‘บิ๊กต๊อก’ไม่กลัว ถูกวิจารณ์-ถอดถอน’ ลั่นถ้ากลัวอย่ามายืนจุดนี้

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ กรณีเครือข่ายพระสงฆ์ ที่สนับสนุนสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เตรียมนำรายชื่อ 20,000 รายชื่อ ยื่นกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้ปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรี ที่ กระทรวงยุติธรรม
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ กรณีเครือข่ายพระสงฆ์ ที่สนับสนุนสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เตรียมนำรายชื่อ 20,000 รายชื่อ ยื่นกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้ปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรี ที่ กระทรวงยุติธรรม

“บิ๊กต๊อก” ไม่กลัว” ถูกวิจารณ์ – ถอดถอน ลั่นยืนหยัดถูกต้อง ทำตามกฎหมาย ถ้ากลัวอย่ามายืนจุดนี้

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีเครือข่ายพระสงฆ์ ที่สนับสนุนสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เตรียมนำรายชื่อ 20,000 รายชื่อ ยื่นกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้ปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ว่า หากกฎหมายมีก็ถอดถอนไป ก็แค่นั้น แต่ไม่ทราบว่ากฎหมายมีหรือไม่ เพราะไม่เคยศึกษาในเรื่องนี้ อีกทั้งการถอดถอนเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรี และอย่าเอาตนไปโยงกับกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหว และไม่อยากให้สัมภาษณ์ในเรื่องนี้

พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า หากถามถึงประเด็นนี้ ตนก็มีจุดยืนของตัวเอง ซึ่งคนที่แต่งตั้งตนมาเป็นรัฐมนตรีคือ นายกรัฐมนตรีที่สรรหาตนมาเป็นรัฐมนตรี ดังนั้น นายกรัฐมนตรีก็มีสิทธิที่จะให้อยู่หรือไม่ก็แค่นั้น จึงไม่จำเป็นต้องมองว่าตนถูกหรือผิด แต่นายกรัฐมนตรีต้องดูบริบทภาพรวมสอดคล้องกับสถานการณ์อย่างไร ซึ่งตนจะไม่บ่นอะไรทั้งสิ้น และตั้งแต่มาเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก็บอกหลายครั้งแล้วว่า ไม่เคยเสนอตัว และบอกนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำว่าไม่อยากเป็น แต่นายกรัฐมนตรีต้องการให้มาช่วยงาน ดังนั้น เมื่อเช่นนี้จึงบอกกับนายกรัฐมนตรีว่า หากจำเป็นต้องมีการปรับก็ไม่ต้องคำนึงว่าตนจะยืนอยู่อย่างไร และสบายใจได้ โดยไม่ต้องมาเกรงในเรื่องนี้ ซึ่งพูดกับนายกรัฐมนตรีไปหมดแล้ว

พล.อ.ไพบูลย์ ยังกล่าวว่า ถ้าพูดถึงจุดยืนของตัวเอง สิ่งที่ตนทำงานอยู่ตลอดเวลาปีเศษ คิดว่าภาคประชาชนสังคม พี่น้องประชาชนเขามองอยู่ ถ้าเราไม่มีขีดความสามารถแล้ว ตนว่าประชาชนรู้ดีและเข้าใจดีว่าใครมีจุดยืนที่เหมาะสมอย่างไร แต่ในสิทธิตามกฎหมายไปทำไรก็ว่ากันไป เพราะท่านมีสิทธิ

“ผมว่าสังคมเข้าใจดีและแยกแยะได้ ผมไม่ได้พูดว่าตัวเองมีจุดยืนที่มองเห็นตัวเองดีกว่าหรือผลประโยชน์ตัวเองดีกว่ามันไม่ใช่ แต่ผมพูดถึงภาพรวม ซึ่งสังคมเขาจะรู้ว่าคนนี้ทำเพื่อส่วนรวม ทำเพื่อกลุ่มก้อน ทำเพื่อผลประโยชน์ แอบอิงผลประโยชน์มา ใครทำตามกฎหมายหรือไม่ หรือเป็นกฎหมู่หรือไม่ ผมว่าสังคมมองรู้ทั้งนั้น แม้แต่การที่ผมพูดแบบนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าสังคมจะพึงพอใจในคำพูดผม แต่ผมก็พูดแบบนี้” พล.อ.ไพบูลย์​กล่าว

Advertisement

ผู้สื่อข่าวถามว่า กังวลหรือไม่ถ้าออกหมายเรียกสมเด็จช่วงเข้าให้ปากคำ ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ไม่ทราบ และไม่ขอให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ ซึ่งต้องไปถามพ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ เพราะตนบอกแล้วว่าการดูแลคดีนี้ของตนจบแล้วที่จะเข้าไปดูรายละเอียด เพราะเป็นเรื่องขั้นตอนของอธิบดีดีเอสไอ ก็พูดเหมือนเดิมว่าต้องไปถามอธิบดีดีเอสไอ เพราะตนจะไม่เข้าไปเชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ

ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ทำใจไว้หรือไม่กับการเข้าไปทำคดีใหญ่แล้วจะโดนวิพากษ์วิจารณ์หนักแบบนี้ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า “ผมทำใจหรือไม่ ผมยืนหยัดเสมอว่า ถ้าผมทำชั่ว ผมใช้อำนาจหน้าที่ในการประพฤติชั่ว นั่นคือสิ่งที่สังคมต้องวิพากษ์วิจารณ์และผมคิดว่าสมควรถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่ถ้าผมทำถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ไม่ว่าใครทั้งนั้น ผมยืนหยัดบนความถูกต้องเสมอมา” พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวและว่า ดังนั้น คำถามนี้ตนจึงตอบว่า ไม่กลัว ถ้ากลัวก็อย่ามายืนอยู่จุดนี้ อย่ามาดูแลเรื่องกฎหมาย ทำเรื่องพวกนี้ เพราะสิ่งเหล่านี้มันได้เดินเข้ามาหาสู่กระทรวงยุติธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยดีเอสไอ

“ผมไม่ได้เรียกร้องให้คดีมันนี้วิ่งมาหากระทรวงยุติธรรม แต่กระทรวงยุติธรรมต้องจำเป็นเข้ามาข้องเกี่ยว ซึ่งผมเป็นผู้บังคับบัญชาอยู่ ก็ถ้าเข้ามาและเรามองเห็นจุดนี้และเราบอกว่าผมจะไม่ทำ กระทรวงยุติธรรมจะไม่ทำ ดีเอสไอจะไม่ทำ ผมขอถามกลับสื่อว่าอันนี้เหมาะสมถูกหรือไม่ กระทรวงยุติธรรมปฏิเสธการทำคดีนี้ มันทำได้หรือไม่ แต่ถ้าเราทำมันก็ต้องยืนหยัดบนความถูกต้อง กฎหมายก็คือกฎหมาย รัฐบาลเข้ามาเมื่อวันที่ 22 พ.ค.นั้น สิ่งที่สังคมเรียกร้องคือการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าใครก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนั้นๆ อะไรจะมีข้อยกเว้นมันก็ต้องยกเว้นตามกฎหมายนั้นๆ ให้เหมาะให้ควร ไม่ควรมีใครมีสิทธิเหนือคนอื่นบนพื้นฐานของสถานะสังคม เพราะฉะนั้น คนที่เข้ามาอยู่ตรงนี้ก็เป็นคนกล้ารับผิดชอบและกล้าที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้มันถูกต้อง” พล.อ.ไพบูลย์ กล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image