เปิดระเบียบ-หลักเกณฑ์ ‘การลาของนักโทษเด็ดขาด’ขอออกจากคุกไปไหนได้บ้าง

เปิดระเบียบ-หลักเกณฑ์ ‘การลานักโทษเด็ดขาด’ ใช้สิทธิ์ขอออกจากคุกไปทำอะไรได้บ้าง

จากกรณีมีภาพนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ผู้ต้องขังในคคีจำนำข้าวออกจากเรือนจำมาร่วมงานศพมารดา  ทั้งนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า การกระทำดังกล่าวนั้นกระทำได้หรือไม่ ซึ่งต่อกรมราชทัณฑ์ได้ออกมาชี้แจงว่าเป็นไปตามระเบียบว่า ‘การลาของนักโทษเด็ดขาด’ ที่สามารถใช้สิทธิ์ได้

ทั้งนี้ มติชนออนไลน์ ได้ตรวจสอบระเบียบ และหลักเกณฑ์ ของกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการลาของนักโทษเด็ดขาด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 จะมีหลักเกณฑ์ ในการลากิจ ของนักโทษเด็ดขาด (เฉพาะการลาไปประกอบพิธีเกี่ยวกับงานศพ)

Advertisement

1. คุณสมบัติของนักโทษเด็ดขาดที่จะขออนุญาตลากิจ
1.1 เป็นนักโทษเด็ดขาดขั้นกลางขึ้นไป
1.2 เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย มีความอุตสาหะ ความก้าวหน้าในการศึกษา ทำการงาน
บังเกิดผลดีหรือความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ
1.3 ไม่เป็นผู้กระทำผิดวินัยในเรือนจำ หากกระทำผิดวินัย ระยะเวลาที่ถูกลงโทษ
ต้องผ่านไปแล้ว ๕ ปี ขึ้นไป นับจากวันที่นักโทษเด็ดขาดรับทราบคำสั่งลงโทษทางวินัย

2. แนวทางการพิจารณาอนุญาตให้นักโทษเด็ดขาดลากิจ
2.1 ให้เฉพาะการลาไปร่วมพิธีมาปนกิจศพ (ฝังศพ หรือเผาศพ ฯลฯ) เท่านั้น
2.2 ให้เฉพาะผู้ตายที่เป็น บิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตร ของนักโทษเด็ดขาด
2.3 ให้ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานและคุณสมบัติของนักโทษเด็ดขาดที่จะขอลา ดังนี้
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง (กรณีญาตินักโทษเด็ดขาดยื่นคำร้อง)
– เอกสารที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างนักโทษเด็ดขาดกับผู้ตาย
– ใบมรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตาย
– เอกสารเกี่ยวกับการประกอบพิธี ที่ระบุสถานที่ทำการฌาปนกิจ (ถ้ามี)
2.4 ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของนักโทษเด็ดขาดและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม ซึ่งควรพิจารณา รายละเอียดอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น สถานที่ประกอบพิธีมาปนกิจ ระยะทาง การเดินทาง อยู่ในจุดอันตรายหรือเสี่ยงต่อการควบคุม หรือไม่

3. ผลการพิจารณา
3.1 ในกรณีผู้ได้รับมอบอำนาจ พิจารณาอนุมัติ
ให้ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน กำชับเจ้าหน้าที่ให้ควบคุม
นักโทษเด็ดขาดอย่างใกล้ชิดและถือปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ของทางราชการโตยเคร่งครัด อย่าให้เกิด
ความเสียหายแก่ทางราชการ และเมื่อเสร็จภารกิจแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมนำตัวนักโทษเด็ดขาดกลับเข้าคุมชังในเรือนจำ/ทัณฑสถานโดยทันที

Advertisement

๓.๒ ในกรณีผู้ได้รับมอบอำนาจ พิจารณาไม่อนุมัติ
-ให้ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน มอบหมายเจ้าหน้าที่ชี้แจงให้
นักโทษเด็ดขาดหรือญาติผู้ยื่นคำร้องทราบ หากนักโทษเด็ตขาดหรือญาติผู้ยื่นคำร้องมีความประสงค์อุทธรณ์
คำสั่งไม่อนุมัติ ก็ให้เรือนจำ/ทัณฑสถาน ส่งคำอุทธรณ์และเอกสารรายละเอียดต่างๆ ของนักโทษเด็ดขาดดังกล่าวพร้อมเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการลากิจ ไปกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้อธิบดีกรมราซทัณฑ์พิจารณาอีกครั้งต่อไป

แบบฟอร์มหนังสือขออนุญาต

 

หนังสือสำหรับผู้ต้องขังที่ลา
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image