เลขาป.ป.ส.ชี้กัญชา-กัญชง ยังเป็นยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นเฉพาะสารสกัด ตามเงื่อนไขที่ระบุ

เลขาปปส.ชี้กัญชา-กัญชง ยังเป็นยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นเฉพาะสารสกัด CBD มี THC ผสมไม่เกิน 0.01-0.2” ห้ามปลูก ผลิต ครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต ผิดกม.

เมื่อวันที่ 31 ส.ค. นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปรามยาเสพติด (ป.ป.ส ) กล่าวถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้ยกเลิกชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ลำดับที่1 คือ กัญชาและลำดับที่ 5 คือ กัญชง ในบัญชียาเสพติด ว่า ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าประกาศของกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้ เป็นการปรับข้อความเรื่องกัญชากับกัญชง ในบัญชีแนบท้ายของประเภทยาเสพติด ในกลุ่มของพืชกัญชาและกัญชง ไม่ใช่การยกเลิกหรือถอดพืชกัญชาและกัญชงพ้นบัญชียาเสพติดให้โทษ ประเภท5 แต่อย่างใด ทั้งนี้ในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ระบุชัดว่ากัญชา Cannabis คือยาเสพติดให้โทษ รวมถึงทุกส่วนของพืชกัญชา เช่น ใบ ดอก ยอด ผล ลำต้น วัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา เช่น ยาง น้ำมัน

นายนิยม ยังกล่าวว่า แต่ในประกาศ ยกเว้น เฉพาะ เปลือกแห้ง แกนลำ ต้นแห้ง เส้นใยแห้ง และผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง ของกัญชา สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกัญชา ก็มีการะบุชัดเจนว่า แบบไหนที่ยกเว้น ไม่ถือว่าป็นยาเสพติดให้โทษ ซึ่งตามกฎหมายระบุว่า แคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) ที่สกัดจากกัญชา ซึ่งมีความบริสุทธิ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 99 โดยมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.01โดยน้ำหนัก. สารสกัดหรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบหลักและมีสารเตตรา ไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกิน ร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ซึ่งเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร และต้องใช้ ตามวัตถุประสงค์ทางยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร เท่านั้น.

Advertisement

นายนิยม กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังยกเว้นในส่วนของเมล็ดกัญชง หรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชง ที่ใช้ผสมในอาหาร ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร และน้ำมันจากเมล็ดกัญชง (hemp seed oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ที่ใช้ผสมในเครื่องสำอาง ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง เท่านั้นไม่ถือว่าสิ่งดังกล่าวเป็นยาเสพติดให้โทษ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเข้ายาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร และเครื่องสำอางซึ่งส่วนผสมของสารสกัด CBD เมล็ดกัญชง หรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชง จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศในช่วงระยะเวลา 5 ปีแรก (นับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม62 เป็นต้นไป) จึงยกเว้นเฉพาะสารสกัด CBD ที่ให้ใช้เป็นยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรืออาหารที่มีเมล็ดกัญชงหรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชง เครื่องสำอางที่มีของน้ำมันจากเมล็ดกัญชงหรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชงเป็นส่วนผสม ซึ่งผลิตในประเทศไทยจากผู้ผลิตที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยอาหาร หรือกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอางเท่านั้น

เมื่อถามว่าแสดงตอนนี้กัญชายังคงเป็นยาเสพติดการครอบครองหรือลักลอบปลูกยังคงผิดกฎหมาย นายนิยมกล่าวว่า ขอย้ำกับพี่น้องประชาชน ว่าพืชกัญชา ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 ตามกฎหมายชัดเจน การผลิตเพาะปลูก นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครอง หรือเสพ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามกฎหมาย การออกประกาศฉบับนี้ของกระทรวงสาธารณสุข ก็เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่นำกัญชา ไปใช้ทางการแพทย์เท่านั้น ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้รับอนุญาตไม่สามรถครอบครองได้ หลังจากนี้กระทรวงสาธารณสุข จะต้องออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานเกี่ยวกับการนำเมล็ดกัญชง น้ำมันหรือสารสกัดจากกัญชงหรือกัญชาไปใช้เป็นส่วนผสมในยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร และเครื่องสำอางที่ผลิตในไทยให้ประชาชนรับทราบ

อ่านรายละเอียด

Advertisement

: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพตดิ ให้โทษในประเภท ๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒

                       

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image