สำรวจตัวเอง มีพฤติกรรม ‘ตีตรา-เลือกปฏิบัติ’ หรือไม่ อยากปล่อยให้ความไม่รู้..ทำร้ายคนรอบข้าง

สำรวจตัวเอง มีพฤติกรรม 'ตีตรา-เลือกปฏิบัติ' หรือไม่ อยากปล่อยให้ความไม่รู้..ทำร้ายคนรอบข้าง

สำรวจตัวเอง มีพฤติกรรม ‘ตีตรา-เลือกปฏิบัติ’ หรือไม่ อยากปล่อยให้ความไม่รู้..ทำร้ายคนรอบข้าง

  “หยุด…บอกว่าเราสวยจนอยากยกมดลูกให้ เพราะนิยามของความสวย และความเป็นผู้หญิง ไม่ได้ตัดสินที่อวัยวะ”

  “หยุด…บอกว่าเราเป็นของเทียม เพราะนี่คือธรรมชาติและความเป็นเรา”

หนึ่งในคำพูดของ “คนข้ามเพศ” ในกิจกรรม “สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการตีตราและเลือกปฏิบัติ เพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งความเข้าใจ ไม่ตีตรา ไม่เลือกปฏิบัติ ต่อคนที่แตกต่างไปจากเรา” จัดโดย สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี (IHRI) ณ สถาบัน IHRI อาคารจามจุรีสแควร์ ชั้น 11 สามย่าน

สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กล่าวว่า การตีตราและเลือกปฏิบัติเป็นเรื่องใกล้ตัว เราสามารถสำรวจตัวเองว่า เราเคยมีพฤติกรรมเหล่านี้ไหม เช่น ด่าคนอื่นที่ข้ามถนนช้าว่าอี… ด่าคนที่ขับรถไม่ดีว่าอี… หากมี นั่นแสดงว่าเรากำลังตีตราคนอื่นอยู่ และพร้อมถูกตีตราเช่นกัน ฉะนั้นอยากชวนให้เปลี่ยน ด้วยการลองเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนกับเรื่องการใช้ชีวิตและทำงาน จะทำให้เรามีความเข้าใจมนุษย์มากขึ้น

Advertisement
สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
สำรวจตัวเอง มีพฤติกรรม ‘ตีตรา-เลือกปฏิบัติ’ หรือไม่ อยากปล่อยให้ความไม่รู้..ทำร้ายคนรอบข้าง

ปักหมุดหมายแก้ปัญหานี้ สุภัทรามองว่าแค่นโยบาย และมาตรการจูงใจไม่เพียงพอ แต่ต้องมีกฎหมายเพื่อมาขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล อย่าง ร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. … ฉบับภาคประชาชน ที่จะเป็นกฎหมายกลางและเครื่องมือขจัดการเลือกปฏิบัติครั้งแรกของไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็น โดยรัฐสภา

  “แม้กฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติไม่ใช่ยาวิเศษ ที่มีแล้วปัญหาจะหายไปหมด แต่ส่วนตัวคิดว่าอย่างน้อยๆ จะเป็นหลักประกันว่าห้ามมีการเลือกปฏิบัติในแผ่นดินไทย” สุภัทรากล่าว

ขณะที่ ผศ.สุนิศา สุขตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง สาขาการพยาบาลสุขภาพและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เจอเคสแอลจีบีคิวพลัสที่เข้ามาปรึกษาปัญหาทางจิต กล่าวว่า ดิฉันได้เห็นมิติการใช้ชีวิตที่ทรมาน เมื่อได้พูดคุยเชิงลึกพบสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการดำรงชีวิต ครอบครัว และสิ่งแวดล้อม ที่ถูกกดดัน ไม่ยอมรับ ตีตรา และเลือกปฏิบัติ จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และคุณภาพชีวิตแย่ลง เนื่องจากอาการซึมเศร้า ไปถึงขั้นคิดอยากฆ่าตัวตาย

Advertisement
ผศ.สุนิศา สุขตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง สาขาการพยาบาลสุขภาพและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำรวจตัวเอง มีพฤติกรรม ‘ตีตรา-เลือกปฏิบัติ’ หรือไม่ อยากปล่อยให้ความไม่รู้..ทำร้ายคนรอบข้าง

เพื่อจะแก้ปัญหาดังกล่าว ผศ.สุนิศาชวนทำความรู้จักและสำรวจตัวเองผ่านคน 3 กลุ่ม ที่ตีตราและเลือกปฏิบัติ คือ

1.กลุ่มไม่รู้ปัญหา คนกลุ่มนี้จะชอบไปพูดแหย่ พูดเล่น โดยไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นมีปัญหา

2.กลุ่มลังเล คนกลุ่มนี้รู้ว่าการกระทำนี้ไม่ดี แต่ก็ยังเผลอทำไป อาจด้วยความคิดว่าผู้ถูกกระทำคงไม่ถือสาอะไร

“ในศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หากคนๆ นั้นทำอะไรแล้วคิดว่าได้ประโยชน์ เช่น พูดแซวคนแล้วทำให้คนอื่นเกิดรอยยิ้มหรือขำได้ เขาก็จะทำอย่างนั้นต่อไปเรื่อยๆ ไม่เปลี่ยนแปลง แต่หากเราซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำรู้สึกว่าพฤติกรรมนี้ไม่โอเค ก็อาจต้องบอกเขากลับไปด้วยวิธีเชิงบวก เช่น รู้สึกไม่โอเค เพื่อทำให้เขารู้ตัว และลดพฤติกรรมนี้ลง”

ผศ.สุนิศากล่าวอีกว่า 3.กลุ่มขาดสติ คนกลุ่มนี้ได้แอ๊กชั่นเรื่องการไม่ตีตราและไม่เลือกปฏิบัติไปแล้ว แต่อาจมีบางช่วงที่พูดและคิดบางช่วงอย่างขาดสติ ตรงนี้ก็ต้องฝึกความคิดก่อนแสดงพฤติกรรมออกไป เพื่อหยุดความคิดตั้งต้นที่นำไปสู่พฤติกรรมการตีตราและเลือกปฏิบัติผู้อื่น

ปักหมุดหมายแก้ปัญหานี้ ผศ.สุนิศาแนะนำว่า สามารถเริ่มที่ตัวเรา ที่จะไม่ไปตีตราคนอื่นก่อน คือเราต้องเข้าใจว่าการถูกตีนั้นเจ็บ ไม่มีใครอยากเจ็บจากการถูกตี แต่น่าสนใจว่าปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าถูกตี

 ผศ.สุนิศากล่าวทิ้งท้ายว่า จริงๆ เรื่องนี้อาจจบได้ด้วยการเปลี่ยนตัวเราและเขา ด้วยมุมมองและความเข้าใจว่า ทุกคนมีคุณค่า มีความสุขเท่ากัน ไม่ควรมีใครอยู่สูงกว่าเพียงเพราะได้กดทับคนรอบข้าง

สำรวจตัวเอง มีพฤติกรรม ‘ตีตรา-เลือกปฏิบัติ’ หรือไม่ อยากปล่อยให้ความไม่รู้..ทำร้ายคนรอบข้าง

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image