ระบบชะลอฟ้องดีจริงหรือ ? เปรียบเทียบระหว่างกม.ไทย -อเมริกา- สหราชอาณาจักร

ระบบชะลอฟ้องดีจริงหรือ กฎหมายเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทย สหรัฐอเมริกาและ สหราชอาณาจักร

บทนํา

เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติอันหนึ่งที่มีการนํา รูปแบบการเบี่ยงเบนคดี ( Trial diversion ) มาใช้ดวยความปรารถนาดีของทางรัฐบาลในการลดปัญหา คดีซึ่งเข้าสู่ศาลในปริมาณมาก ซึ่งหนึ่งในมาตรการของพระราชบัญญัตินี้คือ การให้อํานาจแก่พนักงานอัยการ ในการชะลอการฟ้องและยุติก่อนที่จะขึ้นสู่ศาลโดยพนักงานอัยการมีอํานาจที่จะตั้งเงื่อนไขเพื่อชะลอการฟ้อง ได้ตามที่เห็นสมควร กระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการสําคัญและมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร บทความนี้จึงเป็นการทําความเข้าใจระบบต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร โดยพยายามจะวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์ของสหรัฐอเมริกาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมาก่อนว่ามีปัญหาและในทางปฏิบัติอย่างไร และให้ผู้อ่านรับรู้รับทราบถึงระบบการชะลอฟ้องของสหราชอาณาจักรที่มีการพัฒนาจากสหรัฐอเมริกา ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้โดยหวังว่าจะเป็นแนวทางในการพิจารณาของรัฐสภาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ มาตราการฯ อย่างรอบคอบ

กระบวนการชะลอฟ้องของสหรัฐอเมริกา

Advertisement

ระบบการชะลอฟ้องของสหรัฐอเมริกาเป็นระบบที่มีการใช้มาค่อนข้างนาน โดยที่สหรัฐอเมริกาเอง ส่วนใหญ่จะนํามาใช้กับคดีเยาวชนโดยหลักสําคัญในกระบวนการชะลอฟ้องก็เพื่อที่จะให้จําเลยได้รับ ประโยชน์โดยที่จําเลยไม่ต้องถูกดําเนินคดีอาญา แต่อย่างไรก็ตามจําเลยจะต้องเชื่อฟังรัฐในการปกป้อง อาชญากรรม โดยในทางนิติวิธีแล้วการชะลอฟ้องนั้นมาจากกฎหมาย Speedy Trial Act 1974 โดยกฎหมายนี้ให้อํานาจพนักงานอัยการในการที่ชะลอฟ้องโดยไดรับอนุญาตจากศาล ทั้งนี้เพื่อเป็นการ ให้โอกาสจําเลยในการที่จะกลับตัวเป็นคนดีและไม่มีประวัติอาชญากรรมโดยอาศัยอํานาจนี้พนักงานอัยการ มีอํานาจในการใช้ดุลพินิจว่าคดีไหนเหมาะที่จะใช้กระบวนการชะลอฟ้อง โดยพนักงานอัยการจะใช้ ดุลพินิจตั้งแต่ระยะเวลาก่อนจะพิจารณาคดี ( Pre-Trial stage ) ต่อมาพนักงานอัยการจะถามหน่วยงาน ที่เกี่ยวของอาทิเช่น สํานักงานคุมประพฤติ เพื่อขอความเห็นที่เกี่ยวของว่าควรให้มีการกําหนดเงื่อนไข อย่างไรและเพียงใดเพื่อให้มีการชะลอฟ้อง โดยอาจจะกําหนดเงื่อนไขโดยให้มีการกําหนดโทษปรับอย่างหนัก หรือในกรณีนิติบุคคลก็อาจจะกําหนดให้มีการแผนในการฟื้นฟูบริษัท ถ้าจําเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติตาม ไม่ได้เพียงพอ การดําเนินคดีอาญาก็จะดําเนินต่อไป โดยในสหรัฐอเมริกาเองใช้มากในกรณีความผิดที่ ผู้กระทําเป็นเยาวชน เนื่องจากไม่ต้องการให้มีปัญหาเรื่องประวัติอาชญากรรม ปัจจุบันมีการนํามาใช้ใน คดีสําคัญ ๆ ในกรณีเรื่องอาชญากรรมเสื้อขาว (white collar crime) หรืออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

โดยเริ่มนํามาใช้อย่างแพร่หลายในกรณีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา มีการนํากระบวนการชะลอฟ้อง มาใช้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ในกรณีที่มีการฉ้อโกงหรือกระทําความผิดซึ่งมีโทษทางอาญา โดยการนํามา ปรับใช้นั้นกับคดีอาชญากรรมเสื้อขาวนั้น เพราะว่าไม่ต้องการให้บริษัทใหญ่ๆ นั้นล้มละลายซึ่งอาจจะเป็น ผลกระทบตอเศรษฐกิจ เพราะการฟ้องคดีนั้นถือเสมือนว่าเป็นการตัดสินประหารชีวิตบริษัทแล้วและอาจมี ความเสียหายอย่างที่ไม่คาดหมายอย่างมาก เช่นกรณี Arthur Anderson Case บริษัทบัญชีที่ความเก่าแก่ และมีชื่อเสียง ถูกฟ้องร้องเพียงเริ่มคดีทําให้ชื่อเสียงบริษัทเสียหายและล้มละลายในที่สุด ทําให้ผู้คนกว่า สี่หมื่นคนต้องออกจากงาน นับแต่นั้นมามีการใช้กระบวนการชะลอฟ้องสําหรับกรณีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กับบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐค่อนข้างมากเนื่องจากรัฐรับทราบปัญหาในการดําเนินคดีอาญาแก่บรรดา อาชญากรเศรษฐกิจอาจจะกล่าวได้ว่าการชะลอฟ้องในสหรัฐอเมริกานอกจากเป็นการใช้ในคดีเยาวชน ซึ่งเป็นกรณีพิเศษแล้วก็จะใช้ในกรณีฟ้องบริษัทใหญ่ที่มีความพิเศษตรงมีความเปราะบางตรงชื่อเสียง และอาจจะส่งผลกระทบโดยรวมเท่านั้น

กระบวนการชะลอฟ้องของสหราชอาณาจักร

Advertisement

สําหรับในประเทศอังกฤษกระบวนการชะลอฟ้องนั้นเดิมไม่ค่อยปรากฏชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามมีความพยายามในกรณีคดีอาญา R v Innospec limited2 โดยในคดีนั้นเป็นกรณีที่บริษัทน้ำมันพยายามที่จะให้สินบนแกรัฐบาลประเทศอินโดนีเซียมูลค่าแปดล้านเหรียญ ในกรณีนั้นสํานักงานดําเนินคดีอาญารายแรง (Serious Fraud Office) และ ก.ล.ต. (Securities and Exchange Commission) และกระทรวงยุติธรรมของ สหรัฐอเมริกาได้ทําการสืบสวนและสอบสวนร่วมกัน โดยในคดีนั้นมีการตกลงกันระหว่างพนักงานสืบสวนร่วมว่า หากบริษัท Innospec ยอมรับสารภาพและจายเงินจํานวน 12.7 ล้านดอลลาร์เป็นค่าปรับ โดยพนักงานและพนักงานสอบสวนร่วมตกลงจะไม่ดําเนินคดีต่อไป ในคดีนั้นเอง ลอรดโธมัสกล่าวไว้ใน คําพิพากษาว่า พนักงานอัยการไม่มีอํานาจที่จะชะลอฟ้องหรือทําสัญญาในกรณีนี้โดยท่านยกหลักสําคัญ หลักหนึ่งว่า “การดําเนินกระบวนการยุติธรรมตองกระทําโดยโปรงใสและเปิดเผย” ซึ่งนํามาจากคดี Innospec ตั้งแต่นั้นมาเป็นการยืนยั่นว่ากระบวนการชะลอฟ้องไม่สามารถกระทําได้ในกฎหมายของอังกฤษ

ต่อมารัฐสภาของอังกฤษไดยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อปรับปรุงระบบศาลและการดําเนินคดีอาญา ในปี2556คือ Crime and Court Act 2013 โดยมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 โดยกฎหมายนี้ เป็นผลยืนยันว่าจะให้มีระบบการชะลอฟ้องในสหราชอาณาจักร แต่อย่างไรก็ตามในระบบชะลอฟ้องของอังกฤษได้กําหนดไว้ค่อนข้างเฉพาะมาก โดยในกฎหมายดังกล่าว ส่วนที่ 1 ตารางที่ 17 ได้กําหนดไว้ชัดเจนว่า “ในการชะลอฟ้องของพนักงานอัยการกับบุคคล พนักงานอัยการต้องกระทําการชะลอฟ้องในคดีที่ปรากฏในสวนที่ 2 เท่านั้น และในการตกลงใด ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลที่มีเขตอํานาจ” สําหรับในรายชื่อความผิดตามสวนที่ 2 คือความผิดจะเป็นความผิดที่กระทบกับประชาชนหมู่มาก เช่นกรณีฉ้อโกงประชาชน สมคบกันฉ้อโกงประชาชน ความผิดตามพระราชบัญญัติฉ้อโกง ความผิดตามพระราชบัญญัติสินบน ความผิดตามพระราชบัญญัติบริษัท ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยตลาดเงินตลาดทุน ซึ่งการบัญญัติคดีนี้มีผลจํากัดโดยนํามาใช้เฉพาะคดีที่มีบริษัทจดทะเบียนเป็นผู้กระทําความผิดหรือคดีที่ผู้กระทําความผิดเป็นผู้บริหารบริษัท โดยบุคคลที่สามารถร้องขอให้ออกคําสั่งชะลอฟองได้ คืออัยการสูงสุด และผูอํานวยการสํานักงานคดีฉ้อโกงร้ายแรง (Serioud Fruad Office) นอกจากบุคคลที่มีอํานาจรองขอให้ออกคําสั่ง กฎหมาย Crime and Court Act 2013 ยังกําหนดหลักเกณฑและวิธีการเฉพาะในการทำคำสั้งชะลอฟ้องคดีอาญาไว้ด้วยโดยแบ่งออกเป็นสามขั้นตอน ขั้นตอนแรกเรียกว่าการหาพยานหลักฐาน(evidential stage) โดยในขั้นตอนนี้ได้กําหนดให้พนักงานอัยการที่ต้องการจะให้มีคําสั่งชะลอฟ้อง ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามีเหตุสงสัยตามควร (reasonable ground) ว่าบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นกระทําความผิด โดยยื่นร้องขอต่อศาลอาญาเพื่อขอดําเนินการสอบสวนต่อไป

สําหรับขั้นตอนต่อมา เรียกว่า การพิสูจน์ว่าการกระทําความผิดนั้น เป็นการกระทํา ความผิดที่กระทบกระเทือนกับประโยชน์สาธารณะ (publice interest stage) โดยภายหลังมีการ สอบสวนในขั้นตอนแรกแล้วพนักงานอัยการต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้ได้ว่าการชะลอฟ้องจะเกิด ประโยชน์แก่สาธารณชนอย่างไร้บ้าง แล้วเงื่อนไขที่ปรากฏในการชะลอฟ้องจะทําให้สังคมได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง เพื่อพิสูจน์แก่ศาล โดยหากพนักงานอัยการมั่นใจแล้วจะส่งให้อัยการสูงสุด หรือผู้อํานวยการสํานักงานคดีฉ้อโกงร้ายแรง เป็นผู้ตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนยื่นต่อศาลซึ่งขั้นตอนที่จะมาถึงศาลจะเรียกว่า (Preliminary hearing)

ในขั้นตอนนี้เองศาลจะเป็นคนตรวจสอบเงื่อนไขการชะลอฟ้องทั้งหมด โดยศาลจะตรวจสอบวาการชะลอฟ้องมีประโยชน์แก่ส่วนร่วมหรือไม่เพียงใดหากพบว่าการชะลอฟ้องจะเกิด ประโยชน์มากกว่าศาลจึงจะสั่งอนุญาตให้มีการชะลอฟ้องได้ โดยหลังจากศาลอาญาได้มีคําสั่งเห็นชอบให้ทําการชะลอฟ้องแล้ว อัยการสูงสุดจึงจะมีคําสั่งให้ชะลอฟ้องและกําหนดเงื่อนไขได้ โดยพนักงานอัยการ จะต้องรายงานศาลว่ามีการปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือไม่ เพียงไร หากปฏิบัติตามเงื่อนไขก็ถือว่าคดีอาญาระงับไป แต่หากมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้วก็ใหพนักงานอัยการดําเนินคดีอาญาต่อไป จะเห็นได้ว่า ในสหราชอาณาจักรเองจะเน้นว่าให้มีการตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการมากกว่าสหรัฐอเมริกา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image