‘พลอย Wild So Serious’ ดาวรุ่ง NFT ที่จะปลุกวัยเยาว์ในตัวคุณ ด้วยแก๊งสัตว์เพี้ยนสุดสดใส

หากใครเดินทางผ่านไปมาแถว Metro Mall พหลโยธินจะพบว่าในช่วงเวลานี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ผู้ให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้า MRT  สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ร่วมกับ บริษัท  แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) ผู้ให้บริการสื่อโฆษณาและพื้นที่จัดกิจกรรมในระบบรถไฟฟ้า MRT

ผนึกกำลังพลิกโฉมพื้นที่ภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พหลโยธิน ให้กลายเป็น Metro Art ‘เมโทรอาร์ต’  พื้นที่สร้างสรรค์ใจกลางกรุง ที่จะก้าวเป็นอาร์ต ของคนรักศิลปะคน ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยว อาร์ตคอมมูนิตี้ ที่ช่วยเติมพลังด้วยงานศิลป์แก่ผู้ที่เดินทาง ด้วยรถไฟฟ้า MRT พร้อมจัดกิจกรรมสนุกต่อเนื่องตลอดปี 2566

แต่ที่โดดเด่นที่สุดคงหนีไม่พ้นเจ้าหมีตัวใหญ่สีชมพูหน้าตายียวน และเหล่าคาแรคเตอร์  แก๊งสัตว์เพี้ยน สุดกวนที่ประดับตกแต่งตั้งแต่ผนัง พื้นทางเดิน ลิฟต์ โดยรอบสถานี ชวนให้ผู้คนยิ้มตามไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งผลงานทั้งหมดนี้เป็นผลงานของ พลอยศิริ รังคดิลก หรือ พลอย Wild so serious ดาวรุ่งพุ่งแรงแห่งวงการศิลปะ NFT ผู้ทำงานสารพัด ตั้งแต่เป็นแม่ค้า ปักผ้า ขายเสื้อ ศิลปิน NFT และบทบาทล่าสุดกับเจ้าของนิทรรศการ Wild Playground Metro Art พหลโยธิน แม้ทุกอย่างดูเหมือนจะแตกต่าง แต่ล้วนถูกเชื่อมโยงด้วยสีสันและความสดใสของเธออย่างลงตัว

Advertisement

จุดเริ่มต้นบนเส้นทางศิลปะ

พลอยเริ่มต้นบทสนทนาว่า ตั้งแต่จำความได้ก็หัดขีดเขียนวาดรูป อ่านการ์ตูนมาตั้งแต่ตอนเด็กๆ หนังสือคู่ใจคงไม่พ้นหนังสือการ์ตูน ไม่ว่าจะเป็น ขายหัวเราะหรือมหาสนุก ที่เมื่อเวลาหยิบขึ้นมาอ่าน เราก็อยากวาดตาม ตรงนี้เองอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เธอ เริ่มหยิบดินสอปากกามาขีดเขียนจนเกิดลายเส้น 

นอกจากมีการ์ตูนเป็นเพื่อนแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เธอจำไม่ลืมคือการที่มีคุณแม่เป็นต้นแบบนักประดิดประดอยประจำบ้าน ผู้ชื่นชอบทำของจุกจิกให้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ กระเป๋า พวงกุญแจ ของใช้ เครื่องแต่งกายอื่นๆ ล้วนผ่านการหยิบจับตัดเย็บสร้างสีสันให้อยู่เสมอ 

Advertisement

แม้สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่พันธุกรรมที่ส่งต่อความชื่นชอบงานศิลปะให้กับเธอ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นเบ้าหลอมความสนใจชั้นดีที่ทำให้พลอยเริ่มจริงจังกับศิลปะมากขึ้น จนเลือกศึกษาต่อที่ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำให้เห็นว่าตลอดเส้นทางชีวิตของเธอ ล้วนเดินอยู่บนเส้นทางของศิลปะและงานฝีมือมาโดยตลอด สิ่งต่างๆ ค่อยๆ ประติดประต่อเรื่องราวตัวตนให้กลายเป็น พลอย Wild So Serious แบบที่เธอไม่รู้ตัว

ค้นพบตัวตนผ่านโลกแห่งศิลปะ

หากพูดถึงคำว่าศิลปะหลายคนอาจจะมีคำนิยามของคำนี้ที่แตกต่างกันตามประสบการณ์ชีวิตและความเข้าใจ แต่สำหรับพลอย ‘ศิลปะ’ กลับเป็นสิ่งที่เยียวยาจิตใจ โดยเธอบอกอย่างชัดเจนว่าผลงานของเธอไม่ใช่งานอาร์ตจ๋าๆ ศิลปะจึงเป็นพาร์ทที่เธอใช้ผ่อนคลายตัวเอง

“ตอนเด็กๆ เราอาจจะวาดรูปไม่เก่ง พอเรียนจบก็ยังไม่ได้ทำอะไรเกี่ยวกับอาร์ตเท่าไหร่ แต่เริ่มเกี่ยวข้องกับโลกศิลปะมากขึ้นผ่านการทำแบรนด์ของตัวเอง เริ่มทำงานฝีมือปักผ้าเป็นงานอดิเรกและสร้างแบรนด์ภายใต้ชื่อแบรนด์ว่า ‘Need a New Needle’”

แต่หลังจากทำงานประจำ และงานเสริมที่หนักหนา ตั้งแต่ทำแบรนด์ ปักผ้า เป็นแม่ค้า แบบไม่ลดได้อยู่ 5 ปีเต็ม เธอเริ่มรู้สึกหมดไฟกับสิ่งที่ทำ สิ่งที่ทำเต็มไปด้วยความเครียดและความซ้ำเดิม เพราะงานเริ่มเยอะเกินไปจนรับมือไม่ไหวจนเธอรู้สึกว่า  

ช่วงนั้นเรารู้สึกว่าเราต้องหากิจกรรมอะไรที่ทำให้เราไม่ต้องคิดอะไรได้ปลดปล่อยความเครียด ได้อยู่กับตัวเองอย่างแท้จริง เลยเปิดพื้นที่ใหม่บน Instagram โดยใช้ชื่อว่า @wildsoserious เอาไว้วาดรูปสัตว์ตลกๆ วาดแบบไม่ต้องคิดอะไร เพื่อปลอบตัวเองว่าอย่าเครียดสิวะ!” (หัวเราะ)

ทำไมต้อง Wild So Serious และที่มาคาแรคเตอร์สุดกวน

อ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจจะมีคำถามเล็กๆ ในใจว่า แล้วทำไมต้อง Wild So Serious เธอบอกว่า ประโยคข้างต้นได้รับแรงบันดาลใจจากวลีเด็ดของตัวร้ายยอดฮิตอย่างโจ๊กเกอร์ ในภาพยนตร์ The Dark Knight ที่มีประโยคจดจำสายตาชาวโลกว่า Why so serious? 

โดยปรับมันเล็กน้อยให้มีลูกเล่นจาก Why สู่ ‘Wild’ เพื่อให้เข้ากับคาแรคเตอร์เธอมากขึ้น เพราะ Wild ในแง่หนึ่งแปลว่า ป่า หรือ ป่าเถื่อน ซึ่งเข้ากันได้ดีกับ แก๊งสัตว์เพี้ยน ที่เธอสร้างขึ้น ทว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ดูป่าเถื่อนอย่างที่คิด เพราะถูกหยิบมาเล่าใหม่ตีความใหม่ให้สนุก ทำให้มีสีสันและตลกมากขึ้น

“เราอยากให้มันเรียบง่ายให้เข้าถึงได้ง่ายที่สุด ที่เราวาดเพราะเราอยากผ่อนคลายจริงๆ ไม่ต้องการดีเทลอะไรทั้งสิ้น ขอแค่ง่าย สนุก ตลก”

หลังจากเรียนรู้ที่มาที่ไปของชื่อและลายเส้นสุดกวน เธอได้เริ่มแนะนำคาแรคเตอร์สุดกวนให้ทุกคนได้รู้จัก เริ่มจากมาสคอตตัวใหญ่ที่ตั้งอยู่ภายในสถานีอย่างน้อง Wild โดยมีที่มาจากหมีเน่าของพลอยเอง ตอนแรกเป็นแค่หมีสีชมพูตัวเล็กๆ จมูกเล็กๆ เราพยายามดันคาแรคเตอร์ของมันให้กลายเป็นเรามากขึ้น อย่างเช่นตาเราก็อ้างอิงมาจากโจ๊กเกอร์เพราะว่ามันเป็นชื่อของเรา 

อีกตัวเป็นแมวจร ที่เพิ่งรับเลี้ยงมาปีกว่าๆ ตอนเด็กมันจะหูแหว่งข้างนึง เพราะว่าโดนแมวตัวใหญ่กัดมา เลยตั้งชื่อน้องว่า โก๊ะ (แวนโก๊ะ) แล้วคาแรคเตอร์แมวตัวนี้ชอบทำหน้าโกรธชอบมานั่งจ้องเราทำงาน เลยเกิดเป็นคาแรคเตอร์

ใช้ความสดใสบุกตลาด NFT

โลดแล่นอยู่บนโลก Instagram และแบรนด์ของตัวเองได้สักระยะ โชคชะตาเหมือนจะเล่นตลก เมื่อวันหนึ่งเธอไปเล่นสเกตบอร์ดอย่างสนุกสนานเหมือนเช่นทุกครั้ง แต่ในครั้งนี้กับเกิดอุบัติเหตุจนเธอต้องเข้าเฝือก ทำให้งานและโปรเจกต์ต่างๆ ที่เธอวาดฝันไว้ได้พังทลายลงไปอย่างฉับพลัน แต่ฟ้าหลังฝนย่อมสดใสเสมอ เพราะช่วงเวลานี้เองได้นำพาไปรู้จักกับโลกใบใหม่ที่เป็นประตูเปิดโอกาสให้กับ พลอยในหลายๆ ด้าน ซึ่งประตูบานนั้นมีชื่อว่า ‘NFT’

“ตอนนั้นมันเริ่มจากการที่คนรอบตัวและเพื่อนๆ เริ่มเข้าวงการวาดรูปใน NFT ก่อน ในตอนนั้นเรายังไม่คิดถึงมันเลย คิดมาตลอดว่าค่อนข้างไกลตัว เพราะเราไม่ได้วาดรูปเป็นอาชีพ เราคิดมาโดยตลอดว่าเราวาดรูปไม่เก่งหรอก เราวาดตัวการ์ตูนง่ายๆ แต่พอต้องเข้าเฝือกอยู่ 3 เดือนครึ่ง ก็ทำให้เราเริ่มรู้จักมันเริ่มศึกษา ขอความรู้จากเพื่อนๆ จนสามารถออกคอลเลกชันแรกได้สำเร็จ ภายใต้ชื่อ Wild So Serious เหมือนชื่อ account รวมแก๊งสัตว์เพี้ยน ”

ใช้เวลาเพียงไม่นาน จู่ๆ เธอก็ได้ยินเสียง ติ๊ง… (เสียงอีเมลเข้า) จากโทรศัพท์ของเธอและเมื่อหยิบขึ้นมา ข้อความบนโทรศัพท์ก็ทำให้โลกของเธอเปลี่ยนไปตลอดกาล

Your Item sold ตอนนั้นเราดีใจมากที่เราขยายงานชิ้นแรกได้ เราตกใจมากเราไม่คิดว่ามันจะขายได้ ตอนนั้นเราไม่ได้ขายแพงมาก ก็ประมาณ 900-1000 บาท เรารู้สึกว้าวมากกับโลกใบใหม่ เพราะเราไม่เคยขายอาร์ตได้มาก่อน”

สนามเด็กเล่นที่ชื่อว่า Wild Playground

หลังจากเริ่มขายงานได้บน NFT ได้มากขึ้น ชื่อของพลอย Wild Playground ก็เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง ในแง่หนึ่ง NFT เป็นโอกาสที่ทำให้เธอได้ เผยแพร่ผลงานให้คนทั้งโลกได้เห็น จนสามารถขายงานได้ และโอกาสครั้งใหญ่ประการต่อมาหลังจากวันนั้นเกิดขึ้นเมื่อผลงานของเธอก็ได้ไปสะดุดตากับ ภัณฑารักษ์ (Curator) หลายท่านหนึ่งในนั้นคือ Metro Art

จากความสามารถพิเศษที่หลากหลาย ทั้งลายเส้นคาแรคเตอร์และการใช้สีสันที่ชัดเจนเฉพาะตัว ทักษะการทำ Textile ที่สามารถประยุกต์ได้หลากหลาย ถูกนำมาใช้ในการจัดนิทรรศการได้อย่างน่าสนใจและโดดเด่น เป็นเหตุให้เธอถูกเลือกมาเพื่อส่งต่อแรงบันดาลและความสดใส ให้กับผู้มีใจรักศิลปะ ณ Metro Art สถานีพหลโยธิน

โดยนิทรรศการนี้มีชื่อว่า Wild Playground เป็นสนามเด็กเล่นที่เราอยากสร้างสถานที่ จำลองสนามเด็กเล่นของเรา ให้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้ย้อนถึงวันเด็ก ในช่วงที่เรายังไม่ต้องคิดอะไร เจ็บสุดก็อาจจะแค่วิ่งหกล้มเข่าแตก เอามารำลึกถึงวัยเด็กปล่อยใจไปพร้อมกัน

ปลดล็อกความชิค กับอาร์ตติสแห่งสีสัน

เรื่องราวทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความน่าสนใจของอาร์ตติสแห่งสีสัน พลอยwild so serious เพื่อทำความรู้จักกับเธอให้มากขึ้น ‘Happy Journey with BEM 2023’ Art Journey ที่จัดโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงจัดเวิร์กชอปงานศิลปะสุดเอกซ์คลูซิฟ ร่วมกับศิลปินชื่อดัง ตอบแทนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ฟรี! ตลอดปี 2566 ชวนสายอาร์ตนักเดินทางทุกระดับ

ในครั้งนี้ชวนทุกท่านไปรู้จักกับ อาร์ตติสแห่งสีสันผ่านกิจกรรม ‘ปลดล็อกความชิก กับอาร์ตติสแห่งสีสัน’ เพื่อฟังเรื่องราวเสริมสร้างแรงบันดาลใจ แลกเปลี่ยนแนวคิดความสำเร็จบนเส้นทาง NFT เพื่อเรียนรู้เรื่องราวการโคจรเข้าหากันระหว่าง NFT และศิลปะการสร้างสรรค์ผลงาน

พร้อมชวนทำเวิร์กชอปผลงานภาพพิมพ์ ‘Silk Screen’  

ที่จะนำเอาเหล่าคาแรคเตอร์แก๊งสัตว์เพี้ยนตัวการ์ตูนจากใน Exhibition มาทำเป็นลาย silk screen ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำเอาเสื้อ ผ้าเช็ดหน้า หรือถุงผ้าของตัวเองมาร่วมสนุกและมาสร้างสรรค์ งานศิลป์ที่มีชื้นเดียวในโลกเป็นของตัวเองกลับบ้านเป็นของขวัญสุดพิเศษ 

ร่วมเดินทางท่องโลกศิลปะไปพร้อมกัน ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ Happy Journey with BEM 2023’ บันทึกภาพประทับใจผ่านลายเส้นสีน้ำ กับกิจกรรม ปลดล็อกความชิค กับอาร์ตติสแห่งสีสันปักหมุด METRO ART สถานีพหลโยธิน วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ http://bitly.ws/DZK4 หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มที่ เฟซบุ๊ก BEM Bangkok Expressway and Metro

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image