ภูมิภาคเอเชีย ผู้นำโลกนวัตกรรม 5G

แม้การขยับปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สายจากยุคที่ 4 ไปสู่ยุคที่ 5 จะเกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก แต่ถึงต้นปี 2018 นี้ก็เริ่มมีคำกล่าวอ้างซึ่งเป็นที่ยอมรับกันกลายๆ อย่างไม่เป็นทางการกันแล้วว่าภูมิภาคเอเชีย คือ “ผู้ชนะ” ในการแปรเทคโนโลยีนี้ จากความสำเร็จในห้องปฏิบัติการทดลอง จากโต๊ะออกแบบ ไปสู่ความเป็นจริงในการใช้งาน

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะกลายเป็นภูมิภาคแรกสุดที่จะได้ใช้บริการ 5 จี ในเชิงพาณิชย์กันจริงๆ

มีเหตุผลหลายประการที่บ่งชี้เช่นนั้น และเหตุผลบางประการเหล่านี้แสดงให้เห็นด้วยว่าสุดท้ายแล้วนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ 5 จี

ส่วนใหญ่เกิดขึ้นและพัฒนาการขึ้นภายในภูมิภาคเอเชียนี่เองอีกด้วย

Advertisement

อันที่จริง ระหว่างที่กำลังอ่านข้อเขียนชิ้่นนี้ นักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ชมที่เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ภายในปริมณฑลของการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ฤดูหนาว 2018 ที่เมืองพย็องชัง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาหลีใต้ ก็กำลังลองประสบการณ์ใหม่ๆ ทั้งหลายที่โครงข่าย 5 จี อำนวยให้เกิดขึ้นได้ที่นั่น

แต่แวดวงสื่อสารไร้สายคาดการณ์กันว่าประสบการณ์ 5 จี เต็มรูปแบบจะเกิดขึ้นตามมาหลังจากนี้เล็กน้อย ในเอเชียอีกเช่นกัน อาจจะเร็วกว่าแต่ไม่ช้ากว่ากำหนดเริ่มต้นการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ฤดูร้อน 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ถึงตอนนั้น ผู้ที่เข้าร่วมในโตเกียวเกมส์ “ทุกคน” สามารถ “สตรีม” ภาพเคลื่อนที่เป็น “ไลฟ์ฟีด” ของการแข่งขันกีฬานานาชนิด

Advertisement

ออกมารับชมพร้อมๆ กันได้แล้ว ที่ความละเอียด 4k เป็นอย่างน้อย

ทั้งพย็องชังเกมส์ และโตเกียวเกมส์

ถือเป็นการ “โชว์เคส” ที่ดีที่สุดในอันที่จะแสดงให้เห็นว่า โครงข่ายไร้สายใหม่ในยุค 5 จีนั้น อำนวยให้เกิดอะไรได้บ้าง ก่อให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้นมาก่อนที่จะขยายตัวออกไปเป็นวงกว้าง กลายเป็นอุปกรณ์ใหม่ๆ แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ รวมทั้งระบบการทำงานใหม่ๆ ตั้งแต่ในโรงงานผลิตเรื่อยไปจนถึงกลางถนน ว่าควรจะเป็นไปอย่างไร และเป็นไปได้อย่างไร

แต่การโชว์เคสทั้ง 2 กรณีเป็นเพียงเหตุผลส่วนเดียวเท่านั้นที่ส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียขยับไปข้างหน้ากว่าทุกภูมิภาคอย่างน้อย

หนึ่งก้าว กลายเป็นผู้นำในยุค 5 จี ผู้ให้บริการ

โครงข่าย ผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ทั้งสำหรับโครงข่ายและสำหรับผู้ใช้ทั่วไป (เอ็นด์ยูสเซอร์) เรื่อยไปจนถึงยักษ์ใหญ่ในวงการพาณิชยกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายในเอเชีย วางแผนและลงมือขับเคลื่อนแผนงานยุค 5 จี ของตนมา

ระยะหนึ่งแล้ว ด้วยแรงจูงใจเต็มเปี่ยม

ใน “ไวท์เปเปอร์” ของ ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน กับ พรินซิเพิล เผยแพร่เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า ในดัชนีนวัตกรรมโลก (จีไอไอ) ประจำปี 2017 ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยคอร์แนล, สถาบันธุรกิจอินซีด และองค์การทรัพย์สินทาง

ปัญญาโลก (ไวโป) กลุ่มคลัสเตอร์นวัตกรรมที่ดีที่สุดในโลก 3 อันดับแรกนั้น มีถึง 2 คลัสเตอร์ที่อยู่ในเอเชีย

คลัสเตอร์ดังกล่าวนั้่น แห่งแรกอยู่ที่นครโยโกฮามาของญี่ปุ่น แห่งที่สองเป็นใน

มหานครเสิ่นเจิ้นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ทั้ง 2 คลัสเตอร์ จัดอยู่ในอันดับ 1 และ 2 เหนือกว่ากลุ่มคลัสเตอร์นวัตกรรมอันดับ 3 ที่เป็น ซิลิคอน วัลเลย์

ในระหว่างเมืองซานโฮเซกับซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาอีกด้วย

กิจการของเอเชียที่สร้างชื่อเสียงและขยายขอบเขตออกไปในระดับโลก ตั้งแต่

เท็นเซนต์, อาลีบาบา, หัวเว่ย และเสี่ยวมี่ ในจีน,

ซอฟต์แบงก์ กับ ราคูเทน ในญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่ง ภารตี แอร์เทล ในอินเดีย ล้วนมีส่วนเสริมพลังนวัตกรรมในภูมิภาคทั้งสิ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล และขอบเขตของการสื่อสารโทรคมนาคม

จึงไม่น่าแปลกที่เอเชียจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำโลกในด้านการพัฒนาระบบและโครงข่าย 5 จี ที่จะมาทดแทน 4 จี หรือ 4 จี แอดวานซ์ ในอนาคตอันใกล้

นาวิน โวหรา รองประธานฝ่ายขายด้านกิจการไร้สายของคอมม์สโคป ชี้ให้เห็นถึงความคึกคัก กระตือรือร้นในการเคลื่อนตัวสู่ยุค 5 จี ของเอเชียว่า เห็นได้จากการที่มีการทดลอง 5 จี และการทดลองเพื่อพิสูจน์แนวคิดในเรื่องนี้กันขนานใหญ่ในภูมิภาค

ไม่เพียงแค่ในเกาหลีใต้หรือญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ในจีนเองก็มีแผนเตรียมการไว้เรียบร้อยแล้วที่จะทดลองใช้ 5 จี ในพื้นที่ของเมืองต่างๆ มากถึง 100 เมือง

ในขณะที่ที่ญี่ปุ่นเอง เอ็นทีที โดโคโมะ, เคดีดีไอ และซอฟต์แบงก์ กรุ๊ป กำหนดจะลงทุนเพื่อนำการพัฒนา 5 จี ไปสู่การใช้งานให้ได้จริง รวมกันแล้วเป็นเงินสูงถึง 45,700 ล้านดอลลาร์

นาวินยกข้อมูลของ เวียวี โซลูชัน มาแสดงเอาไว้ด้วยว่า ผลของการทดลองในห้องปฏิบัติการ 5 จี ก่อนมีการกำหนดมาตรฐานกันขึ้นนั้น โอเปอเรเตอร์ที่ทดลองแล้วสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุด 4 ใน 6 อันดับแรกสุดของโลก เป็นผลการทดลองในห้องปฏิบัติการของผู้ให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี่เอง

ในรายงานของ ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ยกตัวอย่างถึงแรงจูงใจในการรุดหน้าสู่ 5 จี โดยเร็วของเอเชียไว้ว่า ในทางหนึ่งเป็นไปเพื่อให้แน่ใจว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศมีความพร้อมเพียงพอต่อการรองรับนวัตกรรมดิจิทัลระลอกใหม่นี้ได้ ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้คาดหวังรายได้ใหม่ๆ ที่อยู่นอกเหนือจากรายได้จากสัญญาการใช้สมาร์ทโฟน เพราะเชื่อมั่นว่าช่องทางการเชื่อมต่อที่ใหญ่ขึ้นและเร็วมากขึ้นในยุค 5 จี จะก่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ใหม่ๆ เกิดขึ้นตามมามากมาย ตั้งแต่การใช้งานรถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้เองโดยอัตโนมัติ เรื่อยไปจนถึงการให้บริการในอีกมิติหนึ่งของอินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ นั่นคือไอโอที ในเชิงอุตสาหกรรม (ไอไอโอที) เช่น การเชื่อมต่ออัตโนมัติตลอดเวลาสำหรับโรงงานผลิต หรือศูนย์อำนวยการผลิตของบริษัท เป็นต้น

จีนกับอินเดียมีแรงจูงใจคล้ายคลึงกัน แต่เรียงลำดับความสำคัญเรื่องนี้แตกต่างออกไปจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ทางการจีนให้ความสำคัญเรื่องนี้ถึงกับบรรจุเอาไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับที่ 13 และเพิ่งให้เงินทุนสนับสนุนต่อแซดทีอีกับหัวเว่ย 72 ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เป้าหมายเพื่อให้สามารถใช้งาน 5 จี ได้เต็มที่ภายในปี 2030 โดยกำหนดความสำคัญลำดับแรกเอาไว้ที่ “ไอไอโอที” ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญในการสนับสนุนโปรเจ็กต์ทะเยอทะยานของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง อย่าง โปรเจ็กต์ “เมด อิน ไชนา 2025” อีกด้วย

ส่วนอินเดียคาดหวังว่าใช้ 5 จี เพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัล และช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองกับชนบท ลดความแออัดในส่วนเมือง และขยายศักยภาพของชนบทให้สูงขึ้น

ตามภารกิจ “สมาร์ทซิตี้ อินเดีย” และ “ดิจิทัล อินเดีย” ของเนรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรี

แต่เชื่อว่า การมาถึงของ 5 จี ก็จะช่วยอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศได้มหาศาลเช่นเดียวกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image