต่อต้านจากในเอธิโอเปียเอง จากข้อกล่าวหาว่านายทีโดรส เคยปกปิดข้อมูลการแพร่ระบาดของเชื้ออหิวาตกโรค ในปี 2006, 2008 และ 2011 มาแล้ว ข้อกล่าวหาซึ่งทีโดรส ระบุว่าเป็นการป้ายสีจากคู่ชิงตำแหน่งผอ.ฮูเท่านั้น

ล่าสุดทีโดรส ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการกีดกันไต้หวัน ชาติที่รับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19ได้เป็นอันดับต้นๆของโลก ออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก ตามแรงกดดันจากจีนจนบานปลายกลายเป็นการโจมตีไต้หวันว่าทำให้ตนถูกโจมตีถึงขึ้นเหยียดผิว

การชื่นชมจีนในวิกฤตการแพร่ระบาดในครั้งนี้อย่างออกนอกหน้า ยกย่องรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่ามีความ “โปร่งใส่” และชื่นชมรัฐบาลจีนว่ามีความรวดเร็วในการตรวจพบเชื้อไวรัสในระดับ “เหนือคำบรรยาย”

แม้ตามข้อเท็จจริงแล้วจุดเริ่มต้นการแพร่ระบาดส่วนหนึ่งก็มาจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการของจีนเองก็ตาม

ความขัดแย้งทางการเมืองระดับโลกที่เกิดขึ้นในองค์การอนามัยโลก องค์กรระดับนานาชาติที่มีเป้าหายคือ “ความร่วมมือ” ในการต่อสู้กับวิกฤตการแพร่ะระบาดครั้งนี้ ดูเหมือนจะลุกลามบานปลายไปเรื่อยๆ

คงต้องดูกันต่อไปว่าดอกเตอร์ทีโดรส จะแก้ปัญหานี้อย่างไร ท่ามกลางวิกฤตสาธารณสุขระดับโลก ที่มีชีวิตมวลมนุษยชาติเป็นเดิมพัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image