ชวนหญิงทา ‘ลิปส้ม’ ยุติความรุนแรง #HEARMETOO มีอะไรจะบอก

#HEARMETOO
#HEARMETOO

ต่อยอดจากความสำเร็จของ #Metoo UN WOMEN เปิดตัวแคมเปญ #HEARMETOO ช่วยรณรงค์ความเสมอภาคระหว่างเพศ

#HEARMETOO – จากความสำเร็จการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงผ่านแฮชแท็ก #Metoo ที่โด่งดังไปทั่วโลก ที่คนดังมากมายมาร่วมสนับสนุนพร้อมบอกเล่าถึงประสบการณ์ ไม่ว่าจะ เลดี้ กาก้า, แกเบรียล ยูเนี่ยน, อีแวน เรเชล วูด ล่าสุด องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น วูเมน (UN Women) ได้เปิดตัวแคมเปญรณรงค์ใหม่ “#HEARMETOO หรือ #มีอะไรจะบอก” อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ

มณฑิรา นาควิเชียร เจ้าหน้าที่ชำนาญการงานสื่อสารองค์กร ยูเอ็น วูเมน สำนักงานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า หลังจากเกิดคดีล่วงละเมิดทางเพศในสหรัฐอเมริกา ที่นำไปสู่การเกิดแคมเปญแฮชแท็ก #MeToo ครั้งแรกในปี พ.ศ.2549 เพื่อกระตุ้นการตระหนักรู้ของผู้รอดชีวิตจากประสบการณ์ที่ถูกประณาม ประทุษร้าย และคุกคามทางเพศในกลุ่มผู้หญิงผิวสี และบุคคลที่มีความหลากหลายในเชื้อชาติ ในสหรัฐอเมริกา และยังเป็นการรณรงค์ให้ผู้หญิงออกมาเรียกร้องสิทธิ และความเสมอภาคระหว่างเพศให้เกิดความเท่าเทียม กระทั่งในปี พ.ศ.2560 ดาราฮอลลีวู้ดชื่อดัง อลิสซา มิลาโน ออกมาทวีต #MeToo ผ่านทางทวิตเตอร์ ปรากฏว่ามีผู้คนนับล้านรวมถึงคนดังทั่วโลกจำนวนมากออกมาสนับสนุน พร้อมบอกเล่าถึงประสบการณ์ตัวเองเช่นกัน จนทำให้กระแส #MeToo โด่งดังไปทั่วโลก

มณฑิรากล่าวอีกว่า ยูเอ็น วูเมน จึงร่วมกับกลุ่มบริษัทในเครือ WPP Marketing Communications ซึ่งเป็นธุรกิจด้านสื่อโฆษณาในประเทศไทย เปิดตัวการรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ ผ่านแคมเปญ เฮียมีทู หรือ #มีอะไร

จะบอก ผ่านกิจกรรมรณรงค์ ได้แก่ การทาลิปสติกสีส้ม แล้วโพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย พร้อมติดแฮชแท็ก #HEARMETOO #มีอะไรจะบอก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าที่จะพูดและบอกเล่าประสบการณ์ของตน พร้อมสะท้อนทัศนคติที่เป็นส่วนช่วยให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงก้าวผ่านเรื่องเลวร้ายในอดีต ตั้งแต่วันนี้ถึง 10 ธันวาคม

Advertisement
มณฑิรา นาควิเชียร

นอกจากนี้ สามารถสัมผัสสถานการณ์จำลองความรุนแรง ในรูปแบบออนไลน์ 360 องศา ผ่านเว็บไซต์ www.hearmetoo.or.th ซึ่งจะมีภาพเคลื่อนไหวและเรื่องราวประสบการณ์ของผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง ให้ได้สัมผัสประสบการณ์จริงและเข้าใจความรู้สึกของผู้ถูกกระทำ ตลอดจนภาพยนตร์สั้นต่างๆ

“ที่ผ่านมาปัญหาการคุกคามทางเพศถูกทำให้ต้องเงียบ หลายคนถูกมองเป็นเรื่องปกติ บ้างก็มีอคติต่อผู้หญิง ซึ่งจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่จากนี้เราต้องพูดถึงมัน และหาทางแก้ปัญหาด้วยวิธีสันติ ทุกคนจะต้องรับรู้ว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่ความปกติ เป็นสิ่งไม่ควรทำ และผู้หญิงหรือผู้ถูกกระทำไม่ใช่คนผิด” มณฑิรากล่าวทิ้งท้าย

#มีอะไรจะบอก

Advertisement

ยูเอ็นวูเมน ชวนทาลิปสติก ‘สีส้ม’ รณรงค์ยุติความรุนแรง 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image